Lifestyle

182 หลักสูตร90%มีปัญหาผู้สอน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เลขาสกอ.ยอมรับร้อยละ 90 ของ 182 หลักสูตรจะมีปัญหาจำนวน คุณวุฒิ และคุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร หารือทปอ.เดือนหน้าหมุนเวียนอาจารย์ จัดระบบคลีนิคแก้ไข

      .เชื่อว่าถึงตอนนี้สังคมมีคำถาม "ดร.สุภัทร จำปาทอง" เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)หลังจากสกอ.ขึ้นเวบ

 www.mua.go.th ประกาศ 182 หลักสูตรไม่ผ่านมาตรฐานติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี ว่าจะดำเนินการอย่างไรกับมหาวิทยาลัยที่หลักสูตรไม่ผ่านการกำกับมาตรฐาน ที่มีนักศึกษากำลังศึกษาอยู่ รวมทั้งอาจารย์ที่ทำงานในหลักสูตรนั้นๆ รวมทั้งปัญหาอื่นที่จะตามมา..

       เมื่อช่วงค่ำวันที่ 16 ม.ค.“ดร.สุภัทร จำปาทอง” เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า เวบไซต์ สกอ.ได้ประกาศรายชื่อหลักสูตรที่ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรจากการประเมินการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและ ในกำกับของ สกอ.ในปีการศึกษา 2558 และ 2559 ขึ้นเวบไซต์ www.mua.go.th ไปแล้ว ตามที่ประชุมคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) มีมติให้เผยแพร่หลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน 182 หลักสูตร จากที่เปิดสอน จำนวน 9,099 หลักสูตร ในสถาบันอุดมศึกษา 40 แห่ง

       โดยสถาบันอุดมศึกษาที่หลักสูตรไม่ได้มาตรฐานมากที่สุด 5 อันแรก ได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยรามคำแหง 40 หลักสูตร รองลงมา 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 22 หลักสูตร อันดับ 3.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต 16 หลักสูตร อันดับ 4.มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม 11 หลักสูตร และอันดับ 5.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 7 หลักสูตร รวมถึงมีหลักสูตรมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของแต่ละภูมิภาค อย่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

      จากนี้ไปสถาบันการศึกษาที่มีรายชื่อคงต้องทำความเข้าใจกับสังคมว่าเกิดอะไรขึ้น และทำไม หลักสูตรที่เปิดสอนถึงไม่ได้มาตรฐาน สกอ. โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.)ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญ อธิการบดี ม.ร.จะชี้แจงข้อเท็จจริงเวลา 14.00 น.วันนี้ (17 ม.ค.) ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคารวิทยบริการและบริหาร ม.ร.

      ว่ากันว่าครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ สกอ.ประกาศรายชื่อผ่านเว็บไซต์เนื่องจากดำเนินการไม่เป็นไปตามคุณภาพมาตรฐานที่กำหนด เป็นการรักษาผลประโยชน์ให้กับผู้เรียนและผู้ปกครองโดยประกาศครั้งแรกค่ำวันที่ 15 ม.ค.และเอาออกจากเวบไปครั้งหนึ่ง

   ต่อมาประกาศรอบ 2 ค่ำวันที่ 16 มค.ซึ่ง ก่อนหน้านี้ "ดร.สุภัทร" เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลของหลักสูตรที่ไม่ผ่านมาตรฐานและรายชื่อมหาวิทยาลัยต่างๆที่เรียกความสนใจให้กับแวดวงการศึกษามาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง

     โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2560 ครั้งนั้นสื่อหลายสำนักพาดหัวข่าวในทำนองว่า เปิดชื่อแล้ว!!10 มหาวิทยาลัย 98 หลักสูตรมีปัญหาคุณภาพ http://www.komchadluek.net/news/edu-health/271248 

     ต่อมาเดือนเดียวกัน 25 เม.ย. 2560  เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)ได้ให้ข่าว ขอให้ม. 10 แห่งที่มีปัญหาหลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน ปิด56 หลักสูตร พร้อมงดรับนักศึกษาอีก 22 หลักสูตร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 พร้อมตรวจสอบมาตรฐานหลักสูตรที่เปิดรับ http://www.komchadluek.net/news/edu-health/273464    

      คำถามคือว่า การที่สถาบันการศึกษาเปิดสอนหลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างนี้เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายใด  ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร

 รมช.ศึกษาธิการ อธิบายว่าโดยหลักการผู้มีอำนาจรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง คือ สภามหาวิทยาลัย สกอ.มีฐานะในการควบคุมจะไปปกปิดเขาไม่ได้

       ขณะเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ให้นโยบายแก่ ศธ.ด้วยว่าต้องการให้ผู้รับผิดชอบคือ สกอ.รวมถึงกระทรวงการอุดมศึกษา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไปทบทวนด้วยว่าหลักสูตรที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงาน มีตกงาน หรือ ไม่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ

      ทั้งที่รัฐบาลลงทุนงบประมาณจำนวนมาก ควรมีมาตรการมากำกับ เพราะฉะนั้น ในระยะยาวมหาวิทยาลัยต้องไปทบทวนด้วยว่าหลักสูตรเป็นร้อยหลักสูตร ถ้าไม่ตอบโจทย์ตลาดภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน ปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น

    ทำไม 182 หลักสูตรถึงไม่ได้มาตรฐาน ดร.สุภัทร อธิบายว่าร้อยละ 90 ของ 182 หลักสูตรจะมีปัญหาจำนวน คุณวุฒิ และคุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อให้มีผลกระทบต่อนักศึกษาผู้เรียนน้อยที่สุด และคงไว้ซึ่งคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา สกอ. ได้เตรียมหารือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการหมุนเวียน อาจารย์ประจำหลักสูตร และจัดระบบคลินิคแก้ไขปัญหาร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2561 เนื่องจากบางหลักสูตรมีปัญหาด้านกระบวนการจัดการซึ่งสถาบันอุดมศึกษาสามารถปรับปรุงได้ด้วยตนเองโดยทันที

    แต่จะว่าไปแล้วไม่ว่าสถาบันการศึกษาจะทำอย่างไร สกอ.จะดูแลหรือไม่ สุดท้ายผลกระทบก็คือผูู้เรียนอยู่ดี เพราะฉะนั้นจากนี้ไปก่อนที่ผู้เรียนจะตัดสินเรียนต่อในสถาบันการศึกษาใดๆ ผู้ปกครอง นักเรียนก็ควรรู้ข้อมูล โดยเฉพาะเรื่องของหลักสูตรที่จะเรียนนั้นผ่านการรับรองและได้มาตรฐาน ของสกอ.หรือไม่ ก่อนที่จะตัดสินใจลงทะเบียนเข้าไปเรียน จะได้ไม่เป็นการเสียเปล่าทั้งเวลาและเงินทองนั่นเอง 

           0ทีมข่าวคุณภาพชีวิต [email protected]

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ