Lifestyle

เปลี่ยน “เมืองม็อบ” เป็น “เมืองพลังงานชีวมวล”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สกว.- กฟผ.หนุนปลูกไม้โตเร็วสร้างรายได้ให้ชุมชนอาทิเช่น ยางพารา ยูคาลิปตัส เพื่อเปลี่ยนอุบลราชธานีให้เป็นเมืองพลังงานชีวมวล

          ในปี 2535 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังขาดการพัฒนา ไม่มีการคัดเลือกสายพันธุ์ และการดูแลรักษาอย่างจริงจัง ปัญหาหลักที่ไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ เพราะพื้นที่ทำกินของชาวบ้านที่ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองม็อบ”

เปลี่ยน “เมืองม็อบ” เป็น “เมืองพลังงานชีวมวล”

         เจ้าหน้าที่งค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ อ.อ.ป. เลยส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกยางพาราและดูแลรักษา เพื่อให้มีงานทำจากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตร โดยชาวบ้านจะมีส่วนแบ่งจากการกรีดและขายน้ำยางพาราสดร้อยละ 40 ส่วนรายได้อีกร้อยละ 60 เป็นขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ซึ่งชาวบ้านจะมีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณคนละ 10 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมดเกือบ 5,000 ไร่

เปลี่ยน “เมืองม็อบ” เป็น “เมืองพลังงานชีวมวล”

           ส่วนยูคาลิปตัสซึ่งมีพื้นที่ปลูกประมาณ 7,000 ไร่ ชาวบ้านจะมีรายได้จากค่าจ้างทำไม้ แต่เราก็ยังอยากปลูกไม้เศรษฐกิจอื่น ๆ ให้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น ใช้ประโยชน์จากพื้นที่สวนป่าเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่เพื่อให้ อ.อ.ป.มีรายได้อย่างยั่งยืน

เปลี่ยน “เมืองม็อบ” เป็น “เมืองพลังงานชีวมวล”

          นายบรรยง บุญญโก หัวหน้าฝ่ายจัดการสวนป่า อ.อ.ป.ตะวันออกเฉียงเหนือ เล่าว่า  พื้นที่สวนป่าช่องเม็กมีหมู่บ้านและชุมชนรอบ ๆ สวนป่าที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากการปลูกสร้างสวนป่าจำนวน 7 หมู่บ้าน มีราษฎรกว่า 1,000 ครอบครัว ที่ร่วมปลูกมันสำปะหลัง มีรายได้จากการทำวนเกษตร การรับจ้างสวนป่า และเก็บหาของป่า

          เจ้าหน้าที่ อ.อ.ป.ได้ทำการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อแบ่งพื้นที่ป่าในการปลูกไม้เศรษฐกิจ ส่วนพื้นที่ในส่วนอื่น ๆ ก็อนุรักษ์ไว้เพื่อให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ โดยดำเนินการภายใต้การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน แต่การขาดการวิจัยและพัฒนา ขาดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยตรง และที่สำคัญคือการขาดงบประมาณ เป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาสวนป่าเศรษฐกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เปลี่ยน “เมืองม็อบ” เป็น “เมืองพลังงานชีวมวล”

ดร.มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์

          โดยในปี 2559 ดร.มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์ จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย “ระบบการปลูกและการจัดการไม้โตเร็วในการผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลบนที่ดินเสื่อมโทรม” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการร่วมฯ ได้เข้ามาขอใช้พื้นที่ในการดำเนินโครงการวิจัย

          ดร.มะลิวัลย์ ได้ศึกษาระบบการปลูกและการจัดการที่เหมาะสมของการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่เสื่อมโทรม เน้นพื้นที่ระดับเฝ้าระวังและระดับวิกฤต และไม่กระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหาร ซึ่งมีพื้นที่ “โมเดลเชิงสาธิต” ใน 5 จังหวัดตามภูมิภาคต่าง ๆ

        รวมถึงสวนป่าช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ตลอดจนหารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสม และขยายผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการเติบโต ผลผลิต การหมุนเวียนสารอาหาร การเก็บกักคาร์บอน ค่าพลังงานที่ได้ รวมถึงผลตอบแทนทางการเงินและเศรษฐศาสตร์

เปลี่ยน “เมืองม็อบ” เป็น “เมืองพลังงานชีวมวล”

          “แนวคิดสำคัญคือ การพยายามดึงคนรุ่นลูกขึ้นมาดูแลรับผิดชอบแทนรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่มีอายุมากแล้ว ในอนาคตน่าจะขยายผลได้เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้น ปัจจุบันแรงงานหนุ่มสาวที่ออกไปทำงานในกรุงเทพฯ ก็หมุนเวียนกันกลับมาเป็นแรงงานหลักของครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 500 ครอบครัว ซึ่งไม้โตเร็วรวมทั้งไม้ยูคาลิปตัสมีรอบการตัดไม่ต่ำกว่า2 ปี โดยจะขายไม้ให้กับบริษัทผลิตเยื่อกระดาษ ไม้แปรรูป และเป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าชีวมวล” ดร.มะลิวัลย์ กล่าว

เปลี่ยน “เมืองม็อบ” เป็น “เมืองพลังงานชีวมวล”

           ดร.มะลิวัลย์ กล่าวต่อว่า จากการทดลองปลูกยูคาลิปตัสรวม 4 สายพันธุ์ พบว่าสายพันธุ์ของเวียดนามที่เพาะเมล็ดเติบโตดีที่สุด ซึ่งจะเป็นการวิจัยเพื่อตอบคำถามว่าการปลูกไม้โตเร็วที่มีรอบตัดฟันสั้นทำให้ดินเสียหรือไม่ โดยในพื้นที่ได้มีการปลูกยูคาลิปตัส กระถินลูกผสม (เทพณรงค์)กระถินณรงค์ และสนชวาซึ่งกระถินลูกผสม กระถินณรงค์ และสนชวา จัดอยู่ในพืชตระกูลถั่ว แม้อยู่ในรายชื่อพืชรุกรานแต่มีศักยภาพในการปลูกเป็นพืชพลังงานได้

เปลี่ยน “เมืองม็อบ” เป็น “เมืองพลังงานชีวมวล”

ผศ. ดร.รุ่งเรือง พูลสิริ

           ด้าน ผศ. ดร.รุ่งเรือง พูลสิริ จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย “การศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการปลูกยูคาลิปตัสร่วมกับมันสำปะหลังในระบบวนเกษตรในพื้นที่ดินเสื่อมโทรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” กล่าวว่า เป็นอีกโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการร่วมฯได้นำชมพื้นที่ปลูกยูคาลิปตัสร่วมกับมันสำปะหลังในแปลงทดลอง เพื่อหวังจะสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

      ซึ่งนอกจากรูปแบบที่เหมาะสมแล้วนักวิจัยยังต้องนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์เพื่อหารูปแบบธุรกิจที่นำไปขยายผลได้ และหาแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับการส่งเสริมพื้นที่ผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานด้วย  

เปลี่ยน “เมืองม็อบ” เป็น “เมืองพลังงานชีวมวล”

          ในส่วนของผู้สนับสนุนทุนวิจัย รศ. ดร.ศุภชาติ จงไพบูลย์พัฒนะ ผู้ประสานงานโครงการร่วมฯ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับผลการดำเนินงานวิจัยว่า ทั้งสองโครงการมีศักยภาพดี เป็นไปตามหลักวิชาการ และทำงานเชื่อมโยงกับ อ.อ.ป. ซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์โดยตรงตั้งแต่เริ่มโครงการ เป็นงานวิจัยระยะยาวที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง

เปลี่ยน “เมืองม็อบ” เป็น “เมืองพลังงานชีวมวล”

          อีกทั้งเป็นการเก็บข้อมูลใหม่ที่ทันสมัย เพราะข้อมูลเดิมเมื่อสิบปีที่ผ่านมาอาจใช้ไม่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งเรื่องของพันธุ์ไม้และสภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนไป ในขณะที่ผลกระทบต่อชาวบ้านนั้น แน่นอนว่าการทำงานของ อ.อ.ป. ต้องผูกติดกับชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งงานวิจัยของเราก็ทำตามความต้องการของชาวบ้านในการปลูกมันสำปะหลังระหว่างไม้โตเร็ว เนื่องจากสำปะหลังสามารถเก็บขายได้ในระยะสั้นกว่า ทำให้ชาวบ้านมีรายได้หมุนเวียนไปใช้จ่ายเร็วขึ้น

เปลี่ยน “เมืองม็อบ” เป็น “เมืองพลังงานชีวมวล”

          "นอกจากนี้ยังมีการขยายผลต่อยอดงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่น การใช้ประโยชน์ด้านพลังงานชีวมวลของวิสาหกิจชุมชนผ่าน พพ. และการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ กฟผ. ในการปลูกป่าที่บึงกาฬ โดยจะนำผลงานวิจัยจากที่อุบลราชธานีไปเป็นแบบอย่าง" รศ. ดร.ศุภชาติ กล่าว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ