Lifestyle

ปั้นเด็กไอซีที ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดค่าย “Thailand ICT Youth Challenge 2017 ปี 4” ค่ายเยาวชนไอซีทีที่ใหญ่ที่สุดในไทย เตรียมพร้อมเด็กไทยก้าวสู่ศตวรรษที่ 21

    โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งดิจิทัลซึ่งจะนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ การประดิษฐ์ การคิดค้น การสร้างผลงาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการศึกษา 

    สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ค่ายเยาวชนด้านไอซีทีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โครงการ “Thailand ICT Youth Challenge 2017 ปี 4” จัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ณ ศูนย์สัมมนาและฝึกอบรมอาคารพิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี

ปั้นเด็กไอซีที ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21

        ค่ายดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อรับการอบรมความรู้ ร่วมเวิร์คช้อป และเรียนรู้เทคนิคต่างๆ อย่างเข้มข้นจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ แก่เยาวชนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 100 ทีม จาก 1,512 ทีมทั่วประเทศที่เดินทางมาเข้ากิจกรรมครั้งนี้ ก่อนนำไปปรับปรุงผลงานให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ก่อนเดินทางเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศที่จะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้

        โครงการ “Thailand ICT Youth Challenge”  ปัจจุบันจัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Digital Literacy for 21st Century Education” มีผู้สนับสนุนโครงการได้แก่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน), ธนาคารออมสิน, บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลิสซิ่ง จำกัด, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, มูลนิธิพลังแห่งการเรียนรู้ ที่เล็งเห็นประโยชน์ที่เยาวชนจะได้รับความรู้เสริมวิชาการ และเรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียน นอกจากนี้ยังเป็นเวทีสำคัญในการเตรียมความพร้อมของเด็กไทยในการก้าวสู่ยุคศตวรรษที่ 21 อย่างรู้ใช้ รู้เข้าใจ รู้สร้างสรรค์ โดยมุ่งพัฒนาทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี    

ปั้นเด็กไอซีที ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21

        นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์

        นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) กล่าวว่า เป้าหมายหลักของการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย คือ การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ รู้เท่าทันเทคโนโลยี มุ่งพัฒนากระบวนการเรียนรู้และนำพาคนไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาที่ทันสมัยและสนองตอบคุณภาพชีวิตโดยตรง สนับสนุนความเป็นพลโลกของคนทั่วไปและคนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งวันนี้เราคงต้องมาช่วยกันตั้งคำถามว่า การเรียนรู้เพื่อศตวรรษที่ 21 การศึกษาไทยมีความท้าทายอย่างไรและเราพร้อมขนาดไหน เด็กไทยจะต้องเรียนอะไรบ้าง ประเทศไทยจะเตรียมเยาวชนรุ่นใหม่อย่างไร ต้องพัฒนาทักษะอะไร

       ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้น นางอาทิตยา สุธาธรรม รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นองค์การหลักในการพัฒนาและดูแลการเข้าถึงไอซีทีของประเทศไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในเรื่องของดิจิตอล โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมหลายยุทธศาสตร์ซึ่งถือเป็นแกนหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศ หนึ่งในนั้นก็คือภาคการศึกษาพื้นฐาน ในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสูงมาก

ปั้นเด็กไอซีที ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21

       นางอาทิตยา สุธาธรรม

        ทางกระทรวงฯ ได้จัดทำโครงการ “เน็ตประชารัฐ” ขึ้นมาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนไทยให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยติดตั้งให้เข้าถึงทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ70,000 หมู่บ้าน โดยหมู่บ้านที่มีอินเทอร์เน็ตเข้าถึงแล้วประมาณ 40,000 กว่าหมู่บ้าน โดยในเดือนธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา ได้ติดตั้งไปแล้วอีก 24,700 หมู่บ้าน จึงเหลือประมาณสองหมื่นกว่าหมู่บ้านที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้และจะมีการติดตั้งให้ครบต่อไป

        "สำหรับโครงการ Thailand ICT Youth Challenge 2017 ปี  4 นี้รู้สึกดีใจกับน้องๆ ทั้ง 100 ทีมที่ได้เข้าร่วมแคมป์ เพื่อเพิ่มการเรียนรู้ทักษะดิจิตอลเพื่อสามารถใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเด็กคือพลังของชาติ การสร้างพวกเขาให้มีทักษะการใช้ดิจิตอลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ  เป็นการสร้างโอกาสความเท่าเทียม"นางอาทิตยา กล่าว

ปั้นเด็กไอซีที ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21

    2 สาวจากโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

       ขณะที่ 2 สาวจากโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ น้องพลอย ด.ญ.ทฤษวรรณ นิลสุวรรณ น้องฟีมด.ญ.ภัสรพี บุญมี นักเรียนชั้น ม.3 ช่วยกันเล่าว่า ก่อนหน้านี้ได้เข้าแข่งขันหาประสบการณ์เกี่ยวกับไอซีทีมาบ้าง แต่ครั้งนี้เป็นการแข่งขันรายการใหญ่มากจึงต้องใช้ความพยายามมากขึ้น โดยดูหนังและหาข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการทำโครงเรื่องของโจทย์ที่ได้รับมา คือ การทำ “ภาพยนตร์สั้น” ที่ต้องสร้างสรรค์จินตนาการผ่านบทภาพยนตร์ ภาพและเสียงถึงแบรนด์หรือองค์กร My Corporte : My Brand โดยมีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจน

       "พลอยจะเป็นคนเขียนบทและฟีมจะเป็นคนทำเรื่องโปรดักชั่นส์ สำหรับการเข้าค่ายนี้ สิ่งที่ประทับใจมากที่สุด คือ วิทยากรที่มีความชำนาญมาก และเจาะจงแนะแนวชัดเจน เช่น การสอนหลักการทำหนังสั้นและเทคนิคต่าง ๆ  รวมถึงชอบบรรยากาศ การทำงานเป็นกลุ่มที่ช่วยสร้างความสนิทสนมกับเพื่อนๆ โรงเรียนมากขึ้น ทำให้ได้เพื่อนใหม่ที่สนใจและชอบในเรื่องเดียวกัน ดังนั้น การแข่งขันครั้งนี้มีคาดหวังเล็กน้อย เนื่องจากมีคนเก่งเยอะมากแต่จะพยายามให้เต็มที่"

     2 สาว พลอยและฟีม ฝากอีกว่า ดิจิทัลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าจะใช้ก็อยากให้ใช้อย่างถูกวิธีและรู้เท่าทัน เพราะหากใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจจะนำสิ่งไม่ดีเข้ามา แต่ถ้ารู้จักใช้อย่างถูกวิธีก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

ปั้นเด็กไอซีที ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21

        นักเรียนจากโรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ 

      ด้าน นักเรียนจากโรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ วอย นายพชร  มูลเงิน และภัทร-ณัฐภัทรา วิริยะกุลสิทธิ์ ชั้น ม.4 ช่วยกันเล่าว่า การแข่งขันเกี่ยวกับการทำแอพพลิเคชั่นครั้งนี้เป็นครั้งแรก โดยโจทย์ที่ได้คือ การทำ Mobile Application” ซึ่งจะต้อง Creative Design แอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรหรือแบรนด์ที่จะสามารถนำไปพัฒนาต่อเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีหรือ Always be with you คิดว่าหัวข้ออาจจะค่อนข้างยากแต่ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะได้แรงบันดาลใจจากการเข้าค่ายนี้ วิทยากรได้สอนวิธีคิด เช่น จะทำผลงานออกมาอย่างไร การออกแบบแอพพลิเคชั่นทำอย่างไรที่จะดูน่าสนใจและสามารถใช้งานง่าย รวมถึงสอนวิธีการพูดและนำเสนอผลงาน การเขียน storyboard การเขียน Flow diagram Coding and testing ฯลฯ

ปั้นเด็กไอซีที ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ปั้นเด็กไอซีที ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21

       "แม้เราจะไม่ค่อยมีพื้นฐานในเรื่องนี้มากนัก แต่การได้เข้าแคมป์ที่มีคนเยอะ ๆ เป็นโอกาสที่เราได้เห็นวิธีที่คนอื่นหลากหลายแนวทาง ทำให้พัฒนาตัวเองไปได้อีก และจะพยายามฝึกฝนวิธีการทำแอพฯเพิ่มขึ้น ตอนนี้สนใจอยากทำเกี่ยวกับแอพฯที่จะทำให้ทุกคนได้รับข่าวสารเชื่อถือได้และรวดเร็วที่สุด คาดหวังว่าอยากให้เป็นแอพฯที่สามารถใช้งานได้จริง และเป็นประโยชน์กับทุกคน ไม่ว่าจะได้รางวัลหรือไม่ก็ตาม” วอยและภัทร กล่าว

        สำหรับผู้สนใจ สามารถเข้าไปติดตามให้กำลังใจน้องๆ และดูความเคลื่อนไหวต่างๆ ของโครงการได้ที่ Facebook : ThailandICTYouthChallenge

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ