Lifestyle

ยกระดับเอสเอ็มอี ออนไลน์ เชื่อมนวัตกรรมด้วยปลายนิ้ว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย... ชุลีพร อร่ามเนตร [email protected] 




          5 สถาบันการศึกษาได้ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดโครงการเอสเอ็มอี ออนไลน์ ปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด ดิจิทัล ทู โกลบอล ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการไทยพร้อมแข่งขันในตลาดออนไลน์สากล ผ่านอี-มาร์เก็ตเพลส ชั้นนำระดับโลกและระดับภูมิภาค

 

 

 

          โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) รับผิดชอบพื้นที่ภาคกลาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) รับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) รับผิดชอบพื้นที่ภาคอีสานและตะวันออก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) รับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือตอนบน สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ โดยในปี 2562 จะเชื่อมโยง อี-คอมเมิร์ซ เพื่อชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายส่งเสริมผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 50,000 ราย เตรียมพร้อมสินค้าและบริการเข้าสู่ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ไม่น้อยกว่า 100,000 ผลิตภัณฑ์ และสร้างยอดขายให้ผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 640 ล้านบาท 
  

 

ยกระดับเอสเอ็มอี ออนไลน์ เชื่อมนวัตกรรมด้วยปลายนิ้ว

 

          รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวว่า ขณะนี้ได้จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและความรู้ RMUTT Innovation & Knowledge Center ที่จตุจักรศูนย์กลางเชื่อมโยงนวัตกรรม องค์ความรู้และงานวิจัยพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ออนไลน์ เรียนรู้การทำธุรกิจออนไลน์ เป็นเรื่องการค้าของประเทศ ขายของได้สร้างพลังและแนวทางยกระดับเอสเอ็มอีของไทย
  

          โดยปีนี้ได้ส่งเสริมผู้ประกอบการ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มที่ยังไม่ได้ใช้ออนไลน์ในการทำธุรกิจ ยังไม่รู้จักการทำธุรกิจออนไลน์ มหาวิทยาลัยเข้าไปให้ความรู้นำนวัตกรรม งานวิจัยเข้าไปช่วยเหลือนำไปสู่การขายสินค้าบนโลกออนไลน์ 2.กลุ่มที่มีสินค้า มีความรู้แต่ยังไม่ได้มีตลาดออนไลน์ กระตุ้นให้พวกเขาเกิดการเรียนรู้การทำตลาดออนไลน์อย่างมีระบบ และ 3.กลุ่มที่มีสินค้ามีตลาดออนไลน์แต่ไม่สามารถขายสินค้าได้ ส่งเสริมการขายออนไลน์ให้มีคุณภาพ มีตลาดมากขึ้น

 

 

 

ยกระดับเอสเอ็มอี ออนไลน์ เชื่อมนวัตกรรมด้วยปลายนิ้ว

 

 

          ดันเอสเอ็มอีสู่ออนไลน์ 15,080 ราย     

          2 ที่ผ่านมามีเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำตลาดออนไลน์กว่า 37,000 ราย เตรียมความพร้อมในการถ่ายภาพสินค้าและจัดทำรายละเอียดสินค้ากว่า 67,000 ผลิตภัณฑ์ และสามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ได้กว่า 5,000 ร้านค้า และสร้างยอดขายให้ผู้ประกอบการกว่า 240 ล้านบาท ปีนี้คาดว่าจะต่อยอดผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการก่อนหน้านี้ และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ไม่น้อยกว่า 15,080 ราย ไม่น้อยกว่า 30,000 ผลิตภัณฑ์ สร้างยอดขายให้ผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท โดยมุ่งพัฒนาสินค้าให้เป็นสินค้าพรีเมียมและมุ่งพัฒนาตลาดที่ใหญ่ขึ้นไม่ได้ขายเฉพาะในประเทศ
เตรียมเอสเอ็มอีแบบก้าวกระโดด
   

 

ยกระดับเอสเอ็มอี ออนไลน์ เชื่อมนวัตกรรมด้วยปลายนิ้ว

 

          รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มธ. กล่าวว่า มธ.จะนำองค์ความรู้ที่มีในรั้วมหาวิทยาลัย ทั้งนวัตกรรม งานวิจัยมาให้คำแนะนำผู้ประกอบการ โดยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด จะทำให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอี หรือวิสาหกิจชุมชนสามารถจัดสินค้าสู่ในโลกออนไลน์ที่สามารถค้าขายได้และก้าวสู่ระดับประเทศ สากล ผ่านการเข้าไปช่วยเหลือพัฒนาสินค้า วิเคราะห์ความเสี่ยง ต้นทุน ช่วยหาตลาด ปูพื้นฐานที่สำคัญก็จะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ได้อย่างก้าวกระโดดได้” อธิการบดี มธ.กล่าว

 


          ต่อยอดสู่ตลาดออนไลน์สากล
          สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวว่า เป้าหมายหลักของโครงการปีนี้ คือการต่อยอด ส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการภายใต้แนวคิด ดิจิทัล ทู โกลบอล  โดยมุ่งยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการพร้อมแข่งขันในตลาดออนไลน์ระดับสากล ผ่าน e-Marketplace เช่น Amazon และ Alibaba ขายสินค้าไปทั่วโลก Far-e ขายตลาดจีน Kha-leang.com ขายตลาดเวียดนาม กัมพูชา และพม่า เป็นต้น ดังนั้นความร่วมมือกับ 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำในการเปิดอบรมให้ผู้ประกอบการทั่วประเทศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความพร้อมในการแข่งขันโลกดิจิทัลทั้งระบบ
  

 

 

ยกระดับเอสเอ็มอี ออนไลน์ เชื่อมนวัตกรรมด้วยปลายนิ้ว

 

          นอกจากนั้นยังได้บูรณาการความร่วมมือกับ 14 แห่ง เพื่อสนับสนุนและมอบสิทธิพิเศษให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ Lazada Shopee Thailandmall Inwmall Tarad.com Priceza และ Wongnai เป็นต้น


          ติดตามและสมัครเข้าร่วมโครงการกับหน่วยงานร่วมในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ www.smeonline.info Facebook: SMEONLINE BY OSMEP และแอพพลิเคชั่น SME CONNEXT

 


          ขายออนไลน์รายได้เพิ่ม3เท่า 
          สมบัติ พรเจริญ หรืออ้วน อายุ 52 ปี จากกลุ่มแปรรูปปลาตราชู อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ที่เข้ารับการอบรมการทำตลาดออนไลน์กับมทร.ธัญบุรี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม เล่าว่า ปกติขายหน้าร้านและขายตามงานโอท็อปต่างๆ หลังจากได้รับคำแนะนำให้ลองเปิดขายทางไลน์กลุ่ม และในเพจเอสเอ็มอี ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจากปกติที่ขายได้หลักหมื่น เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะชาวบ้านสามารถค้าขายได้ผ่าน อี-มาร์เก็ตเพลส  ได้อย่างสะดวกสบาย ผู้ซื้อโอนเงิน และจากนั้นรอบรับสินค้า ทำให้เพิ่มช่องทางการจำหน่ายและมีรายได้เพิ่มขึ้นถือเป็นเรื่องที่ดีต่อกลุ่ม เอสเอ็มอี เป็นอย่างมากก็ว่าได้
  

          อ้วนเติบโตมาในครอบครัวที่รุ่นเตี่ย ทำปลาตอนแรกรับซื้อปลาสดไปขาย ต่อมาก็แปรรูปปลาขาย อ้วนเริ่มมาทำเป็นธุรกิจของตัวเองเมื่อปี 2546 มีกลุ่มที่รวมตัวกันประมาณ 15 คน ช่วยกันทำปลาแปรรูปขาย มีหลากหลายชนิดทั้งปลาช่อน ที่ขึ้นชื่อก็ปลาช่อนแม่ลา ปลาดุก ปลารากกล้วย ปลาหลด ทุกชนิดนำมาแปรรูปและส่งขายตามลูกค้าสั่ง ถ้าในช่วงที่มียอดขายเพิ่มมากก็จ้างคนในพื้นที่มาช่วยทำปลาเพิ่มวันละ 200 บาท เพื่อให้ส่งลูกค้าทันตามเวลา 

 

ยกระดับเอสเอ็มอี ออนไลน์ เชื่อมนวัตกรรมด้วยปลายนิ้ว
   

          "จากเดิมที่ไม่รู้จักการขายออนไลน์ ไม่มีเพจ พอเข้ารับการอบรมก็มีความรู้เกี่ยวกับการค้าออนไลน์เบื้องต้นทำให้สามารถเพิ่มช่องทางการขายทาง อี-มาร์เก็ตเพลส เฟซบุ๊ก ไลน์  ความรู้เกี่ยวกับเทรนด์ต่างๆ อาทิ เทคโนโลยี รู้จักการทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย ความรู้เกี่ยวกับการโปรโมทสินค้า ในอนาคตก็สามารถต่อยอดสินค้าในตลาดสากล อาทิ Amazon Alibaba eBay เป็นต้น รวมทั้งส่งต่อตลาดต่างประเทศได้ ถือเป็นการยกระดับการค้าขายที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้าน" อ้วนกล่าว
  

          อย่างไรก็ตามหัวใจของการค้าขายออนไลน์ ผู้ขายจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ด้วยการบอกข้อมูลและส่งสินค้าให้ผู้ซื้อได้รับสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามที่สั่งซื้อทุกประการ

 
 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ