Lifestyle

ร.ร.เสนอปัญหาแต่ว่าไม่ถึงเบื้องบน จะปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ถ้าจะปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลดีส่งถึงนักเรียนแล้วต้องกระจายอำนาจให้โรงเรียนเป็น“นิติบุคคล” ได้อย่างแท้จริง..

        โดยให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา และกรรมการสถานศึกษามีอำนาจบริหารจัดการเรื่องต่างๆภายในโรงเรียนร่วมกันโดยยึดประโยชน์ของนักเรียนและชุมชนเป็นหลักเท่านั้นถึงจะแก้ปัญหาได้ นี่คือ เสียงจากครูผู้สอนนักเรียนมากกว่า 40 ปีอีกไม่ถึง 9 เดือนเขาจะเกษียณอายุราชการอยู่กับนักเรียนขนาดเล็กมาโดยตลอด รับรู้ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณ กำลังคน และอื่นๆรวมทั้งผลกระทบนโยบายต่างๆจากหน่วยเหนือที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนให้กับเยาวชนของชาติ 

ร.ร.เสนอปัญหาแต่ว่าไม่ถึงเบื้องบน จะปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร

        "บุญเลี้ยง ไขษรศักดิ์" ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านหนองบั่ว อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด นายกสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดใจกับ “คมชัดลึก”ว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะมีโครงสร้างการบริหารอย่างไร จากส่วนกลาง ไปถึงเขตพื้นที่ก็แล้วแต่ พอถึงโรงเรียนแล้วจะต้องกระจายอำนาจให้กับโรงเรียนให้เป็นนิติบุคคลสามารถบริหารจัดการงบประมาณ บุคคลากรภายในโรงเรียนได้อย่างตรงตามความต้องการของโรงเรียน โดยผ่านความเห็นชอบของประธานคณะกรรมการสถานศึกษา

      ร.ร.เสนอปัญหาแต่ว่าไม่ถึงเบื้องบน จะปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร

"พิทักษ์ บัวแสงใส"

           “การให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลบนความรับผิดชอบของผู้บริหารโรงเรียนและกรรมการสถานศึกษา ทั้ง 2 ฝ่ายต้องร่วมกันรับผิด และรับชอบร่วมกัน ถ้าโรงเรียนต้องการครูคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษ ผู้อำนวยการโรงเรียนและกรรมการสถานศึกษาก็ช่วยกันเปิดรับสมัคร และสอบคัดเลือกเอาเอง จะได้ตรงตามความต้องการ ไม่ใช่ให้เขตพื้นที่ดำเนินการและจัดส่งมาให้บางครั้งไม่ได้ตรงกับความต้องการ ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต แต่โรงเรียนขนาดเล็กก็ต้องรับครูเหล่านั้นเพราะด้วยความที่โรงเรียนขาดครู” นายกสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าว

ร.ร.เสนอปัญหาแต่ว่าไม่ถึงเบื้องบน จะปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร

         ที่สำคัญโครงสร้างใหม่ตามคำสั่งคสช.ที่ 19/2560 ข้อ 13 เกี่ยวกับการแปรรูปการศึกษาส่วนภูมิภาค ทำให้เกิดความขัดแย้งในการด้านการบริหารการศึกษาระหว่างศึกษาธิการจังหวัด และการทำงานเขตพื้นที่พื้นที่การศึกษาที่ไม่สอดคล้องตรงกับความต้องการของคณะผู้บริหารครูและสถานศึกษาในพื้นที่ ให้คนที่ไม่ใช่ครู มาดูแลด้านการศึกษา รวมทั้งรัฐมนตรีที่มาดูแลกระทรวงศึกษาทำให้การทำงานได้ไม่ตรงกับเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา 

ร.ร.เสนอปัญหาแต่ว่าไม่ถึงเบื้องบน จะปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร   ร.ร.เสนอปัญหาแต่ว่าไม่ถึงเบื้องบน จะปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร

        "การปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งแต่ปฏิรูปโครงสร้าง มากกว่าการพัฒนาการศึกษา เพื่อให้ความรู้การศึกษากับนักเรียน รัฐบาลควรจะต้องทบทวนแนวคิดนี้ ยกเลิกคำสั่งที่ 19/2560 ของ คสช. จัดระบบการจัดสรรอำนาจ งบประมาณให้เหมาะสม รัฐบาลควรฟังความคิดเห็นของคณะครูเพื่อจัดการศึกษาโดยครู ซึ่งมีความเข้าใจด้านการศึกษาเป็นอย่างดี แทนที่จะเอาคนนอกที่ไม่มีความรู้ด้านการศึกษาเข้ามาจัดการด้านการศึกษาซึ่งไม่ตรงตามเป้าหมายของคณะครูแต่อย่างใด" นายบุญเลี้ยง กล่าว 

ร.ร.เสนอปัญหาแต่ว่าไม่ถึงเบื้องบน จะปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร

พิทักษ์ บัวแสงใส - บุญเลี้ยง ไขษรศักดิ์

        โดยเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ชมรม/สมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด 43  องค์กรได้ยื่นข้อเสนอให้กับผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรีส่วนหน้าที่ร่วมเดินทางกับนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ลงพื้นที่บ้านโพน อ.คำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 4 ข้อด้วยกันคือ 1.ให้ยกเลิิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ที่ 19/2560 เพราะเกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติ 2.คืนอำนาจตามมาตรา53(3)(4)ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนให้เป็นไปตามกฏหมายเดิม 3.กระจายอำนาจเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)อำนาจผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ไปให้ผู้อำนวยการโรงเรียน และ 4 ให้ดำเนินการตรากฏหมายให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลโดยเร็ว 

ร.ร.เสนอปัญหาแต่ว่าไม่ถึงเบื้องบน จะปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร

         "เชื่อว่าถ้ามีการแก้ไขตามข้อเสนอดังกล่าวแล้ว จะทำให้การบริหารจัดการการศึกษาของชาติจะส่งผลถึงผู้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล ส่งผลถึงครูและนักเรียน ซึ่งใกล้ชิดกับครูมากที่สุดและจะส่งผลถึงคุณภาพการศึกษาของประชากรชาติอย่างแน่นอน" นายกสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าว

          อย่างไรก็ตามหากไม่มีการตอบรับแนวคิดเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา ชมรม/สมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด จะประสานกับองค์กรครูอื่นทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนร่วมกันต่อไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนไปในทางที่ดีที่สุด เพื่อให้ประโยชน์ตกกับนักเรียนให้มากที่สุด

          ว่ากันว่าการทำงานของชมรมครู และสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นองค์กรที่ทำงานสอดประสานกัน ด้วยสโลแกนที่ว่า “องค์กรคู่เพื่อครูร้อยเอ็ด ” โดยชมรมครูก่อตั้งมาแล้ว 38 ปี ปัจจุบันมี "พิทักษ์ บัวแสงใส" เป็นประธานชมรมครูจังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนสมาคมครูเพื่อก่อตั้งมาได้ 18 ปี ซึ่งมี “บุญเลี้ยง ไขษรศักดิ์” เป็นนายกสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด

ร.ร.เสนอปัญหาแต่ว่าไม่ถึงเบื้องบน จะปฏิรูปการศึกษาได้อย่างไร

บุญเลี้ยง ไขษรศักดิ์

          กล่าวสำหรับ “พิทักษ์ บัวแสงใส” ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวารีสวัสดิ์วิทยา อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด และเป็นหนึ่งใน 17 คนของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้ประชุมมาแล้ว 3 ครั้งและได้นำเสนอปัญหาของโครงสร้างการบริหารที่มีข้อขัดแย้งมาโดยตลอด    

          “พิทักษ์” มองว่า หากไม่แก้คำสั่ง หัวหน้าคสช.ที่19/2560 ข้อ13 อาจจะเกิดความเสียหายทั้งระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะการให้ศธจ.ใช้อำนาจมาตรา53 (3)(4)ซึ่งเป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 24 และมาตรา 27 ของ พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการใช้อำนาจบรรจุแต่งตั้ง ข้ามแท่ง ซึ่งไม่เคยปรากฏในหน่วยงานใดมาก่อน และอำนาจในมาตรา 53(3)(4) ยังผูกพันกับมาตราอื่นๆในหมวดอื่นอีกเกือบสามสิบเรื่อง จึงทำให้เกิดความล่าช้า ด้อยประสิทธิภาพในการบริหารงานบุคคลในภูมิภาค ส่งผลกระทบโดยตรงต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

  

0 หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ 0

[email protected] 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ