Lifestyle

มหา”ลัยทำ 4 ข้อนศ.จบแล้วไม่ตกงาน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปลี่ยนหลักสูตร อุปกรณ์การเรียนให้ทันสมัย เปลี่ยนการสอนเป็นการเรียนรู้ สร้างโอกาสและเครือข่าย จุดเปลี่ยน 4 ข้อ ทำแล้ว นศ. ไม่ตกงาน

          การจัดสรรกำลังพลตลาดงานยุคใหม่ กำลังเคลื่อนย้ายไปสู่งานอาชีพในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์  เทคโนโลยีใหม่และสื่อดิจิทัล   จึงมีหลายอาชีพในยุคนี้ที่คนรุ่นพ่อแม่อาจไม่เคยได้ยินมาก่อน  นั่นคือความเปลี่ยนแปลงที่นำพาอนาคตใหม่มาให้คนรุ่นลูก  และอนาคตที่ว่าก็กำลังจู่โจมมาถึงอย่างรวดเร็ว

มหา”ลัยทำ 4 ข้อนศ.จบแล้วไม่ตกงาน

           คนรุ่นใหม่ต่อจากเจนวาย คือคนที่อยู่ในวัยกำลังศึกษาหาความรู้  พวกเขาคือมวลชนที่จะเติบโตขึ้นด้วยแรงปะทะของอนาคตที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมศักยภาพทางปัญญาและนำไปใช้เป็นพลังและอาวุธสำหรับการดำรงชีวิตในภายภาคหน้าจำต้องเปลี่ยนไปนับแต่วันนี้ 

มหา”ลัยทำ 4 ข้อนศ.จบแล้วไม่ตกงาน

          ทว่า เมื่อมองในภาพรวมของการศึกษาไทยภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ที่เปลี่ยนไปทุกวี่วัน  การบ่มเพาะบัณฑิตใหม่จากมหาวิทยาลัยกลับยังไม่มีอะไรเปลี่ยนไปเลย

มหา”ลัยทำ 4 ข้อนศ.จบแล้วไม่ตกงาน

ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

          ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์  ผู้จัดการฝ่ายมหาวิทยาลัยสัมพันธ์และสรรหาว่าจ้าง ประจำภูมิภาคเอเชีย บริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ทุกปี จะมีบัณฑิตจบใหม่ มากกว่าหลายแสนคนและกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จบออกมากลายเป็น “คนว่างงาน”  เพราะความรู้ที่เรียนมาไม่ตรงกับความต้องการของตลาด สาเหตุมาจากนักศึกษาหาความต้องการของตนเองไม่พบ และบางคนก็เรียนโดยไม่มีเป้าหมายแค่ขอให้จบปริญญา 

มหา”ลัยทำ 4 ข้อนศ.จบแล้วไม่ตกงาน

          ในขณะที่ตลาดงานยุคปัจจุบัน  ต้องการคนที่มีความชำนาญการในสายงาน บวกกับทักษะ soft  skill มากขึ้น  เช่น  ทักษะด้านภาษา  การแก้ปัญหาเป็นระบบ  ทำงานเป็นทีม  การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เป็นต้น

มหา”ลัยทำ 4 ข้อนศ.จบแล้วไม่ตกงาน

อาจารย์เพชร  โอสถานุเคราะห์

          ด้านอาจารย์เพชร  โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ระบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทยเป็นระดับการศึกษาขั้นสูงในชั้นแรกก่อนจะเริ่มต้นชีวิตการทำงาน โดยมีกรอบความคิดสองเรื่องคือ

มหา”ลัยทำ 4 ข้อนศ.จบแล้วไม่ตกงาน  

          1. ต้องสอบเอ็นทรานซ์-แอดมิชชั่น  เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยรัฐ  และ 2.ค่านิยมที่มองว่าปริญญาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต เรียนอะไรก็ได้ให้จบปริญญา ยังครอบงำพ่อแม่ผู้ปกครองและส่งต่อกรอบคิดเช่นนั้นสู่คนรุ่นลูก ระบบการศึกษาของไทยจึงย่ำอยู่กับที่  

          “คนรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องเดินตามรอยเท้าคนในอดีตในปัจจุบันมีทางเลือกให้เรียนรู้มากมายหลายรูปแบบ ถ้าปลดล็อกกรอบความคิดสองเรื่องที่กล่าวมาได้ ระบบการศึกษาไทยจะก้าวไปไกลกว่านี้” อาจารย์เพชร กล่าว

มหา”ลัยทำ 4 ข้อนศ.จบแล้วไม่ตกงาน

          อาจารย์เพชร กล่าวต่อว่า การที่จะเรียนมหาวิทยาลัยให้ทันยุคสมัย มี 4 ข้อที่มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนอย่างจริงจังคือ

          1.เปลี่ยนหลักสูตรให้มีความทันสมัย  

          2.เปลี่ยนอุปกรณ์การเรียนให้ทันสมัย เพื่อให้นักศึกษาฝึกใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างชำนาญ  เช่น  การเรียนเพื่อเป็นนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น  นักออกแบบเกม  คอมพิวเตอร์ที่ใช้เรียนต้องทันสมัยและมีจำนวนพอกับนักศึกษา  หรือเรียนสาขาการผลิตภาพยนตร์  ห้องเรียนของนักศึกษาก็คือโรงถ่ายสตูดิโอ  ใช้กล้องระดับมืออาชีพ  มีห้องตัดต่อดิจิทัลแลบ  เป็นต้น

          3.เปลี่ยนการสอนเป็นการเรียนรู้  พูดคุยระดมความคิด  ถกเถียงกันมากกว่าให้ฝ่ายหนึ่งพูดอีกฝ่ายหนึ่งฟังไปเงียบๆ และจดจำ  เปลี่ยนให้คณาจารย์ทำหน้าที่ “โค้ช” ชี้นำนักศึกษาเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ สิ่งใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่จะเกิดขึ้นได้   

          4.สร้างโอกาสและเครือข่ายงาน โดยเน้นการเรียนผ่านการลงมือทำตั้งแต่เข้ามาเรียนปีหนึ่ง  ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องมี ecosystem ที่แข็งแกร่งมีพันธมิตรทางการศึกษาที่หลากหลายเพื่อมีส่วนสร้างเครือข่ายงาน สถานที่ฝึกและทำงานจริงให้นักศึกษา

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ