Lifestyle

แฉ!เล่ห์ เปลี่ยน "แป๊ะเจี๊ยะ" เป็น"ค่าเช่าทะเบียนบ้าน"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แฉ!!เล่ห์เปลี่ยน"แป๊ะเจี๊ยะ"เป็น"ค่าเช่าทะเบียนบ้าน"หวังเข้าม.1ร.ร.ดัง ผู้ปกครองต้องเช่าทะเบียนบ้านล่วงหน้า 2 ปีตามเงื่อนไขเข้าม.1เผยเงินสะพัดกว่า3พันล้าน

 

      แม้โลกแห่งการเรียนรู้เปลี่ยนไปมาก แต่ค่านิยมส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนยอดนิยม ยังเป็นโรงเรียนในดวงใจพ่อเม่ผู้ปกครองอยู่เสมอ เพียงแต่รูปแบบของการครอบครองที่นั่งเรียนในโรงเรียนดี เด่น ดัง มีการปรับกลยุทธ์ไปตามกาลเวลา 

 

        เพื่อแลกกับ “เก้าอี้พิเศษ”่ ในห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1(ม.1)ในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง หรือ ร.ร.ดีเด่นดัง หัวอกคนเป็นพ่อเป็นยอมจ่ายค่าเช่าทะเบียนบ้านล่วงหน้า 2 ปี สูตรนี้มั่นใจลูกสอบติดร.ร.ดังแน่!! ติดตามเรื่องนี้กับ“คมชัดลึกออนไลน์”

 

       กลยุทธ์อันแยบยล เพื่อล้วงเงินในกระเป๋าพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่เชื่อว่านี่คือช่องทางลัดที่จะส่งลูก ที่เปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจให้ถึงฝั่งฝัน เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยจาก "นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์" เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ(ภตช.)และแกนนำพรรคไทยศรีวิไลย์ ว่า ตนเกาะติดการรับนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)มาทุกๆ ปี และในปีนี้เมื่อ 19 เมษายน 2561 ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการรับนักเรียนปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมุกดาหาร และ โรงเรียนอนุบาลมุกดาหาร ผลการตรวจสอบการรับนักเรียนเรียบร้อยดี

 

        เลขาธิการ ภตช. กล่าวว่า ทั้ง 2 โรงเรียน ไม่มีการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ โรงเรียนมุกดาหาร จำนวนนักเรียนผู้สมัครสอบเข้าแบบทั่วไปและพื้นที่บริการ จำนวนผู้สมัครสอบเข้าเกินกว่าจำนวนรับไม่มาก ประกาศคะแนนชัดเจน ส่วนโรงเรียนอนุบาลมุกดาหาร ไม่มีปัญหาเลยเพราะ จำนวนนักเรียนที่สมัครสอบเข้ามีจำนวนน้อยกว่าจำนวนที่รับ จึงไม่มีปัญหา 

       

       "แต่ผมตรวจสอบพบว่า โรงเรียนที่มีปัญหาที่ได้รับข้อมูลมาเชิงลึก เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีหลายโรงเรียน ที่น่าจะเข้าข่ายใช้เทคนิคการแทรกสิทธิ์เพื่อเรียก แป๊ะเจี๊ยะทั้งๆที่ ป.ป.ช. ก็ลงตรวจสอบแทบทุกโรงเรียน พออธิบายวิธีการทุจริต ได้ดังนี้" เลขาธิการ ภตช. ระบุ

 

        กลยุทธ์แรก ธุรกิจหรือทุจริตการ เปิดเช่าทะเบียนบ้าน ล่วงหน้า 2 ปี เพื่อให้เข้าเงื่อนไขพื้นที่บริการเพราะคู่แข่งจะน้อยลงมาก และแข่งกับคนไม่เก่งมาก ดีไม่ดีเข้าได้ทุกคน ไม่ต้องอ่านหนังสือก็เข้าได้ เพราะช่องนี้รับนักเรียนกว่า 40% ของยอดจำนวนรับ ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าครึ่งของราคาเต็ม เจ้าของบ้าน หรือ คอนโดรวย หรือ ผู้บริหาร/ครูเจ้าของเปิดเช่ารวย รายจ่าย 3 แสนบาท/คน ปีละ 30 ล้านบาท ถ้าได้นักเรียน 100 คน ถ้า 100 โรงเรียนทำ ก็จะมีรายได้หมุนเวียนกว่าปีละ 3 พันล้านบาท/ปี เฉพาะ ม.1

 

     กลยุทธ์ที่2 ถ้าพอเก่งกลางๆ เช่าทะเบียนบ้าน ล่วงหน้า 2 ปี ไม่ทัน แล้วมาเรียนกวดวิชาหน้าโรงเรียนแข่งขันสูง โดยมีครู/ติวเตอร์/ผอ.เป็นเจ้าของหรือหุ้นส่วน แนะนำ ชี้แนะ เช่าทะเบียนบ้าน ไม่ถึง 2 ปี อาจจะ 3 วัน 7 วัน 1 เดือน 3 เดือน หรือ 6 เดือน เพื่อให้เข้าเงื่อนไขพื้นที่บริการแบบคุณสมบัติไม่ครบ ก้ำกึ่ง คือ นักเรียนเข้าทะเบียนบ้านในพื้นที่บริการไม่ครบ 2 ปี อย่างเดียว 

 

       และ หรือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ไม่ได้ย้ายตามมา หรือ มี พ่อ แม่ ปุ่ ย่า ตา ยาย ญาติ เข้ามาในทะเบียนบ้านก่อนแต่ไม่ถึง 2 ปี หรือนักเรียนยังไม่ได้เข้ามา ให้คณะกรรมการรับนักเรียนใช้ดุลยพินิจรับ หรือ เจตนาพิเศษ หรือ ทุจริต เรียกรับเงิน”แป๊ะเจี๊ยะ” เข้าเงื่อนไขสอบเข้าพื้นที่บริการเลย ก็จะไปเบียด นักเรียนที่สอบเข้าเงื่อนไขพื้นที่บริการที่คุณสมบัติครบเลย เพราะนักเรียนกลุ่มนี้คะแนนจะสูงกว่า เพราะเรียนกวดวิชาหน้าโรงเรียนที่จะสอบเข้า แต่คะแนนสู้แบบสอบเข้าทั่วไปไม่ได้ เพราะคะแนนสูงมากกว่า 62.76875% ถึงจะสอบได้

 

   

     "ช่องนี้คู่แข่งจะไม่เก่งมากนัก และรับนักเรียนกว่า 40% ของยอดจำนวนรับ ค่าใช้จ่ายสูงหน่อยเพราะต้องวางแผนอย่างดี" เลขาธิการ ภตช.ระบุ

       

        อีกทั้งต้องใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการรับนักเรียนด้วย เพราะปี 61 นี้ดันประกาศคะแนน ลำดับ ป.ป.ช.ก็เข้าตรวจถี่ยิบ และ ปีก่อนๆโรงเรียนก็ไม่ประกาศ ทั้งคะแนนสอบเข้า ลำดับที่ได้ ทำให้ยอด”แป๊ะเจี๊ยะ” สูงมาก ราวๆ 6 แสน/ราย ถ้า 100 คน ก็ปาไป 60 ล้านบาท ถ้าทำแบบนี้ 100 โรงเรียนก็ปาไปกว่า 6 พันล้านบาท/ปี เฉพาะ ม.1 นะ

 

        กลยุทธ์ที่3 แบบจำลอง โรงเรียน BL ในกรุงเทพมหานคร  การรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 รับสอบเข้าแบบทั่วไป รับ 200 คน รับสอบเข้าแบบพื้นที่บริการ รับ 200 คน รับสอบเข้าแบบเงื่อนไขพิเศษ 7 ข้อ รับ 65 คน ยอดจำนวนผุ้สมัคร จำนวน 951 คน

 

         แยกเป็น 1.สอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติครบ จำนวน 224 คน 2.สอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติไม่ครบครบ จำนวน 295 คน 3.สอบเข้าแบบทั่วไป จำนวน 432 คน

 

        เมื่อประกาศผลสอบเข้าแบบทั่วไป รับ 200 คน  แยกเป็น 1.สอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติครบ จำนวน 36 คน 2.สอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติไม่ครบครบ จำนวน 54 คน 3.สอบเข้าแบบทั่วไป จำนวน 110 คน       

 

       ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อ ประกาศผลสอบเข้าแบบพื้นที่บริการ รับ 200 คน  แยกเป็น1.สอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติครบ จำนวน 78 คน 2.สอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติไม่ครบจำนวน 122 คน 

 

         เมื่อประกาศผลสอบเข้าแบบเงื่อนไขพิเศษ รับ 65 คน  แยกเป็น 1.สอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติครบ จำนวน 14 คน 2.สอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติไม่ครบครบ จำนวน 15 คน 3.สอบเข้าแบบทั่วไป จำนวน 36 คน

 

       "แต่การรับเด็กม.1ที่ถูกต้อง ควรประกาศผลสอบเข้าแบบพื้นที่บริการ รับ 200 คน    แยกเป็น1.สอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติครบ จำนวน 174 คน (จำนวนสอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติครบ จำนวน 224 คน–จำนวนสอบเข้าแบบทั่วไปในพื้นที่บริการคุณสมบัติครบ จำนวน 36 คน – จำนวนสอบเข้าแบบเงื่อนไขพิเศษพื้นที่บริการคุณสมบัติครบ จำนวน 14 คน) แบบเรียงลำดับคะแนน" เลขาธิการ ภตช. ระบุ

 

        เลขาธิการ ภตช. กล่าวอีกว่า สรุปต้องรับเด็กทั้งหมด จากนักเรียนสอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติครบที่เหลือ และยังเหลืออีก 26 คน จะต้องเรียกจากนักเรียนสอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติไม่ครบครบ จำนวน 26 คน เรียงลำดับคะแนน

       

       ขณะที่ 2.สอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติไม่ครบครบ จำนวน 26 คน เรียงลำดับคะแนน จาก 226 คนที่เหลือจากนักเรียนสอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติไม่ครบครบ (จำนวนสอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติไม่ครบ จำนวน 295 คน –จำนวนสอบเข้าแบบทั่วไปในพื้นที่บริการคุณสมบัติไม่ครบ จำนวน 54 คน – จำนวนสอบเข้าแบบเงื่อนไขพิเศษพื้นที่บริการคุณสมบัติไม่ครบ จำนวน 15 คน) จึงจะถูกต้อง

       จากการเบียดครั้งนี้ทำให้นักเรียนสอบเข้าแบบพื้นที่บริการคุณสมบัติครบ ถูกเบียดไปกว่า จำนวน 96 คน 

         ความผิดปกติของการรับนักเรียนเงื่อนไขพิเศษ จำนวน 65 คน  ดังนี้ ข้อที่ 2 นักเรียนที่อยู่ในความอนุเคราะห์ของผู้บริจาคที่ดินเพื่อจัดตั้งโรงเรียน จำนวน 6 คน กว่า 3 คน คะแนนต่ำมาก ข้อที่ 3 นักเรียนที่เป็นผู้ยากไร้ และ ด้อยโอกาส จำนวน 1 คน คะแนนต่ำแค่ 35.275% ไม่ระบุถึงความยากไร้

         ข้อที่ 4 นักเรียนที่เป็นบุตรผู้เสียสละเพื่อชาติหรือผู้ประสบภัยพิบัติที่ต้องได้รับการสงเคราะห์ดูแลเป็นพิเศษ จำนวน 5 คน คะแนนต่ำทั้ง 5 คน ไม่ระบุถึง บิดา มารดา ว่าเสียสละอย่างไร ประสบภัยพิบัติอย่างไร ข้อที่ 6 นักเรียนที่เป็นบุตรข้าราชการครูและบุคลากรของโรงเรียน จำนวน 1 คน คะแนนต่ำ และ ไม่ระบุว่าเป็นบุตรใคร

           ข้อที่ 7 นักเรียนที่อยู่ในอุปการะของผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง จำนวน 36 คน ส่วนใหญ่คะแนนต่ำจนแย่มากๆ มีฝาแฝดถึง 3 คู่ มีหลาน คนใหญ่โตก็ยังไม่ทราบว่าทำประโยชน์อย่างไรให้กับโรงเรียนบ้าง

        ทั้งนี้ ไม่รวม นักเรียนห้องเรียนพิเศษ 144 คน นักเรียนความสามารถพิเศษ 15 คน)  เพราะอย่าลืมว่า คำว่า นักเรียนในเขตพื้นที่บริการ คือ นักเรียนต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่อยู่เขตพื้นที่บริการของโรงเรียน

       "แต่จริงๆแล้ว เพื่อมิให้เปิดช่องว่างการทุจริต นักเรียนจะต้องอาศัยอยู่ในทะเบียนบ้านหลังนั้นจริงๆ ต้องนอน อยู่ ในทะเบียนบ้านหลังนี้ ก็แสดงว่า จะต้องเรียนในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา แถวเขตพื้นที่บริการด้วยไม่ห่างไกลนัก ไม่ใช่ อยู่ต่างจังหวัดแต่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตพื้นที่บริการที่เล็งไว้ ล่วงหน้า 2 ปี" เลขาธิการ ภตช.กล่าวในที่สุด 

      อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

     ท้าทายคสช.!! ร.ร.ดังฝืน ม.44รีดเงินเรียนฟรี15ปี!!   

    0 กมลทิพย์   ใบเงิน 0 รายงาน

 ---***----

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ