Lifestyle

"พยาบาล-เภสัช"ชุมพร ร้องถูกลอยแพ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"พยาบาล-เภสัช" ยื่นหนังสือศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชุมพร ร้องขอความเป็นธรรม เหตุถูกลอยแพ 17 ปี

 

 

         วันที่ 15 ธันวาคม 2560 ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชุมพร ตัวแทนพยาบาลและเภสัชกรจาก 8 อำเภอของ จ.ชุมพร 15 คน ได้เข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อ นายดุสิต ศักรกานต์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชุมพร สรุปว่า จากนโยบายคุมกำเนิดข้าราชการของรัฐบาลในปี 2543 ได้ส่งผลกระทบต่อกระทรวงสาธารณสุขจนต้องเลือกบรรจุเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ แต่ลอยแพนักเรียนทุนกระทรวงสาธารณสุขที่จบการศึกษาในปี 2543 ทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 เห็นชอบให้มีการจ้างงานประเภทใหม่เรียกว่า “พนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข” ซึ่งหมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐอีกประเภทหนึ่ง รับเงินเดือนจากงบประมาณ หมวดเงินเดือนเช่นแพทย์ ส่วนค่าตอบแทนได้ใช้บัญชีเงินเดือนพลเรือนโดยอนุโลม การเลื่อนเงินเดือน วันเวลาทำงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน วินัย การสิ้นสุดการจ้าง เหมือนข้าราชการ แต่ไม่นับอายุราชการ จนเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 ครม.มีมติบรรจุและแต่งตั้งพนักงานของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นข้าราชการ แต่ไม่นำระยะเวลาการปฏิบัติงานในช่วงก่อนการบรรจุมาคำนวณในสิทธิประโยชน์กองทุนบำเหน็จบำนาญทั้งที่พนักงานของรัฐทุกคนได้รับการปฏิบัติเหมือนข้าราชการทุกประการ

         ในหนังสือยังระบุว่า เมื่อสำนักงาน ก.พ.และ ครม.ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการพิจารณาสิทธิประโยชน์ให้พนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุข ระยะที่ 1 กำหนดหลักเกณฑ์ให้พนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2555 เป็นต้นไปเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556 และระยะที่ 2 กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับพนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2555 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำข้อมูลเปรียบเทียบ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2560 ใน 2 ประเด็นคือ 1.การรับเงินเดือนระหว่างข้าราชการปกติ พนักงานของรัฐ และกลุ่มที่ได้รับการเยียวยาที่มีอายุงาน/อายุราชการใกล้เคียงกัน และตำแหน่งประเภทเดียวกัน เปรียบเทียบกับเงินเดือน ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2559 พบว่า ข้าราชการที่ได้รับการเยียวยา เงินเดือนมากกว่าข้าราชการปกติ 6,100 บาท และมากกว่าพนักงานของรัฐ 7,800 บาท 2.เปรียบเทียบกรณีอายุงาน/อายุราชการที่แตกต่างกัน ข้าราชการปกติอายุราชการมากกว่าพนักงานของรัฐ 3 ปี 8 เดือน ส่วนพนักงานของรัฐอายุราชการมากกว่าข้าราชการที่ได้รับการเยียวยา 5 ปี จึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีคืนความเป็นธรรมให้อดีตพนักงานของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2 ข้อคือ 1.ขอให้มีการแก้กฎหมายเพื่อนับระยะเวลาการเป็นพนักงานของรัฐเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญ 2.ทบทวนการเยียวยาเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

         น.ส.สุมาลี เพ็ญสวัสดิ์ วิสัญญีพยาบาล รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กล่าวว่า พวกตนเป็นอดีตพนักงานของรัฐซึ่งเป็นนักเรียนทุนที่ทำสัญญาว่าจบแล้วต้องได้บรรจุเป็นข้าราชการ แต่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เมื่อปี 2543 เพื่อลดจำนวนข้าราชการ จึงให้พวกตนกลายเป็นพนักงานของรัฐที่มีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่าข้าราชการ หากลาออกจะต้องชดใช้ทุนที่ใช้เรียนมา แต่เมื่อมีการบรรจุเป็นข้าราชการกลับไม่มีการนับเวลาในช่วงที่เป็นพนักงานของรัฐให้ ขณะนี้มีรุ่นน้องหลายคนที่เพิ่งได้รับการบรรจุ แต่กลับมีอายุราชการและเงินเดือนมากกว่ารุ่นพี่ที่ทำงานมาก่อนเป็น 10 ปี บางหน่วยงานลูกน้องได้เงินเดือนแซงหน้าหัวหน้า ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมต่ออดีตพนักงานราชการที่ได้รับบรรจุเป็นข้าราชกาชุมพรรเลย จึงขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาคืนความเป็นธรรมให้พวกตนด้วย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ