Lifestyle

เชื่อไม่ !! ถกยุทธศาสตร์ชาติ ย้ำรอบนี้ของจริง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เผย 6 ประเด็นสิ่งที่ยุทธศาสตร์อยากให้ทำ สอดคล้องคกก.อิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษาดำเนินการ ย้ำปฎิรูปไม่ใช่กระดาษ รอบนี้ของจริง 

      เมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา พร้อมด้วยดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา  แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ครั้งที่ 27/2560 
       ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวว่าได้มานำเสนอยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเป็นตัวตั้ง และมีการทบทวนสถานการณ์ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งหลังจากมียุทธศาสตร์เป็นกฎหมาย  และต้องมีการจัดทำแผนแม่บทที่รัฐบาลต่อไปต้องปฎิบัติตาม และใช้มากำกับดูแล 

    อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ถือเป็นของใหม่ที่ยังไม่ได้ลงรายละเอียด  การมารับฟังและเสนอคณะกรรมการปฎิรูปฯ   โดยภาพรวมการปฎิรูปได้มีความครอบคลุมตามช่วงวัยของแต่ละคน รวมถึงคนวัยทำงาน การจัดการคนด้อยโอกาส ถือเป็นเรื่องเหมาะสม

    ส่วนที่กรรมการยุทธศาสตร์ฯ ต้องไปศึกษาต่อนั้น  ต้องศึกษาคนวัยทำงาน และคนในยุคต่อไป ความสามารถในการแข่งขัน

     ทั้งนี้ ภาพรวมส่วนใหญ่เป็นการรับฟังจากคณะกรรมการปฎิรูปการศึกษา ซึ่งมองว่าน่าจะคิดคาดงัดที่ปฎิรูปลงในรายละเอียดได้  คือ ปฎิรูปจะดูอะไรที่ปฎิบัติได้ สิ่งที่อยู่หน้างาน แต่ยุทธศาสตร์จะเป็นประเทศไทยในอุดมคติ คนไทยในอุดมคติ และอะไรจะเปลี่ยนแปลงได้ 

        ศ.นพ.จรัส กล่าวว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ เป็นการมองจากข้างบน มองสิ่งที่อยากได้ลงมาสู่ปฎิบัติ แต่สิ่งที่คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่เสนอจากข้างล่าง พื้นดินว่าจะทำอะไรบ้าง ซึ่งสองฝั่งมาเจอกันตรงกลางจะรู้ว่าอะไรทำได้และอยากได้

    โดยสิ่งที่กรรมการยุทธศาสตร์ ฯ อยากได้นั้น มี 6 ประเด็นสำคัญ คือ 1.การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวัฒนธรรม ซึ่งตรงกับการปฎิรูปการศึกษาที่ต้องให้เกิดคุณธรรมจริยธรรม และมีมาตรการที่ใช้ของทางการศึกษา ขณะที่ด้านกรรมการยุทธศาสตร์ ฯ มองในหลายด้าน และด้านเป็นการศึกษาเป็นหนึ่งในนั้น  2.การพัฒนาศักยภาพตลอดชีวิต  เรื่องนี้ตรงกับการปฎิรูปการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งขณะนีเน้นตั้งแต่ก่อนคลอด ไปจนถึงแรงงานแต่เป็นแรงงานในส่วนของการศึกษาอาชีวะ ส่วนแรงงานในภาพรวมและผู้สูงอายุยังไม่ได้มองไปถึงจุดนั้น 

     3.ปฎิรูปการเรียนรุ้แบบพลิกโฉม ซึ่งตรงกับของการปฎิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นการปรับเรียนการสอน รวมถึงการใช้ดิจิตอลให้เกิดประโยชน์ทั้งในการพัฒนาผู้เรียน พัฒนาครู และการสอบ 

        4.พัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ ถือเป็นเรื่องการนำไปสู่ความเป็นเลิศ  ซึ่งหากประเทศไทยก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 เป็นประเทศที่สามารถแข่งขันได้ ทางการปฎิรูปการศึกษามีการดำเนินการเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว ไม่ใช่มองเพียงเรื่องความเหลื่อมล้ำเท่านั้น เช่น  การปฎิรูปโรงเรียนนิติบุคคล  ให้โรงเรียนมีอิสระ มีความเป็นเลิศได้ รวมถึงอุดมศึกษาต้องเป็นเครื่องมือ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เป็นต้น

    5. การเสริมสร้างคนไทยให้มีสุขภาวะดี คือ สุขภาวะทางกาย จิตใจ และปัญญา ซึ่งในเรื่องปัญญา เข้ากับการศึกษา และ6.การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย ซึ่งการศึกษาเป็นการเตรียมคนให้มีความพร้อม  ดังนั้น การดำเนินการของกรรมการยุทธศาสตร์ฯ และคณะกรรมการอิสระฯ จะเป็นความร่วมมือประสานมากขึ้น และหวังว่ากรรมการยุทธศาสตร์ฯ จะช่วยให้การปฎิรูปมีบทบาทมากยิ่งขึ้น รวมถึงการแลกเปลี่ยนหารือถึงบทบาทรัฐและเอกชน ว่าควรมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

        "ทุกคนหวังให้ปฎิรูปการศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ประเทศไทยอยากได้ เพราะมองว่าเป็นคำตอบสุดท้าย แต่ต้องยอมรับว่าบางอย่างสิ่งที่กรรมการยุทธศาสตร์คิดอาจมองเป็นความฝัน ส่วน ปฎิรูปการศึกษาเป็นสิ่งที่อยู่บนดิน  ดังนั้น ปฎิรูปรอบนี้ไม่ใช่กระดาษ แต่จะเป็นของจริง"ศ.นพ.จรัส กล่าว 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ