Lifestyle

มบส. เดินหน้าอัพเกรดราชภัฎ 4.0

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มบส. เดินหน้าอัพเกรดราชภัฎ 4.0จัดทัพนักศึกษาและคณาจารย์กว่า 300 ชีวิตสู่ 11 มหาวิทยาลัยต่างแดนใน 9 ประเทศ

 
เป็นเวลากว่าทศวรรษแล้ว ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) บุกเบิกโครงการพัฒนานักศึกษาและบุคลากร ด้วยการจับมือกับมหาวิทยาลัยนานาชาติจัดโครงการเพิ่มประสบการณ์ชีวิตสร้างมิตรภาพ "เรียนร่วมภาษาและวัฒนธรรมในต่างประเทศ" ที่ เปิดโอกาสให้นักศึกษาเดินทางไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ เป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์ ปีนี้พร้อมส่งนักศึกษาและคณาจารย์กว่า 300 คนเดินทางแลกเปลี่ยนกับ 11 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ใน 9 ประเทศ ถือเป็นแรงผลักดันให้นักศึกษาเกิดความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพเท่าเทียมประเทศอื่น เน้นสะท้อน "มีจิตสาธารณะ ทักษะสื่อสารดี และมีความเป็นไทย"
 


นับเป็นหนึ่งโครงการสำคัญประจำปีที่บูรณาการทักษะด้านวิชาการ สังคม ภาษาและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน  ผศ.ดร. ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ที่เข้มข้นในปีนี้ว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต้องการเป็นต้นแบบในการพัฒนาสถาบันราชภัฎของไทยสู่มาตรฐานสากล หรือ ราชภัฎ 4.0 คือ เป็นที่ยอมรับในเวทีการศึกษานานาชาติในทุกมิติ เป็นเวลากว่าทศวรรษจนถึงปัจจุบัน ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก ทั้งจากความร่วมมือในเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศที่เพิ่มจำนวนทุกปี โดย มบส. จัดสรรงบประมาณ  คณาจารย์และพันธมิตรเครือข่ายสนับสนุนเต็มที่ตลอดโครงการ"
 
สำหรับในปีนี้ ผศ. ดร. ลินดา ได้แนะนำให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการระหว่างพิธีเปิดโครงการว่า "ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในโครงการนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของนักศึกษาอย่างเห็นได้ชัดในหลายๆ ด้าน เพราะเป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยตรงกับเจ้าของประเทศนั้นๆ และการเรียนรู้การทำงานเป็นทีมกับเพื่อนนักศึกษาที่เดินทางไปด้วยกัน ใช้โอกาสที่มีเรียนรู้ให้เต็มที่ สิ่งที่ย้ำกับนักศึกษาทุกคน คือ หน้าที่ถ่ายทอดความเป็นเยาวชนไทย โดยเฉพาะอัตลักษณ์ของนักศึกษา มบส. ที่ชัดเจน 3 ด้าน ได้แก่ "มีจิตสาธารณะ ทักษะสื่อสารดี และมีความเป็นไทย"
 
ทั้งนี้ ดร.สุทิพย์พร โชติรัตนศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักวิเทศสัมพันธ์และเครือข่ายอาเซียน ในฐานะผู้บริหารโครงการ เปิดเผยว่า "นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะเดินทางไปร่วมกิจกรรมในสถาบันอุดมศึกษา 11 แห่ง ใน 9 ประเทศ ได้แก่ จีน, สิงคโปร์, ออสเตรเลีย, เวียดนาม, พม่า, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และเกาหลี ซึ่งกิจกรรมในแต่ละประเทศได้มีความหลากหลายตามศาสตร์ของแต่ละประเทศที่เตรียมให้ทั้งด้านวิชาการและวัฒนธรรม เป็นหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งมีความร่วมมือต่อยอดโครงการหลังจบกิจกรรมเสมอ รวมถึงการที่เราได้รับความไว้วางใจจากเครือข่ายอาเซียนมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรม "โครงการค่ายเยาวชนอาเซียนผสานความร่วมมือด้านภาษาและวัฒนธรรมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ" ครั้งที่ผ่านมา โดยมีคณาจารย์และนิสิตจากประเทศในกลุ่มอาเซียน +1 รวม 8 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา, มาเลเซีย, ลาว, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และประเทศจีน เข้าร่วมกิจกรรมด้วย"
 
นอกจากผลลัพธ์ที่จะเกิดกับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โครงการ "เรียนร่วมภาษาและวัฒนธรรมในต่างประเทศ" นี้ ยังช่วยยืนยันถึงศักยภาพของสถาบันราชภัฏไทย สู่ยุค 4.0 พร้อมสร้างสรรค์บุคลากรสู่งสังคมคุณภาพครบทุกมิติ ให้มีมาตรฐานสากลเป็นทียอมรับทัดเทียมเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษานานาชาติ
 
รายชื่อสถาบันที่ร่วมโครงการ "เรียนร่วมภาษาและวัฒนธรรมในต่างประเทศ" ประจำปี 2561
จำนวน 11 สถาบัน ใน 9 ประเทศ ได้แก่
1. Lipa City College, ฟิลิปปินส์
2. Quangxi University of Foreign Languages, สาธารณรัฐประชาชนจีน
3. Tianjin Normal University, สาธารณรัฐประชาชนจีน
4. Hainan College of Foreign Studies, สาธารณรัฐประชาชนจีน
5. National University of Arts and Culture, สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
6. Nanyang Polytechnic, สาธารณรัฐสิงคโปร์
7. University of Social Sciences and Humanities-Hanoi, สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
8. Phoenix Academy Perth, เครือรัฐออสเตรเลีย
9. University Mahasaraswati Denpasar (UNMAS), สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
10. University Utara Malaysia (UUM), สหพันธรัฐมาเลเซีย
11. Dong-Ah Institute of Media and Arts (DIMA), สาธารณรัฐเกาหลี
 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ