Lifestyle

คาดเม.ย.61คลอดกฎหมายห้ามใช้ "ไขมันทรานส์"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อย.ยกร่างประกาศสธ. ห้ามใช้ "ไขมันทรานส์"ประกอบอาหาร หลังองค์การอนามัยโลกกำหนดให้น้ำมันต้องมีไขมันทรานส์ไม่เกิน 0.5 มก.และอเมริกาออกกฎหมายแล้ว

       เมื่อวันที่ 26 .. 2560 ..ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดว่าในน้ำมันต้องมีไขมันทรานส์ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม เพราะไขมันทรานส์เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ซึ่งให้ทุกประเทศทั่วโลกมากำหนดเป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยสหรัฐอเมริกาออกเป็นกฎหมายไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือน มิ.. 2559 ส่วนของประเทศไทยอย.ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.. …. เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร (ฉบับที่ 3) โดยเพิ่มความ “ห้ามใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (ไขมันทรานส์) “ยกเว้น” การใช้ในการผลิตอาหารเพื่อการส่งออก” ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของอนุกรรมการอาหาร รอนำเข้าคณะกรรมการอาหารคาดว่าน่าจะสามารถประกาศใช้ได้ในเดือนเมษายน พ..2561 และให้เวลาในการปรับตัวหลังประกาศใช้อีก 1 ปี อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ทางอย.ได้ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในปรับสูตรไม่ใช้น้ำมัน หรือส่วนประกอบของอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหารหรือขนมซึ่งผู้ประกอบการก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

          “ไขมันทรานส์เกิดจากน้ำมันที่เอามาใช้ทำอาหาร เช่น น้ำมันที่ใช้ทอดปกติต้องเป็นไขมันที่มีความอิ่มตัวสูง แต่เนื่องจากขนมต่างๆ โดนัท มักจะใช้น้ำมันถั่วเหลืองมาทอดเพื่อให้มีกลิ่นของถั่วเหลืองติดมาด้วย แต่ประเด็นคือน้ำมันถั่วเหลืองเป็นน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ ถ้าจะเพิ่มให้มีความอิ่มตัวสูงเพื่อให้เหมาะสำหรับการทอดเลยต้องมีการเติมสารไฮโดรเจนบางส่วนรลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมัน ซึ่งทำให้เกิดไขมันทรานส์ขึ้นมา จริงๆ ประเทศไทยได้เปรียบประเทศแถบยุโปรอยู่ตรงที่เรามีน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูงโดยธรรมชาติ เหมาะสำหรับการทำเมนูทอดอยู่แล้ว โดยที่ไม่ต้องเติมไฮโดรเจนลงไป แต่เราต้องห้ามเพื่อไม่ให้มีการนำเข้ามาจากเมืองนอก ขอแนะนำว่าถ้าจะทำเมนูทอดขอให้ใช้น้ำปาล์ม ถ้าจะทำเมนูผัดก็ใช้น้ำมันถั่วเหลือง” น..ทิพย์วรรณ กล่าว

            อนึ่ง ก่อนหน้านี้สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยทำการสำรวจกลุ่มอาหารที่มีไขมันทรานส์ปนเปื้อนในประเทศไทย โดยสุ่มกลุ่มอาหาร 247 ผลิตภัณฑ์ในสถานประกอบการ 28 แห่ง พบว่า กลุ่มอาหารที่มีความเสี่ยงมากที่สุดประกอบด้วย เนย พาย ยีสต์ โดนัท และขนมเค็ก โดยมีปริมาณไขมันทรานส์สูงกว่าร้อยละ 0.7 กรัมต่อหน่วยการบริโภค ซึ่งถือว่าป็นปริมาณที่เกินกำหนดและเสี่ยงต่อการเกิดโรค ส่วนกลุ่มอาหารที่มีความเสี่ยงรองลงมา ได้แก่ ไก่ทอด ผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ คุกกี้ เวเฟอร์ มันฝรั่งทอด ครีมเทียม และมาการีน โดยพบมากถึงร้อยละ 38 ของอาหารในท้องตลาด 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ