Lifestyle

ศธ.ตีความม.53อำนาจบรรจุแต่งตั้ง5ประเด็น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศธ.ให้นักกฎหมายตีความอำนาจ ม.53 และคำสั่งคสช.ที่ 19/2560 ชงบอร์ดคปภ.พิจารณาและส่งต่อกฤษฎีกาตีความ ย้ำการแก้ปัญหา ศธจ.-สพท.จะทำทั้งระบบอัตรากำลัง การทำงาน

           เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 60 - นายสุรินทร์ แก้วมณี  ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้รับมอบหมายให้ดูแลการบริหารจัดการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) และศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการทำงานระหว่าง ศธจ.และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) โดยเฉพาะประเด็นการบริหารงานบุคคล การบรรจุแต่งตั้งตามมาตรา 53 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลารกทางการศึกษา พ.ศ.2547 ให้แก่ ศธจ.และคณะศึกษาธิการจังหวัด ตามข้อที่ 13 ในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 วันที่ 3 เมษายน จากเดิมที่เป็นอำนาจของ สพท.เป็นเรื่องที่ผู้บริหารระดับสูงพูดคุยกันมาตลอด และได้เตรียมการที่จะดำเนินการแก้ไขทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบทั้งหมด

            ทั้งนี้ ขณะนี้ได้เตรียมกรอบแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา 5 เรื่อง ได้แก่ 1. การจัดสรรกรอบอัตรากำลังของทั้ง สำนักงานศธจ. และ สพท.  ให้เหมาะสมกับปริมาณงาน โดยในส่วนของสำนักงาน ศธจ. ต้องใช้บุคลากรประมาณ 45 อัตรา เฉพาะตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามาตรา 38 ค.(2) ซึ่งไม่รวมศึกษานิเทศก์ ขณะที่ สพท.แต่ละเขตใช้ประมาณ 50-60 อัตรา 

            2. มอบหมายให้คณะอุกรรมการด้านกฎหมายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตีความข้อกฎหมาย อำนาจตามมาตรา 53 (3)และ(4)ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547  ซึ่งเดิมให้อำนาจสพท. เป็นผู้มีอำนาจการบรรจุแต่งตั้ง  กับคำสั่ง คสช. ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อที่ 13  เพื่อพิจารณาว่าในคำสั่งดังกล่าว ให้ผอ.สพท. มีอำนาจตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ เหลืออยู่บ้าง

       เช่น อำนาจในการแต่งตั้งรักษาราชการแทน อำนาจในการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง เป็นต้น  โดยหากฝ่ายอนุกรรมการด้านกฎหมายของศธ. ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้ว จะเสนอให้ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค (คปภ.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความข้อกฎหมายต่อไป

            นายสุรินทร์  กล่าวต่อว่า  3.จัดทำแผนบูรณาการร่วมกันระหว่าง ศธจ. และสพท. ทั้งการอัตรากำลัง งบประมาณ การจัดการศึกษา 4.จัดระบบการนิเทศติดตาม และ5.ทำคูมือ ขั้นตอนการทำงานทั้ง ศธจ. และ สพท. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

            “ในเชิงบริหาร ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างศธจ.และสพท. ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะความเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยเวลา  โดยให้ศธจ.เป็นหน่วยสนับสนุนให้ฝ่ายปฏิบัติคือสพท. ทำงานได้อย่างราบรื่น โดยอยากให้ สพท.หลุดจากกรอบแนวคิดเดิม คิดถึงการจัดการศึกษา ที่ต้องเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ มีเป้าหมายที่ชัดเจนคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับประเทศและนักเรียนเป็นหลัก”นายสุรินทร์ กล่าว  

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ