Lifestyle

ช่วยเด็กไทยรู้คิด-วางแผนอนาคต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การช่วยให้เยาวชนของชาติคิดและวางแผนให้ได้ตั้งแต่เรียนมัธยมศึกษาตอนต้นว่าอนาคตจะเดินไปทางไหนที่สอดคล้องกับศักยภาพของสมองฐานะครอบครัวและบริบทของสังคมที่เป็นอยู่

 

      เด็กชายดัสกร สิงห์ทอง  วัย 14 ปีนี้้เขาเรียนอยู่ชั้น ม.2 โรงเรียนบ้านแดงน้อย อ.เมือง จ.ขอนแก่น อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองแค่ 15 กิโลเมตร ให้สัมภาษณ์ว่า "เขาอยากจะเรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่ไม่รู้ว่าจะไปเรียนที่ไหน ที่อยากเรียนคอมพิวเตอร์เพราะว่าชอบเล่นเกมเล่นทุกครั้งที่มีเวลาว่างในแต่ละวัน เลิกโรงเรียนกลับถึงบ้าน กินข้าวเย็นทำการบ้าน และเล่นเกมก่อนนอนตั้งแต่ 18.00-21.00น.วันละ 3ชม. แบบนี้ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าติดเกมหรือเปล่า" เด็กชายบอก

ช่วยเด็กไทยรู้คิด-วางแผนอนาคต

      ช่วยเด็กไทยรู้คิด-วางแผนอนาคต

     คำถามคือว่าอีก 1  ปีการศึกษา เด็กหนุ่มคนนี้จะเปลี่ยนคำนำหน้าเป็นนายแล้ว อายุ 15 แต่เขายังไม่รู้ว่าจะเรียนต่อที่ไหนที่เปิดสอนเกี่ยวกับ “คอมพิวเตอร์” รู้แต่เพียงว่าอยากจะอยู่กับ “คอมพิวเตอร์”ให้ได้นานๆ เพราะชอบเล่นเกม แค่นั้น ปัจจุบันเขาเรียนได้เกรดเฉลี่ย 3 กว่า ในโรงเรียนขยายโอกาสที่เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นม. 3 

ช่วยเด็กไทยรู้คิด-วางแผนอนาคต

     ขณะที่ให้สัมภาษณ์ เด็กชาย นั่งหันข้างให้ ไม่สบตาขณะให้สัมภาษณ์  มือขยุกขยิก และนั่งโยกเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา ถามคำก็ตอบตามที่ถามแบบสั้นๆ และนัยน์ตาของเขาจ้องมองอยู่ที่หนังสือหลากหลายบนชั้นในห้องสมุดโรงเรียนอย่างไม่วางตา สักพักเขาก็ขอตัวไปดูหนังสือเหล่านั้น

       “กิตติศักดิ์ เสนามนตรี” ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแดงน้อย เล่าว่านักเรียนโรงเรียนมี 260 คน มีครู 17 คนเป็นโรงเรียนขยายโอกาส นักเรียนที่มาเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้อาศัยกับปู่ย่า ตายาย ครอบครั้งดั้งเดิมไปทำงานในเมือง หรือทำงานในกรุงเทพก็มี บางรายพ่อแม่ก็แยกทางกัน ส่วนใหญ่มีฐานะปานกลางไปถึงยากจน เรียนจบแล้วไปเรียนต่ออาชีพ เพราะอยู่ใกล้กับชุมชน 

ช่วยเด็กไทยรู้คิด-วางแผนอนาคต

    เด็กนักเรียนในชนบทส่วนใหญ่ต้องทำงานบ้านช่วยเหลือพ่อแม่ก่อนถึงจะมีเวลาไปอ่านหนังสือหรือทำการบ้าน อย่างเช่น “ด.ญ.ศศิกานต์ เรืองแหล่ และด.ญ.ยุพา เรืองชัย” นร.ชั้นม.2 โรงเรียนบ้านแดงน้อย ทั้งคู่่อาศัยกับญาติ เพราะพ่อแม่ไปทำงานในเมือง แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคการใช้ชีวิตและการเรียน เกรดเฉลี่ยที่ได้ 3  กว่า ทำให้สามารถเรียนต่อด้านวิชาชีพได้ไม่ลำบาก ทั้งสองเป็นเพื่อนกันและจะไปเรียน “บัญชี”ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นด้วยกันหลังเรียนจบชั้นม. 3

        “เหตุผลที่ไปเรียนสายอาชีพ เพราะเห็นช่องทางว่าเรียนจบแล้วจะมีงานทำ และอีกอย่างที่โรงเรียนก็สถาบันการศึกษาสายอาชีพเข้าไปแนะแนวการเรียนต่อเป็นประจำ ที่สำคัญผู้ปกครองก็ให้การสนับสนุนเรียนสายอาชีพด้วย”นร.ทั้ง 2 ช่วยกันเล่า

ช่วยเด็กไทยรู้คิด-วางแผนอนาคต

     การที่หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึกศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)และสำนักพิมพ์ชั้นนำ จัดโครงการ“มอบหนังสือเป็นสื่อแทนใจ”ครั้งที่ 9 ให้กับโรงเรียนบ้านแดงน้อยในครั้งนี้จึงถือว่าเป็นเรื่องดีมีประโยชน์มาก เพราะจะทำให้นักเรียนทั้ง 260 คนได้อ่านหนังสือและเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆมากยิ่งขึ้น 

   "กิตติศักดิ์ บอกว่า โรงเรียนยังขาดแคลนหนังสืือ สื่อ อุปกรณ์การศึกษาอีกมาก โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่จะให้นักเรียนได้สืบค้นองค์ความรู้ต่างๆ แต่การที่ได้รับ “น่้ำใจ” ที่แบ่งปันในครั้งนี้ก๋็นับว่าเป็นการได้รับโอกาสที่มากยิ่งแล้ว จะนำหนังสือที่ได้ในครั้งนี้ไปใช้ให้กเิดประโยชน์กับนักเรียน ชุมชนให้มากที่สุด   

ช่วยเด็กไทยรู้คิด-วางแผนอนาคต

   ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้เปิดรับนักเรียนระดับปฐมวัยตามนโยบายของรัฐบาล แต่ด้วยความที่ครูไม่เพียงพอ ทำให้ต้องจัดการศึกษาแบบรวมชั้น อนุบาล 1-3 เรียนรวมกันไปก่อน ซึ่ง “ครูส้มโอ-ภาณี ไชยทองศรี” ครูสอนอนุบาลบอกว่าหนังสือนิทานที่ได้รับแบ่งปันในครั้งนี้ จะทำให้การเรียนของเด็กๆสนุกมากขึ้น เพราะเด็กเล็กๆชอบฟังนิทาน เล่น ไม่ได้ชอบเรียนวิชาการมากนักการเรียนการสอนที่เน้นเตรียมความพร้อมตามวัยด้วยการส่งเสริมการอ่าน เล่านิทานให้เด็กๆฟังจึงเป็นการเรียน ปนเล่น ที่ทำให้เด็กๆสนุกและอยากมาโรงเรียน

      “การสอนแบบเตรียมความพร้อมเน้นเรียนปนเล่นจะทำให้เด็กมีการพัฒนาสมรรถนะตามวัย เพื่อพ้นจากวัยอนุบาลไปเรียนก็สอนเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ เน้นอ่านออกเขียนได้ มีวินัยเคารพกติกาของสังคมอยู่ร่วมกับคนอื่นๆได้ สื่อสารและบวกเลขได้ พอถึงชั้นป.3 จะทำให้เด็กๆสามารถเรียนรู้ต่อยอดในชั้นประถมปลายได้ดียิ่งขึ้น” ครูส้มโอ กล่าว 

ช่วยเด็กไทยรู้คิด-วางแผนอนาคต

       สำหรับโครงการ“มอบหนังสือเป็นสื่อแทนใจ” “ครูจริยา หวังเชิดชูเกียรติ์ ”หัวหน้างานห้องสมุดโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)" บอกว่า ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 9 ได้จัดต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อต้องการการส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแสดงน้ำใจให้กับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน เพื่อให้เด็กๆ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับของขวัญที่มีประโยชน์ มีคุณค่าต่อการเสริมสร้างปัญญา และนำไปพัฒนาตนเองต่อไปได้

ช่วยเด็กไทยรู้คิด-วางแผนอนาคต

      ช่วยสร้างสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการให้และการแบ่งปันที่สำคัญเป็นนโยบายของผู้บริหารสถานศึกษาแห่งนี้ที่ต้องการส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้รู้จักการให้และการแบ่งปันสิ่งของให้แก่เพื่อนๆผู้ด้อยโอกาสและถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร

    โดยตลอดเดือนธันวาคม 60 ถึงวันที่ 11 มกราคม 61 รับบริจาคสิ่งของที่ใช้แล้วแต่ยังคงอยู่ในสภาพดี อาทิ หนังสือ ของเล่น ตุ๊กตา อุปกรณ์กีฬา กระเป๋านักเรียน เครื่องเขียน ฯลฯ

ช่วยเด็กไทยรู้คิด-วางแผนอนาคต ช่วยเด็กไทยรู้คิด-วางแผนอนาคต

      โดยนักเรียนสามารถนำมาบริจาคได้ที่ ศูนย์หนังสือบดินทรเดชา (เครือข่ายศูนย์หนังสือจุฬาฯ) และ ทำพิธีมอบหน้าเสาธง วันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมาโดยมีนาวาตรีหญิงพิมพร เทียนอุดม รองผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นประธานในพิธี และคณะผู้บริหารร่วมเป็นสักขีพยาน 

    

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ