Lifestyle

เด็กบางคนไม่พร้อมสอบเข้าป.1ไม่ได้ไม่ได้แปลว่าโง่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แนะสพฐ.ปรับหลักสูตรให้ความสำคัญกับการวางพื้นฐานชีวิตให้กับเด็กปฐมวัย หลักสูตรประถมศึกษาตอนต้นต้องเชื่่อมโยงอนุบาลเน้นสมรรถถนะตามวัย จะเปลี่ยนเช่นไรที่นี้คำตอบ..

          "จริงๆแล้วเด็กประถมวัยคือตั้งแต่อนุบาล1-ป.3 การเรียนการสอนที่ถูกต้องควรเน้นให้เรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมตามสมรรถนะตามวัยของเขา เน้นการเรียนให้สนุก เรียนรู้กับธรรมชาติตามพัฒนาการของเด็ก เป็นการเรียนรู้วิชาการตามสมรรถนะของวัย ที่เตรียมความพร้อม ให้อ่านออกเขียนได้เพื่อให้สามารถเรียนต่อได้ในชั้นที่สูงขึ้น และจริงๆแล้วการที่เด็กสอบเข้าป.1 ไม่ได้ไม่ได้หมายความว่าเด็กคนนั้นโง่เสมอไป เพราะโรงเรียนบางแห่งเน้นด้านวิชาการแต่เด็กยังไม่มีความพร้อมก็อาจจะสอบไม่ได้ หรือเรียนมาทางด้านเตรียมความพร้อมตามสมรรถนะก็อาจจะสอบไม่ได้เช่นกัน แต่ในระยะยาวอาจจะเรียนได้ดีและประสบผลสำเร็จในชวิตก็ได้" รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ ประธานคณะอนุกรรมการเด็กเล็ก ในคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าว

เด็กบางคนไม่พร้อมสอบเข้าป.1ไม่ได้ไม่ได้แปลว่าโง่

          ในฐานะที่คร่ำควอดในวงการศึกษาปฐมวัย เป็นครูสอนเด็กป.1 มาตลอด 40 ปี ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รศ.ดร.ดารนี อธิบายว่าได้มีการคุยกันในคณะอนุกรรมการเด็กเล็ก และนักวิชาการทางด้านปฐมวัย ทุกคนเห็นตรงกันว่าสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำเป็นต้องปรับหลักสูตรปฐมวัย ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันทีเปลี่ยนแนวคิดและวางรากฐานการสอนเด็กปฐมวัยกันใหม่ ให้มีรากฐานที่มั่นคงในการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต เพราะเด็กช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สมองเติบโตเร็วที่สุด และพร้อมที่จะรับการเรียนรู้ที่เหมาะสม สอนง่าย ต้องสร้างความตระหนักให้ทั้งสังคมเห็นว่าการปฐมวัย ช่วงตั้งแต่ 0-8 ขวบ เป็นพื้นฐานทั้งชีวิตของเด็กทุกคน

เด็กบางคนไม่พร้อมสอบเข้าป.1ไม่ได้ไม่ได้แปลว่าโง่

รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ

          เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากกับการวางพื้นฐานชีวิตให้กับเด็กปฐมวัย เพราะฉะนั้นหลักสูตรประถมศึกษาตอนต้นต้องเปลี่ยน ไม่ต้องเน้นเรียน 8 กลุ่มวิชาแล้ว แต่ต้องยึดให้มีการเรียนการสอนแบบต่อเนื่องจากอนุบาล ขณะเดียวกันก็เตรียมความพร้อมให้มีทักษะอ่านออกเขียนได้พร้อมกัน

         ก่อนจะไปถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่จะเรียกใหม่ว่าเป็นระบบทางการ ซึ่งไม่ใช่เริ่มตั้งแต่ชั้น ป.1 แต่ควรเริ่มต้นที่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป เมื่อเด็กถูกเตรียมความพร้อมมาแล้ว พอขึ้นชั้นป.4 พวกเขาก็จะสามารถเรียนรู้วิชาการทั้ง 8 กลุ่มสาระทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ พละ ศิลปะ ดนตรี และสังคม ได้ดีขึ้น

เด็กบางคนไม่พร้อมสอบเข้าป.1ไม่ได้ไม่ได้แปลว่าโง่

         "จริงๆแล้วพ่อแม่ควรส่งลูกไปเรียนโรงเรียนอนุบาลที่มีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักพัฒนาการทางสมอง ให้โอกาสเด็กได้เรียน ได้เล่น ได้ทดลอง สร้างความเชื่อมั่น การจัดการเรียนการสอนปฐมวัยตั้งแต่อนุบาล-ป.3 พ่อแม่และครูที่สอนระดับนี้ต้องเข้าใจตรงกัน และต้องสร้างความตระหนักนี้ให้สังคมไทยโดยรวมเข้าใจว่า การเรียนการสอต้องทำให้ เด็กต้องคิดได้ แก้ปัญหาได้ มีวินัย มีความสุข ใฝ่เรียนรู้ มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ มีจินตนาการ ซึ่งต้องสร้างความสมดุลของสมองทั้งสองซีก ทั้งฝั่งจินตนาการความคิด และด้านการเรียนรู้ อันนี้คือหัวใจของการเรียนการสอนขั้นปฐมวัย" รศ.ดร.ดารณี กล่าว

เด็กบางคนไม่พร้อมสอบเข้าป.1ไม่ได้ไม่ได้แปลว่าโง่

        รศ.ดร.ดารณี อธิบายว่า เด็กบางคนอาจจะยังอ่านไม่ออก หรือเขียนไม่ได้ หรือไม่เก่งด้านตัวเลขพื้นฐาน แต่เด็กเหล่านี้มีความสามารถด้านอื่นตามพัฒนาการของสมอง ทั้งจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การกล้าแสดงออก ซึ่งเป็นเรื่องและกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กกลุ่มอายุเหล่านี้ การให้เด็กเรียนความรู้ทางวิชาการที่มากเกินไปในชั้น ป.1 จึงเกิดผลกระทบตามมากับเด็ก และเป็นการสร้างแรงกดดันที่มากเกินไป ทุกวันนี้มีเด็ก ป.1 ที่ไม่พร้อมจะเรียนจำนวนมาก ทั้งๆ ที่เด็กเหล่านี้มีสติปัญญาที่ดี เราจึงเห็นเด็กจำนวนมากไม่มีความสุขเมื่อมาเรียน ป.1 ทำให้มีผลต่อสภาพจิตใจของเด็ก และลดทอนความสามารถของตัวเด็กเอง ทำให้ขาดความมั่นใจ

เด็กบางคนไม่พร้อมสอบเข้าป.1ไม่ได้ไม่ได้แปลว่าโง่

        ขณะนี้มีการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อวางรากฐานให้กับอนาคตของชาติอย่างมั่นคง เพราะจากประสบการณ์เป็นครูมาตลอดวิชาชีพจนถึงวัยเกษียณมาแล้วกว่า 5 ปี คือ เด็กที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตามสมรรถนะของเขา กลับได้ผลลัพธ์ที่ล้มเหลวไม่น้อย เพราะขาดการเชื่อมต่อในช่วงอายุสำคัญคือช่วงปฐมวัย เพราะถูกยัดเยียดความรู้วิชาการมากเกินไปทั้งๆที่อยู่ในวัยที่สมองกำลังพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ความสนุก การเรียนรู้และการจดจำ 

เด็กบางคนไม่พร้อมสอบเข้าป.1ไม่ได้ไม่ได้แปลว่าโง่

       "จริงๆแล้วเด็กพร้อมจะทำตามพ่อแม่ ครู เพราะในวัยนี้พวกเขาต้องการเป็นที่รัก เด็กจะว่านอนสอนง่ายมาก แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่เลือกตั้งความหวังกับเด็ก ที่พาไปติวเพื่อสอบเข้า ป.1 เพื่อหวังจะได้เข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงที่มีคุณภาพ เด็กก็ไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร เพราะเขารู้แต่เพียงว่าอยากทำให้พ่อแม่ เมื่อสอบไม่ผ่านก็จะเกิดความรู้สึกผิดหวัง ทั้งๆ ที่เขาอาจจะมีศักยภาพที่เก่งกว่าเด็กที่เรียนดีก็ได้ เขามีความสุขที่จะเรียนรู้ หรือได้เข้าเรียนป.1 แต่สอบไม่ผ่านเพียงเพราะเขาอ่านข้อสอบนั้นไม่ออก หรือตีความไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่เก่ง ต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ว่าเมื่อเด็กมีความสุข เด็กจะเก่งเอง เด็กต้องรู้วิธีการแก้ปัญหาให้กับตัวเอง รู้จักคิดกับเรื่องง่ายๆ พ่อแม่ไม่ควรไปตีกรอบให้เด็กทุกเรื่อง” รศ.ดร.ดารณี กล่าว

เด็กบางคนไม่พร้อมสอบเข้าป.1ไม่ได้ไม่ได้แปลว่าโง่

       ถึงเวลาหรือยังที่ ระบบการศึกษาปฐมวัยบ้านเรา หันมาเน้นการเรียนให้สนุก เรียนรู้กับธรรมชาติตามพัฒนาการของเด็ก ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ข้อสอบเน้นเตรียมความพร้อมเข้าเรียนชั้น ป.1 แทนการการแข่งขันวิชาการจนเด็กเกิดความเครียด ที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อสมองของเด็กในวัยนี้ แถมระยะยาวยังทำให้พวกเขาเรียนในชั้นประถมปลาย หรือ มัธยมได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะทุกอัดวิชาการมาตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนป.1 ด้วยซ้ำไปทำให้เด็กหลายคนเบื่อที่จะเรียนวิชาการเมื่อเรียนในชั่้นที่สูงขึ้นกลายเป็นเด็กที่เรียนรู้ได้ไม่ดีเมื่อเทียบกับเด็กที่เรียนมาแบบเน้นสมรรถนะตามวัย  

                0 หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ 0 [email protected] 

                         ภาพ "เพจร่วมปฏิรูปการศึกษาไทย" 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ