Lifestyle

หนุนเด็กไทย"รักการอ่านผ่านวรรณกรรมและศิลปะ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศิลปะอยู่ที่ความคิด ไม่ได้อยู่ที่ฝีมือ บางทีเราลอกงานเขา แต่มีฝีมือมากกว่าเจ้าของสไตล์ แม้งานจะมีคุณภาพดี แต่กรรมการรู้ว่างานนี้ไม่ใช่สไตล์ของคุณ

 


หนุนเด็กไทย"รักการอ่านผ่านวรรณกรรมและศิลปะ

(เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์)


 

        กิจกรรมการจัดงาน “อ่านสร้างสรรค์ สู่จินตนาการสร้างศิลป์” ในโครงการจินตนาการสืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช สู่ปีที่ 12 ในปี 2561 นี้ ภายใต้หัวข้อ “ความสุข ความงดงามในความเป็นไทย” ซึ่งในปีนี้มีเด็กนักเรียนและนักศึกษา ได้เข้าร่วมส่งผลงานภาพเขียนเข้าประกวดมากกว่า 1,000 ชิ้น และมีการพิจารณาคัดเลือกผลงานภาพเขียนที่ผ่านกรคัดเลือกรอบแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2561

          อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ในฐานะจิตรกรของไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ในฐานะคณะกรรมการตัดสินผลงานภาพเขียน กล่าวว่า 

          การอ่านวรรณกรรม เพื่อเล่าเรื่องออกมาเป็นภาพเขียนนั้น จะเป็นเรื่องของความคิดที่มีอิสรภาพ สำหรับเด็กในการอ่านวรรณกรรมแล้วมีจิตนาการของตัวเองออกมา แล้วใช้เทคนิคอะไรที่แปลกๆ ออกมาบ้าง แต่เราก็จะแยกแยะรูปเขียนบางทีต้องเลือกสไตล์แบบนี้เพียงชิ้นงานเดียว แม้จะดูไม่ดีเท่าคนนั้น แต่เขามีสไตล์ใหม่ มีความคิดใหม่ มีตัวตน หรือและมีอัตลักษณ์ของตนเองชัดเจน

 

หนุนเด็กไทย"รักการอ่านผ่านวรรณกรรมและศิลปะ

 

          “ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นวิธีการประกวดของเราที่มีความแตกต่างกับเวทีประกวดทั่วๆ ไป นี่คือการประกวดภาพเขียนที่แตกต่าง ทำให้เด็กใช้สมองมากขึ้น ใช้ความคิดมากขึ้น งานศิลปะเป็นสิ่งที่ต้องการความคิด เรื่องฝีมือเราไม่ห่วง เด็กไทยเราเก่งมาก แต่ในความคิดยังไม่ดี ดังนั้นเด็กไทยควรจงต้องอ่านแล้วฝึกจินตนาการและสะท้อนให้ออกมาเป็นความคิดของตัวเอง"

           โดยคณะกรรมการทุกท่านจะพิจารณาชิ้นงานสิ่งใดซ้ำซากต่อให้ผลงานภาพเขียนดีอย่างไร สวยอย่างไร มีค่าอย่างไร คณะกรรมการก็จะไม่ให้รางวัลระดับสูง ดังนั้นขอให้จำไว้ว่ารูปเขียนซ้ำซากเหมือนๆ กัน แม้ผลงานดีมาก แต่ความคิดลอกเลียนแบบกัน ลอกเทคนิคกัน

          ศิลปะอยู่ที่ความคิด ไม่ได้อยู่ที่ฝีมือ บางทีเราลอกงานเขา แต่มีฝีมือมากกว่าเจ้าของสไตล์ แม้งานจะมีคุณภาพดี แต่กรรมการรู้ว่างานนี้ไม่ใช่สไตล์ของคุณ คุณไปลอกเขามา ดังนั้นศิลปะจึงต้องใช้ความคิด และมีสไตล์เป็นของตัวเอง มีเทคนิค วิธีการ องค์ประกอบ และสีเป็นของตัวเอง      

 

 

หนุนเด็กไทย"รักการอ่านผ่านวรรณกรรมและศิลปะ

 

          ดังนั้นชิ้นงานที่ได้รับรางวัลที่ 1 ในแต่ละปี จะเห็นว่าภาพเขียนของเขาจะเอกลักษณ์โดดเด่นชัดเจนมาก เราจึงต้องการดาวเด่นที่มีฝีมือสุดยอดจริงๆ ของในแต่ละรุ่น “อย่างในระดับประถม จะเห็นความแปลกของงานภาพเขียน ส่วนระดับมัธยมต้น หรือมัธยมปลาย ผลงานฝีมือมีระดับเหมือนผู้ใหญ่ ส่วนระดับอุดมศึกษาสุดยอดมีมาตรฐานและระดับประชาชน ไม่ต้องพูดถึงดีมาก ผลงานระดับสูงแม้มีจำนวนน้อยจริง แต่ผลงานเขาดี โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่มากๆ จะส่งมากน้อย โดยจะเห็นความแตกต่างในความพิเศษของผลงานเขา
     
          “บางคนที่เคยได้รับรางวัลที่ 1 มาแล้วแต่ตอนนี้โตไปแล้ว แต่มีเด็กรุ่นน้องมาลอกเลียนแบบ แม้วาดออกมาสไตล์ดีกว่าของรุ่นพี่ แต่ก็จะไม่ได้รับรางวัล  เพราะผลงานภาพเขียนไม่ใช่เกิดจากความคิดของเขา ดังนั้นควรมีความคิดสร้างสรรค์ เทคนิคต้องหาความคิดแตกต่าง และสร้างจุดแตกต่าง เราได้เด็กแบบนี้ทุกปีถือว่าสุดยอดแล้ว” 

 

หนุนเด็กไทย"รักการอ่านผ่านวรรณกรรมและศิลปะ

 

          อาจารย์เฉลิมชัย ยังย้ำด้วยว่า การอ่านวรรณกรรมเพื่อเล่าเรื่องออกมาเป็นภาพเขียนนั้น จะเป็นเรื่องของความคิดที่มีอิสรภาพ สำหรับเด็กในการอ่านวรรณกรรมแล้ว มีจิตนาการของตัวเองออกมา แล้วใช้เทคนิคอะไรที่แปลกๆ ออกมาบ้าง แต่เราก็จะแยกแยะรูปเขียนบางทีต้องเลือกสไตล์แบบนี้เพียงชิ้นงานเดียว แม้จะดูไม่ดีเท่าคนนั้น แต่เขามีสไตล์ใหม่ มีความคิดใหม่ มีตัวตน หรือและมีอัตลักษณ์ของตนเองชัดเจน
“ศิลปะอยู่ที่ความคิดและมีสไตล์เป็นของตัวเอง มีเทคนิค วิธีการ องค์ประกอบ และสีเป็นของตัวเอง ดังนั้นเท่ากับงานของรูปที่ได้รับรางวัลที่ 1 อาจจะเป็นรูปที่ไม่ใช่มีฝีมือสูง แต่เราดูที่ความคิดมากกว่า ฝีมือเป็นเพียงอค์ประกอบส่วนหนึ่ง แต่ถ้าฝีมือดี ความคิดดี ได้รางวัลที่ 1 แน่นอน”

          อาจารย์เฉลิมชัย บอกอีกว่า เด็กไทยเป็นนักลอกที่ดีที่สุด และมีฝีมือที่ดีที่สุด แต่เด็กไทยเป็นนักคิดน้อยมาก ดังนั้นการอ่านวรรณกรรมจะทำให้เขาเป็นนักคิด ถ้าการเขียนรูปด้วยความรู้สึกของเขา หากเขาไม่ได้อ่าน เขาก็จะไม่คิด เมื่อเขาเขียนรูปขึ้นมา ก็มักจะเขียนเหมือนเดิม เขาชอบอะไรก็จะเขียนอย่างนั้น แต่หากเขาถูกบังคับให้อ่านวรรณกรรม ก็จะทำให้เขาเกิดความคิด เพราะการอ่านทำให้เกิดความคิด    

 

หนุนเด็กไทย"รักการอ่านผ่านวรรณกรรมและศิลปะ

 

          อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์” บอกว่า ถือเป็นปีที่พิเศษเปิดโอกาสให้เด็กพิเศษทางการได้ยิน เข้าร่วมประกวดการเขียนภาพด้วย เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะปกติเด็กมีจินตนาการของตัวเองอยู่แล้ว แต่คนที่มีคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้เขาจะยิ่งมีจินตนาการสูง โครงการนี้มาถูกที่ถูกทาง ซึ่งเป็นการครบวงจรของขบวนการทางจิตใจ เพราะคนได้สมดุลกันระหว่างความรู้สึก ความนึก ความคิด ซึ่งจะเป็นองค์รวมของปัญญา และพัฒนาคนให้ขึ้นไปสู่ความเป็นมนุษย์

          จากการดูผลงานของเด็กๆ ในปีนี้ พบว่าเด็กพยายามหารูปแบบใหม่มานำเสนอ ออกมาเป็นผลงาน เช่นม้าก้านกล้วยเพื่อไปนำเด็กออกมาจากถ้ำ เป็นความคิดใหม่ ถือว่ามีก้าวหน้าของพัฒนาการ หรือบางเรื่อง เช่นเรื่องสี่แผ่นดิน เด็กๆ เขามีความคิดจินตนาการแปลเรื่องราวออกมาเป็นอย่างไร เพราะมีความซับซ้อน และเป็นเรื่องสำคัญอย่างนี้ออกมาได้อย่างไร แล้วเขาก็ตีโจทย์ออกมาได้ ทำให้ท้าทายความสามารถ เป็นเรื่องที่เด็กมีความกล้ามากขึ้น

          เอนก พนาอภิชน รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บอกว่าสิ่งที่สังเกตเห็นได้คือ มีนักเรียนท่านหนึ่งที่เคยเข้ามาร่วมส่งภาพประกวด ในสมัยเรียนอยู่ระดับมัธยมต้น ระดับมัธยมปลายและจนถึงระดับอุดมศึกษาเห็นพัฒนาการชัดเจน เพราะที่ผ่านมานักเรียนรายนี้ จะได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศ แต่พอกลับมาในปีนี้ ผลงานของเขาก็ติดระดับ Top Three ของระดับอุดมศึกษา จึงทำให้เห็นชัดเจนในแง่ของผลงานของน้องเขา เพราะเป็นงานที่สร้างสรรค์ และวิธีการในการเลือกวรรณกรรม ซึ่งเติบโตตามวัยของเขาเริ่มเห็นกรอบที่คิดต่างออกไป และเติบโตไปในทิศทางของเขา
     
          หลังประกวดภาพเสร็จ จะนำภาพที่ชนะการประกวด ออกมาประมูลจำหน่าย เพื่อนำรายได้ทั้งหมดส่งเข้าสมทบกับมูลนิธิของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เพื่อนำไปสนับสนุนเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนทุนการศึกษา ซึ่งเราทำมาอย่างต่อเนื่อง และภาพวาดที่ชนะในการประกวดมันธยมปลายและระดับอุดมศึกษา ก็จะได้รับถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วย ดังนั้นผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลครั้งนี้ก็สามารถไปชมภาพได้ที่หอศิลป์กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 25-30 กันยายนนี้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ