Lifestyle

เภสัชกรภาคตะวันออกรวมตัวค้าน พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เภสัชกรภาคตะวันออกรวมตัวค้าน พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่

 

                   เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 2 กันยายน ที่ห้องประชุมคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา อ.เมือง จ.ชลบุรี ได้มีเภสัชกรในพื้นที่ จ.ชลบุรี และเภสัชกรในพื้นที่ภาคตะวันออกรวมตัวประมาณ 150 คน เพื่อแสดงพลังต่อต้านร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ได้เสนอพระราชบัญญัติยาฉบับใหม่ ซึ่งได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และกำลังจะเสนอต่อไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนั้น ปรากฏว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังเป็นที่คาใจของบรรดาผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกร พร้อมทั้งสรุปประเด็นที่น่าสนใจทั้งหมด 7 ประเด็น อาทิ การแบ่งประเภทยาไม่เป็นไปตามหลักสากล โดยเฉพาะนิยาม "ยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ" สร้างความสับสนให้กับประชาชน และเภสัชกร โดยเฉพาะนิยามของยาสามัญประจำบ้าน ที่ไม่ชัดเจน อาจทำให้มียาที่ไม่เหมาะสมสามารถนำมาขายโดยไม่ต้องขออนุญาต นอกจากนี้ประเด็นสำคัญที่ถกกันมากคือ การกำหนดให้บุคคลอื่นสามารถสั่งจ่ายยาแบบเภสัชกรได้ และหลายคนวิตกกังวลว่าอาจจะมีการเปิดร้านขายยาในร้านสะดวกซื้อโดยไม่มีเภสัชกร

ภ.ญ.ศุภมนันย์ กวินศิริคุณ ประธานชมรมเภสัชกรจังหวัดชลบุรีกล่าวว่า เครือข่ายเภสัชกรทุกภาคส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกได้มารวมตัวในครั้งนี้เนื่องจาก ร่างพระราชบัญญัติยาฉบับใหม่ที่ผ่านความคิดเห็นของประชาชนและเภสัชกรนั้น จะต้องดูแลผู้บริโภคและประชาชนในประเทศให้ปลอดภัยนั้น แต่ร่างพระราชบัญญัติยาที่ออกมาใหม่มีหลายมาตราแสดงให้เห็นว่าการคุ้มครองให้ความปลอดภัยของผู้บริโภคนั้นยังไม่สมบูรณ์ยังมีข้อบกพร่องจำนวนมาก หากออกมาบังคับใช้ซึ่งพวกเราไม่เห็นด้วย ซึ่งกฎหมายจะออกมาใช้ได้ควรปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะยาใช่ว่าจะมีประโยชน์อย่างเดียว มีโทษด้วยเป็นดาบสองคม จึงได้มารวมตัวเพื่อเรียกร้องให้ผู้ร่างกฎหมายได้เห็นความปลอดภัย และความจำเป็นของผู้บริโภคมากที่สุด และควรที่จะร่างให้ถูกต้องมากกว่านี้

หลายคนเกรงว่าหากร่างพระราชบัญญัติยาฉบับใหม่ผ่านอาจจะมีการขายยาในร้านสะดวกซื้อ ภ.ญ.ศุภมนันย์กล่าวว่า หากดูจากนิยามโดยเฉพาะในเรื่องของสากล จะมีผู้สั่งจ่ายยาโดยแพทย์ เภสัชกรจะเป็นผู้จ่ายยา แต่ประเทศไทยมีนิยามยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ไม่รู้ว่าจะระบุไว้ทำไม นอกจากนี้ยังมียาสามัญประจำบ้านอีก โดยไม่เข้าข่ายยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่ต้องประกาศ นอกจากนี้ยังเพิ่มผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่เภสัชกรสามารถจ่ายยาได้อีก ซึ่งเปิดกว้างมากโดยเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน หากมีการประกาศยาหลายชนิดเป็นยาสามัญประจำบ้านจำนวนมาก อนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะผู้ผลิตจะต้องเลี่ยงไปใช้ชื่อยาสามัญประจำบ้าน ก็จะเกิดสูตรยาแปลกๆ ไปอยู่ยาสามัญประจำบ้าน หากไม่ควบคุมให้ดีก็จะส่งผลกระทบกับผู้บริโภค โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติยาฉบับนี้ หากมีคนหัวหมอคิดสูตรแปลกๆ แล้วร่างพระราชบัญญัติยาควบคุมไม่ดี ประชาชนผู้บริโภคก็จะเป็นผู้รับกรรม

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ