Lifestyle

นักวิจัยสกว.แพทย์จุฬาฯสานฝันคนไม่อยากแก่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักวิจัย สกว. แพทย์จุฬาฯ สานฝันคนไม่อยากแก่ คิดค้นยาลดความชรา “อาลูเอสไออาร์เอ็นเอ” ที่ทำให้เซลล์ทนต่อสารทำลายดีเอ็นเอ

     ศาสตราจารย์ ดร. น.พ.อภิวัฒน์ มุทิรางการ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว. จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในอนาคตวิทยาศาสตร์อาจจะทำให้ฝันของทุกคนเป็นจริง เมื่อคณะวิจัยของตนโดย ดร.มธุรดา เพชรสังข์ นิสิตผู้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ของ สกว. ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ หลังจากทำการวิจัยเรื่อง “การสร้างเสริมสุขภาพดีเอ็นเอโดยใช้อาลูเอสไออาร์เอ็นเอเติมหมู่เมททิล” และได้ข้อค้นพบในการคิดค้นสารที่สามารถลดรอยโรคที่ดีเอ็นเอของเซลล์มนุษย์ที่เลี้ยงในหลอดทดลอง ทำให้ดีเอ็นเอมีความสเถียร เซลล์ทนต่อสารทำลายดีเอ็นเอ และลดความชราของเซลล์ลง เรียกว่าทำให้ดีเอ็นเอมีสุขภาพดี (Healthy DNA)

นักวิจัยสกว.แพทย์จุฬาฯสานฝันคนไม่อยากแก่

    ศาสตราจารย์ ดร. น.พ.อภิวัฒน์ มุทิรางการ

      ยาตัวนี้ชื่อ “อาลูเอสไออาร์เอ็นเอ” (Alu-siRNA) สร้างขึ้นโดยเทคโนโลยีทางชีวเคมีและวิศวพันธุกรรม ซึ่งในร่างกายของเรามีกลไกเพิ่มความเสถียรของสารพันธุกรรมโดยการตกแต่งเติมหมู่เมททิลหรือคาร์บอนหนึ่งตัวที่ดีเอนเอ ซึ่งใช้วิธีการศึกษาด้วยชีววิทยาคอมพิวเตอร์ ทำให้คณะวิจัยทราบถึงกลไกการตกแต่งหมู่เมททิลที่ดีเอนเอด้วยอาร์เอ็นเอสายสั้น ๆ ซึ่งอาร์เอ็นเอก็คือสารที่ถ่ายสำเนาจากดีเอ็นเอ

      สำหรับกลไกที่ “อาลูเอสไออาร์เอ็นเอ” จะลดรอยโรคของดีเอ็นเอนั้นทำได้โดยการที่ “อาลูเอสไออาร์เอ็นเอ” จะไปเติมหมู่เมททิลที่อาลู เอเลเมนท์ (Alu elements) ซึ่งเป็นดีเอ็นเอสายซ้ำที่พบได้ถึงล้านชุดในจีโนมของมนุษย์ คณะวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร. น.พ. อภิวัฒน์ จึงสนใจศึกษากลไกการแก่ของมนุษย์จากการลดลงของหมู่เมททิลในจีโนมที่ทำให้ดีเอ็นเอสูญเสียความสเถียร โดยพบว่าหมู่เมททิลของดีเอ็นเอสายซ้ำชื่อ “อาลู เอเลเมนท์” ลดลงในคนชรา รวมถึงผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูง และผู้หญิงที่มีกระดูกบางและผุ

นักวิจัยสกว.แพทย์จุฬาฯสานฝันคนไม่อยากแก่

  นักวิจัยสกว.แพทย์จุฬาฯสานฝันคนไม่อยากแก่

   นอกจากนี้คณะวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร. น.พ. อภิวัฒน์ ยังได้ศึกษาถึงกลไกที่หมู่เมททิลของอาลู เอเลเมนท์ลดลง แล้วทำให้ดีเอ็นเอมีรอยโรคมาก โดยได้ค้นพบข้อต่อดีเอ็นเอ (replication independent endogenous DNA double strand breaks, RIND-EDSBs) และพบว่าข้อต่อนี้จะอยู่ในดีเอ็นเอที่มีหมู่เมททิล และมีหน้าที่ลดความเครียดของดีเอ็นเอ

        ซึ่งคล้ายกับรอยต่อของรางรถไฟที่มีเพื่อป้องกันไม่ให้รางบิดเมื่อมีอากาศร้อนจัด ล่าสุดคณะวิจัยกำลังสร้างโปรตีนที่มีหน้าที่รักษาข้อต่อดีเอ็นเอ โดยการศึกษาเบื้องต้นพบว่าโปรตีนที่มีหน้าที่รักษาข้อต่อดีเอ็นเอนี้สามารถเพิ่มความเสถียรให้สารพันธุกรรมและลดความชราให้แก่เซลล์เช่นเดียวกัน

     เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ในมนุษย์ ขณะนี้คณะวิจัยกำลังร่วมมือกับ ศ. ดร. นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร และ ศ. ดร. ทพญ.สิริพร ฉัตรทิพากร ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อทดลองใช้ยาอายุวัฒนะดังกล่าวในหนูทดลอง ซึ่งหวังว่าในอนาคตจะสามารถใช้ยาตัวนี้ในการแก้ไขความชราของเซลล์ รวมถึงป้องกันความพิการและโรคที่เกิดจากความชราได้

นักวิจัยสกว.แพทย์จุฬาฯสานฝันคนไม่อยากแก่ นักวิจัยสกว.แพทย์จุฬาฯสานฝันคนไม่อยากแก่

        “สังคมโลกกำลังก้าวสู่สังคมคนชรา นั่นหมายความว่าจะมีผู้คนมากมายป่วยด้วยความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ จากความชรา ทั้งแผลปิดช้า หลอดเลือดหัวใจแข็งและอุคตัน กระดูกบางและผุ และการสูญเสียความสมรรถภาพทางร่างกาย และสติปัญญา หากสามารถป้องกันหรือแก้ไขความเสื่อมของสารพันธุกรรมได้อาจจะเป็นแนวทางสำคัญในการทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมอยู่ได้อย่างมีความสุข ที่สำคัญการศึกษานี้ยังเป็นตัวอย่างหนึ่งที่บ่งชี้ว่าการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้พื้นฐานมีความสำคัญต่อการเกิดนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด ซึ่งจะเห็นได้ว่าคณะวิจัยของตนได้ใช้เวลาศึกษาองค์ความรู้พื้นฐานมานานกว่า 10 ปี จึงจะสามารถสร้างต้นแบบยาอายุวัฒนะที่ทำให้เซลล์มีดีเอ็นเอเสถียรตัวแรกของโลกได้” ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว. กล่าว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ