Lifestyle

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผ่านไป 30 ปีมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ ด้วยรักและห่วงใย 82 โรงใน 5 จังหวัดคือ หนองคาย หนองบัวลำพู อุดรธานี บึงกาฬ และปทุุมธานี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตนักเรียน

 

      โครงการด้วยรักและห่วงใยก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2530 ในพื่้นที่อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย ห่างจากตัวเมือง 234 กม.สภาพความเป็นอยู่แร้นแค้นแทบจะทุกด้าน ทำให้ อ.ศศิวิมล นพสุวรรณ อดีตอาจารย์โรงเรียนจิตรลดา ที่ติดตามสามีที่ย้ายมาเป็นปลัดอาวุโส อ.เซกา มาสอบบรรจุเป็นเข้ารับราชการครูที่จังหวัดหนองคาย

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร โรงเรียนอาโอยาม่า 2 จ.อุดรธานี

     และมาปฏิบัติราชการที่หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานประถมศึกษาอ.เซกา นำสิ่งของต่างๆที่คณะครูร.ร.จิตรลดา มอบให้ไปบริจาคแก่เด็กๆที่ขาดแคลน และนำเงินไปจัดทำอาหารกลางวันให้นักเรียนที่ขาดแคลนฟรี โดยมีเงื่อนไขว่าให้ฝึกนักเรียนเหล่านั้นช่วยเหลือโรงเรียน เช่นงานปัดกวาดเช็ดถู ดูแลห้องสมุด ล้างชาม ระยะแยกมีโรงเรียนเข้าร่วม 12 แห่ง

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

 

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร     โรงเรียนอาโอยาม่า 2 จ.อุดรธานี

       ต่อมาความทราบถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสสยามบรมราชกุมารี จึงโปรดเกล้าให้ อ.ศศิวิมล นพสุวรรณ เข้าเฝ้าถวายรายงานสภาพความเป็นอยู่ของเด้กๆ หลังรับฟังการถวายรายงานและทอดพระเนตรภาพถ่ายชีวิต ประกอบกับพระองค์เคยเสด็จเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนบ้านโนนสำราญ ในพื้นที่อำเภอเซกา เมื่อปี 2527

     ด้วยพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ ทรงตรัสว่า “ฝากสตางค์ไปทำอาหารกลางวันให้เด็กที” และได้ทรงรับโครงการไว้ในพระอุปถัมภ์ภายใต้ชื่อโครงการว่า “โครงการด้วยรักและห่วงใย” จึงเกิดโครงการด้วยรักและห่่วงใยจากน้ำพระราชหฤทัยนับแต่นั้นเป็นต้นมา และในครั้งแรกได้พระราชทานทรัพย์จำนวน 60,000 บาท คณะข้าราชบริพารและผู้ใกล้ชิดโดยเสด็จพระราชกุศลอีก 33,470 บาท และชาวอ.เซการ่วมเดินการกุศลถวายอีก 29,146,50 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 122,616,50 บาท

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

  โรงเรียนอาโอยาม่า 2 จ.อุดรธานี

      ผ่านไป 30 ปีมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 82 โรงใน 5 จังหวัดคือ หนองคาย หนองบัวลำพู อุดรธานี บึงกาฬ และปทุุมธานี โรงเรียนทุกแห่งมี 6 ภาระกิจประกอบด้วย โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา โครงการฝึกอาชีพ โครงการส่งเสริมกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน และโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งหมดนี้ต้องทำควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร โรงเรียนอาโอยาม่า 2 จ.อุดรธานี

      "โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการต้องทำงานหนักมากกว่าโรงเรียนอื่น 100 เท่า ทั่้งภาระกิจจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน การสนองงานพระองค์ท่านในโครงการแต่พวกเราคณะครูอาจารย์ทุกคนก็ทำเต็มที่ด้วยความสุข ต้องอาศัยเครือข่ายต่างๆทุกภาคส่วนของหน่วยงานราชการเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้งานทุกอย่างเป็นไปตามวัตถุประสงค์ นักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวหย่าร้างอาศัยอยู่กับปู่ย่าพ่อแม่ไปทำงานในเมือง โรงเรียนต้องเป็นที่พึ่งของเด็กนักเรียน สอนให้พวกเขาเรียนและมีอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ส่วนใหญ่เด็กที่จบไปก็จะไปเรียนต่อสายอาชีพ 70 สามัญ 30 " สามารถ ด้วงคำน้อย ผอ.โรงเรียนอาโอยาม่า 2 จ.อุดรธานี วัย 53 ปี กล่าว

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

โรงเรียนอาโอยาม่า 2 จ.อุดรธานี

       โรงเรียนอาโอยาม่า 2 มีเปิดสอนระดับอนุบาล ถึง ม.3  เป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีนักเรียน 312 คนครู 16 คน รวมลูกจ้าง 25 คน จัดการเรียนการสอนวิชาชีพผ่าน 20 ชมรม เพื่อเน้นให้นักเรียนมีพื้นฐานทางอาชีพในการเรียนต่อและเลี้ยงชีพหลังจบ ม.3 

     เช่นเดียวกับ ร.ร.บ้านนามั่ง  จ.อุดรธานี โรงเรียนขยายโอกาสอีก 1  แห่งที่เข้าร่วมโครงการก็เน้นจัดการศึกษาวิชาชีพเช่นกัน เพื่อให้นักเรียนมีอาชีพและเลี้ยงตัวเองได้ ทุกวิชาที่เรียนผ่านฟาร์มต่าง และบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์ โดยมีครู 1 คนนักเรียน 3 คนรับผิดชอบฟาร์มหมุนเวียนเรียนรู้ทุกฟาร์มที่อยู่ในโรงเรียนแห่งนี้เมื่อมีรายได้ก็นำมาใช้จ่ายหมุนเวียนในโรงเรียนและปันผลให้กับผู้รับผิดชอบบริหารจัดการในแต่ละฟาร์ม

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

    ร.ร.บ้านนามั่ง  จ.อุดรธานี

 “ที่นี่มีฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ เลี้ยงปลา เป็นอาหารกลางวัน ผลผลิตที่มีมากพอก็นำไปขายเพื่อนำรายได้มาหมุนเวียนในโรงเรียน แต่ละฟาร์มมีเงินหมุนเวียนประมาณ 50,000-60,000บาท และทุกครั้งที่ทำโครงการต่างๆนักเรียนทุกคนจะต้องถอดบทเรียนวิเคราะห์ว่าพอเพียงหรือไม่ มีเหตุมีผลหรือไม่ กระทบกับสังคม และวัฒนธรรม หรือไม่ ถ้ามีคำถามหรือเหตุต้องปรับปรุงแก้ไขก็ว่าไปตามที่มาของปัญาและแก้ไขตามเหตุและผลตามหลักคำสอนของพ่อ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่นำมาสอนนักเรียนในการดำรงชีวิต” สมร ศิลาคม ผอ.โรงเรียนบ้านนามั่ง อธิบาย 

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

     ร.ร.บ้านนามั่ง  จ.อุดรธานี

     โรงเรียนแห่งนี่มี ครู 17 คนนักเรียน 269 ก่อนหน้านี้นางสมร สอนอยู่ที่โรงเรียนอุดรธานีพิทยาคม ต่อมาภายหลังย้ายมาอยู่โรงเรียนบ้านนามั่ง เพราะมีความมุ่งมั่นอยากทำ “โครงการด้วยรักและห่วงใย” ซึ่ง 4 ปีที่ผ่านมาได้ทำตามความฝันที่ตั้งใจไว้แล้ว 

      “โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ยากจน และทุพโภชนาการ คือโครงการที่อยู่ในโครงการด้วยรักและห่วงใย ฉะนั้นการเดินตามรอยของพระองค์ท่านที่ทรงให้ไว้คือทางรอดของการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นช่วยให้นักเรียนได่มีอาชีพ และมีความรู้สามารถจัดการชีวิตของพวกเขาได้และได้สนองงานของพระองค์ท่าน นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับโรงเรียนต่างๆที่มาศึกษาดูงานและชุมชนต่างๆได้ด่วย วันนี้ถือว่าได้ทำตามความตั้งใจสูงสุดของชีวิตแล้ว” ผอ.โรงเรียนบ้านนามั่ง กล่าว

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

   ร.ร.บ้านนามั่ง  จ.อุดรธานี

      นอกจากนี้โรงเรียนบ้านนามั่ง ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่ง ผอ.สมร บอกว่าได้ใช้หลักคำสอนของพ่อ 9 ประการในการบริหารจัดการโรงเรียน กล่าวคือ  1. ความเพียร 2. ความพอดี 3. ความรู้ตน 4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ 5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ6. พูดจริง ทำจริง 7. หนังสือเป็นออมสิน 8. ความซื่อสัตย์ และ 9. การเอาชนะใจตน

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

  ร.ร.บ้านนามั่ง  จ.อุดรธานี

     "เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน" นี่คือหลักคำสอนที่นำมาใช้สอนนักเรียนทุกคนของโรงเรียนบ้านนามั่งให้เป็นคนดี

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

     ร.ร.บ้านนามั่ง  จ.อุดรธานี

 ในการนี้เมื่อวันที่ 14 พย.ที่ผ่านมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมโรงเรียนทั้ง 2 แห่งนำความปลาบปลื้มกับผู้อำนวยการโรงเรียนทั้งสองคณะครูและนักเรียนเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

ด้วยรักและห่วงใย ยกระดับชีวิตนร.ถิ่นทุรกันดาร

                   ร.ร.บ้านนามั่ง  จ.อุดรธานี

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ