Lifestyle

"ไทย-ญี่ปุ่น"ร่วมพัฒนางานวิจัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วิทยาลัยนานาชาติมวล.ลงนามร่วมมือทางวิชาการกับสถาบัน IIAI ประเทศญี่ปุ่น เน้นดำเนินงานด้านวิจัย บริการวิชาการ และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม หวังพัฒนาทัดเทียมนานาชาติ

 

         เมื่อเร็วๆนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(มวล.) พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.จิตติมา ศังขมณี รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ และ Prof. Dr. Tokuro Matsuo, CEO of International Institute of Applied Informatics (IIAI) ประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วย Prof. Dr. Kiyota Hashimoto ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านวิชาการ ระหว่างวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสถาบัน IIAI ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวิทยาลัยนานาชาติจัดขึ้น โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้สนใจเข้าร่วม ณ ห้องระเบียงบรรณ 1 อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

 "ไทย-ญี่ปุ่น"ร่วมพัฒนางานวิจัย

 

          ดร.จิตติมา ศังขมณี กล่าวหลังจากการลงนามความร่วมมือว่า วิทยาลัยนานาชาติจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เพื่อจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ รวมทั้งดำเนินงานด้านวิจัย บริการวิชาการ และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเน้นการสร้างความร่วมมือกับนานาชาติ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทุกด้านให้มีความพร้อมทัดเทียมสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ

 

 

 "ไทย-ญี่ปุ่น"ร่วมพัฒนางานวิจัย

         โดยการลงนามกับสถาบัน IIAI ประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญในการร่วมกันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางด้าน ICT ในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ รวมถึงส่งเสริมและร่วมมือให้เกิดผลงานจากการวิจัย และความร่วมมือในรูปแบบอื่นที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต โดยข้อตกลงมีระยะเวลา 5 ปี

 

 

 "ไทย-ญี่ปุ่น"ร่วมพัฒนางานวิจัย

ดร.จิตติมา  ศังขมณ๊

         ดร.จิตติมา กล่าวต่อไปอีกว่า สถาบัน IIAI เป็นองค์กรสนับสนุนการศึกษาที่ไม่มุ่งหวังผลกำไรของประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นสากลในสาขา Applied Informatics มุ่งหวังให้คนมีชีวิตและสังคมที่ดีกว่า และเป็นสถาบันที่ส่งเสริมการจัดการศึกษา เน้นการทำวิจัย สนับสนุนให้นักศึกษามีความชำนาญทางด้าน Computer Science and Engineering ซึ่ง IIAI มีเครือข่ายนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นจำนวนมาก ในอนาคต วิทยาลัยนานาชาติ มวล.จะมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ และร่วมมือทางวิชาการในด้านอื่นๆ ต่อไปด้วย

 

 

 "ไทย-ญี่ปุ่น"ร่วมพัฒนางานวิจัย

 

 

 "ไทย-ญี่ปุ่น"ร่วมพัฒนางานวิจัย

          ทั้งนี้นอกจากการลงนามความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้แล้ว วิทยาลัยนานาชาติจะเพิ่มเครือข่ายความร่วมมือไปยังประเทศอื่นๆ อีกด้วย เช่น อยู่ระหว่างการเจรจาความร่วมมือกับ Coventry University London ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัย Hong Kong Polytechnic และมหาวิทยาลัย Indiana ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยสนับสนุนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในระดับอินเตอร์ ร่วมจัดทำหลักสูตร แลกเปลี่ยนนักศึกษา เชิญศาสตราจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงมาเป็น visiting professors สอนนักศึกษาของวิทยาลัย เป็นต้น

——//——-

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ