Lifestyle

ปรับมายาคติ"แก้บทเรียนล้าหลัง"ลดความรุนแรงในสังคม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ปรับมายาคติ"แก้บทเรียนล้าหลัง"ลดความรุนแรงในสังคม : รายงาน  โดย...  ปาริชาติ บุญเอก [email protected]


 


          ผลสำรวจของพม.โพลล์ ซึ่งดำเนินการสำรวจระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2561 กลุ่มตัวอย่างอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 4,800 คน พบว่า ความรุนแรงในสังคมที่นึกถึงมากที่สุด 55.04% คือการทำร้ายร่างกาย 23.85% การล่วงละเมิดทางเพศ 15.38% การทำร้ายจิตใจ และ 4.81% การทำร้ายทางเพศ โดย 5 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความรุนแรง ได้แก่ 29.55% สุราและยาเสพติด, 17.88% การอบรมเลี้ยงดู, 11.25% การคบเพื่อน, 8.40% ความเครียด และ 6.84% นิสัยส่วนตัว ตามลำดับ
   

 

 

          เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พม.โพลล์ โดยศูนย์สำรวจความคิดเห็นทางสังคม สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ (สสว.) 1-12 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับนิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจความรุนแรงในสังคมไทย สร้างความตระหนักปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ภาครัฐและภาคสังคมแนะควรปรับทัศนคติตั้งแต่เด็ก ปลูกฝังกฎหมาย และแก้ไขบทเรียนที่ล้าหลัง

 

 

ปรับมายาคติ"แก้บทเรียนล้าหลัง"ลดความรุนแรงในสังคม

 

 


          โดย ปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวในงานแถลงผล “พม.โพลล์” จัดโดยศูนย์สำรวจความคิดเห็นทางสังคม สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ (สสว.) 1-12 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับนิด้าโพล เนื่องในเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีถึงปัญหาความรุนแรงทางสังคมในปัจจุบันที่นับวันจะมากขึ้น
 

          โดยจากสถิติการให้บริการศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 พบสถิติความรุนแรงปี 2561 จำนวน 2,710 ราย เฉลี่ย 6-7 รายต่อวัน แบ่งเป็นความรุนแรงนอกครอบครัว 936 ราย และความรุนแรงในครอบครัว 1,774 ราย ผู้ถูกกระทำเป็นผู้หญิง 2,043 ราย ผู้ชาย 667 ราย โดยกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเด็กกว่า 1,222 ราย และเยาวชน 1,046 ราย พื้นที่แจ้งเบาะแสสูงสุดคือกรุงเทพฯ 665 ราย

 

 

ปรับมายาคติ"แก้บทเรียนล้าหลัง"ลดความรุนแรงในสังคม

 


          ทั้งนี้จากผลสำรวจของพม.โพลล์  ซึ่งดำเนินการสำรวจระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2561 กลุ่มตัวอย่างอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 4,800 คน พบว่าความรุนแรงในสังคมที่นึกถึงมากที่สุด 55.04% คือ การทำร้ายร่างกาย 23.85% การล่วงละเมิดทางเพศ 15.38% การทำร้ายจิตใจ และ 4.81% การทำร้ายทางเพศ โดย 5 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความรุนแรง ได้แก่ 29.55% สุราและยาเสพติด, 17.88% การอบรมเลี้ยงดู, 11.25% การคบเพื่อน, 8.40% ความเครียด และ 6.84% นิสัยส่วนตัว ตามลำดับ

 


          มายาคติผิดๆ จากสื่อละคร
          จเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ตัวแทนภาคประชาสังคม กล่าวในช่วงเสวนาประเด็น “ความรุนแรงในสังคมไทย ลดลงได้ด้วย (ใคร) คุณ” ว่าจากที่ได้ลงไปเก็บข้อมูลของทางมูลนิธิเองและเคสที่ติดต่อเข้ามาค่อนข้างชัดว่าปัญหาหลักๆ มาจากวิธีคิดโดยเฉพาะเรื่องความรุนแรงทางเพศและการเลี้ยงดู เช่น ความคิดชายเป็นใหญ่ นี่คือสาเหตุหลัก ผลโพลล์ก็ตอบโจทย์ แต่จุดหนึ่งคือ เหล้ายา 
ต้นเหตุที่แท้จริงมาจาก “ความคิด”

 

 

ปรับมายาคติ"แก้บทเรียนล้าหลัง"ลดความรุนแรงในสังคม

 


          นอกจากนี้ 5 อันดับ สื่อที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่านำเสนอความรุนแรงทางสังคม มีผลต่อพฤติกรรมเลียนแบบในการกระทำความรุนแรงในสังคมมากที่สุด ได้แก่ สื่ออินเทอร์เน็ต/เว็บไซต์/ยูทูบ, สื่อสังคมออนไลน์/คลิปวิดีโอ/ไลฟ์สด, ละคร, เกมที่ใช้ความรุนแรง และข่าว 


          จเด็จ กล่าวเพิ่มเติมว่า สื่อมวลชนทำให้ผู้ชายไม่รู้สึกว่าเรื่องการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องผิด เพราะฉากข่มขืนในละครไปสร้างความชอบธรรมให้ผู้ชาย นี่คือมายาคติที่ละครสร้างแบบผิดๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องอันตรายมาก พยายามเรียกร้องต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าไม่ควรมีฉากแบบนี้ เพราะเขาโดนสอนมาจากครอบครัวอยู่แล้วยังมีการตอกย้ำจากละครอีก 


          นอกจากนี้หลักสูตรการศึกษาซึ่งล้าหลังมาก มีหลักสูตรหนึ่งที่ออกมาพูดชัดเจนว่าถ้าผู้หญิงแต่งงานแล้วห้ามพูดเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศและเป็นได้แค่แม่บ้าน เพศทางเลือกก็ถูกกดลงไปอีกในหลักสูตรจึงควรปรับทัศนคติของเด็กในเรื่องนี้และให้ความรู้ด้านความรุนแรงตั้งแต่เด็ก แต่ในหลักสูตรไม่ตอบโจทย์ตรงนี้ เราไม่ได้วิจารณ์การศึกษา แต่อยากจะแนะนำว่าอันไหนที่ล้าหลังก็ควรจะเปลี่ยน และถ้าอยากจะเปลี่ยนความคิดคนก็ต้องเปลี่ยนการเลี้ยงดูด้วย ต้องแก้ปัญหาเชิงป้องกันให้ได้"


          ปลูกฝัง “กฎหมาย วินัย” ตั้งแต่เด็ก
          เลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ให้ความเห็นในฐานะภาครัฐว่า ทุกๆ ปี จะเห็นว่ามีความรุนแรงเกิดขึ้นมากมาย ทุกๆ คนพยายามแก้ปัญหาเหล่านี้แต่มันคือปลายเหตุ ที่ผ่านมาภาครัฐเองเรามองในหลายมิติ ในเชิงนโยบาย มีคณะกรรมการระดับชาติถึง 3 คณะ ทั้งด้านสตรี ครอบครัว และระหว่างเพศ ทุกคณะเชื่อมโยงกันหมด ในการประชุมเห็นด้วยว่าควรจะมีการปรับในเรื่องของการศึกษา เคยมีผู้พิพากษาแนะนำว่าต้องปลูกฝังกฎหมายตั้งแต่เด็กจะได้รู้ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร สิ่งไหนถูกผิด รู้ในความเท่าเทียมระหว่างเพศ การสร้างครอบครัว อารมณ์ จิตใจ เพศสภาพ ถ้าอบรมตั้งแต่เด็ก เคารพกัน ปัญหาจะไม่เกิด ถ้าไม่เริ่มทำวันนี้อีกสิบปีก็ไม่เกิด ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่ต้องอาศัยทุกภาคส่วน คุยกัน และวางระบบให้ดี ต้องเริ่มจากศูนย์ ถ้าอยากให้ความรุนแรงเป็น “ซีโร่” ต้องเริ่มจาก “ซีโร่” แต่จะมานั่งเปลี่ยนความคิดคนอื่นอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเปลี่ยนความคิคของคนทำงานและของประชาชนด้วย นี้คือสิ่งที่สำคัญ

 

 

ปรับมายาคติ"แก้บทเรียนล้าหลัง"ลดความรุนแรงในสังคม

 


          คนไทยตระหนักการมีส่วนร่วม
          ทั้งนี้จากการสำรวจความคิดเห็นที่ว่า “การลดปัญหาความรุนแรงในสังคมควรเป็นหน้าที่ของใครมากที่สุด” โดยกว่า 42.79% ตอบว่าเป็นหน้าที่ของ “ตนเอง” ถัดมาคือครอบครัว 34.06% ตำรวจและพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ 10.15% ชุมชน 6.46% คนไทยทุกคนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 3.85% โรงเรียน 1.40% ภาคเอกชน 0.73% องค์กรไม่แสวงหากำไร 0.54% และสำนักพระพุทธศาสนา 0.02% ตามลำดับ
จากทัศนคตินำไปสู่ในส่วนของพฤติกรรมในด้านการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคม โดยกว่า 26.27% คิดว่าจะไม่เป็นผู้กระทำความรุนแรง 25.29% ไม่ใช้อารมณ์ กำลัง ในการตัดสินปัญหา 22.23% เคารพสิทธิ์และให้เกียรติผู้อื่น 20.27% แจ้งเหตุเมื่อพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรง 5.33% เข้าช่วยเหลือ และ 0.60% อื่นๆ เช่น ให้ความร่วมมือทุกภาคส่วนในการรณรงค์ ตามลำดับ

 

 

ปรับมายาคติ"แก้บทเรียนล้าหลัง"ลดความรุนแรงในสังคม

 

 


          ศรัญญา จิตต์ต่างวงศ์ ที่ปรึกษาโครงการ UN Women ในฐานะตัวแทนทำงานภาคสังคมทั้งในและต่างประเทศ ให้ความเห็นว่า มากกว่า 40% มองว่าเป็นปัญหาหนึ่งของสังคมที่ตนเองมีส่วนร่วม ไม่ได้โยนให้หน่วยงานต่างๆ แสดงว่าผลงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องสร้างความตระหนักเริ่มเห็นผล สิ่งที่อยากให้ผลสำรวจเพิ่มเติม คือ ช่องทางข้อมูลเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น เพราะบางทีเห็นเหตุการณ์อยากช่วยเหลือแต่ไม่รู้ว่าจะไปหาข้อมูลที่ไหน การช่วยในแบบผิดๆ อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่ดีได้เนื่องจากประเภทของความรุนแรงมีหลายรูปแบบ ประชาชนจะได้รู้ว่าบทบาทของเขาในตอนนี้สามารถช่วยอะไรได้บ้าง และในเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ทาง UN Women จะเปิดเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนคนทำงานเข้าไปหาข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
 

 

 

ปรับมายาคติ"แก้บทเรียนล้าหลัง"ลดความรุนแรงในสังคม

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ