Lifestyle

อีก5-10ปีจักรกลอัตโนมัติมาแรง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ในอนาคต 5 - 10 ปีข้างหน้า พบว่า กว่าร้อยละ 70 ของแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีความเสี่ยงที่จะถูกแทนที่โดยจักรกล

 

 

     โลกยุคใหม่เปลี่ยนแปลงขนานใหญ่  แถมเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมากมาย อย่าง เทคโนโลยี หุ่นยนต์ จักรกลอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ ทำให้งานหลายอย่างที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจไม่เป็นที่ต้องการในอนาคต   ไปติดตามกับ 0 ชุลีพร อร่ามเนตร 0 คมชัดลึกออนไลน์ 

อีก5-10ปีจักรกลอัตโนมัติมาแรง

      ขณะเดียวกันโอกาสการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ใหม่ก็ขยายขอบเขตขึ้น ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าและการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ อาชีพใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่างเรียกร้องให้ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่

     เมื่อโลกเปลี่ยน ห้องเรียน การศึกษาก็ต้องปรับ เพื่อรับมือ ในงานเสวนาทางวิชาการ Job  Security and Human Skills in the Age of Automation “ความมั่นคงทางอาชีพและทักษะที่จำเป็นของมนุษย์ในยุคจักรกลอัตโนมัติ” จัดโดย บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ จัดเห็นเพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบจากเทคโนโลยีที่มีต่อความมั่นคงทางอาชีพ และคิดหาทางออกร่วมกัน เพื่อเตรียมเยาวชนรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือกับอนาคต และมีชีวิตอยู่รอดในโลกที่ไม่เหมือนเดิม

อีก5-10ปีจักรกลอัตโนมัติมาแรง

   วาริท จรัณยานนท์ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์แรงงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตลาดแรงงานในยุคจักรกลอัตโนมัติในช่วงทศวรรษหน้า ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาจำเป็นต้องหันมาใส่ใจกับความมั่นคงทางอาชีพและทักษะที่จำเป็นสำหรับเยาวชนรุ่นใหม่ 

อีก5-10ปีจักรกลอัตโนมัติมาแรง

   วาริท จรัณยานนท์

  “โลกกำลังก้าวเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ นวัตกรรมใหม่ๆ ถูกคิดค้นขึ้น เพื่อทำงานที่เคยต้องใช้แรงงานมนุษย์ ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ ดังนั้น เด็กรุ่นใหม่จึงจำเป็นต้องมีทักษะที่เครื่องจักรกลยังไม่สามารถเรียนรู้ได้ นั่นคือ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และการคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือที่นักการศึกษาเรียกว่าทักษะศตวรรษที่ 21 รวมถึงการเรียนการสอนต้องทำให้เด็กรู้จักการปรับตัว เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา และรู้ถึงศักยภาพ ความชอบ ค้นพบตัวเอง ค้นพบอาชีพที่ตนเองต้องการได้”

   จากการลงพื้นที่ทำงานร่วมกับโรงเรียนทั้งในเมืองและชนบท ร่วมยกระดับการพัฒนาครู และนักเรียนในโครงการ “Samsung Smart Learning Center ซัมซุง สร้างพลังการเรียนรู้สู่อนาคต” นายวาริท กล่าวต่อว่าเด็กไทยเป็นมีความเก่งไอซีที เขาเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่ทางโรงเรียน หลักสูตรยังไม่ได้เติมเต็มให้แก่พวกเขามากพอ คือการปรับตัว คิดเชิงวิพากษ์ การสื่อสาร การทำงานความกับผู้อื่น ความคิดสร้างสรรค์ โดยทุกฝ่ายต้องเร่งพัฒนากระบวนการปลูกฝังทักษะศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นหลักประกันว่าเยาวชนไทยจะสามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นได้ 

อีก5-10ปีจักรกลอัตโนมัติมาแรง

      ปี 2016 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ได้เผยแพร่งานวิจัยในหัวข้อ “อาเซียนในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน: เทคโนโลยีจะเปลี่ยนตลาดงานและธุรกิจไปอย่างไร” (ASEAN in Transformation: How Technology is Changing Jobs and Enterprises)

      ซึ่งนำเสนอข้อมูลเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีต่อ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ 1. ยานยนต์   2. ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3. สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า 4. รับเหมาช่วง (Business process outsourcing)   และ 5. ค้าปลีก   

อีก5-10ปีจักรกลอัตโนมัติมาแรง

    จากงานวิจัยดังกล่าว ในอนาคต 5 - 10 ปีข้างหน้า พบว่า กว่าร้อยละ 70 ของแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะถูกแทนที่โดยจักรกลอัตโนมัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายงานประกอบชิ้นส่วนและสายงานทักษะต่ำ ในอุตสาหกรรมค้าปลีก ร้อยละ 68 ของแรงงานในประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยเช่นกัน

     สอดคล้องกับรายงานขององค์กรหุ่นยนต์นานาชาติ (International Federation of Robotics : IFR) ที่คาดการณ์ว่า ในปี 2562 โรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลกจะมีการติดตั้งหุ่นยนต์และจักรกลอัตโนมัติกว่า 1.4 ล้านเครื่องงานวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องพัฒนาทักษะ STEM ในหมู่แรงงานทั่วไป ขณะที่การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ  Big data analytics Internet of Things และการตลาดดิจิทัล (Digital marketing) ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดงานในภูมิภาคอาเซียน

อีก5-10ปีจักรกลอัตโนมัติมาแรง

 รศ.ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา

     รศ.ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าเทคโนโลยี จักรกล มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและคนอย่างมหาศาล ซึ่งหลายคนอาจกล่าวว่าใช้ประสบการณ์เป็นเครื่องในการเรียนรู้ หรือแก้ไขปัญหา อ แต่ตอนนี้อาจจะไม่สามารถทำได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็ว  ซับซ้อน หรือมีความขัดแย้งในตัวเอง ถ้าเราไม่พร้อมรับมือ ไม่ปรับตัวทำให้เกิดความลำบากในการทำงาน   อีกทั้งเทคโนโลยีทำให้บางอาชีพหายไป และทดแทนด้วยอาชีพใหม่ๆ ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาและภาคเอกชนต้องหาทางออกในเรื่องนี้ร่วมกัน  หากปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐอาจช้าเกินไป 

   รศ. แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าเครื่องจักรไม่ได้เป็นศัตรูของคน เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหากไม่มีกลไกที่เข้ามาช่วยจัดสรรความเจริญจากเทคโนโลยี และหลักประกันว่าแรงงาน มีอำนาจต่อรองที่เป็นธรรมหรือไม่  เข้าถึงประโยชน์ และแบ่งปันประโยชน์อย่างทั่วถึงอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ

อีก5-10ปีจักรกลอัตโนมัติมาแรง

 รศ. แล ดิลกวิทยรัตน์  

      “หลายครั้งที่ทุกคนบอกว่าเรามีทางเลือก ถ้ารู้จักปรับตัว แต่ในความเป็นจริงถ้าเราเป็นนักเรียน เราสามารถเลือกเรียนในทิศทางที่มีอนาคตจริงๆ หรือไม่ หรือถ้าเราเป็นแรงงาน แรงงานสามารถเลือกฝึกฝน เพิ่มเติมทักษะแรงงาน อัพเกรดตัวเองได้หรือไม่ เพราะโลกแห่งความเป็นจริง การพัฒนาแรงงาน มักถูกจำกัดด้วยหลายเงื่อนไข และแรงงานเองก็มีพันธะที่รัดตัว เหนี่ยวรั้งไม่ให้ปฏิบัติ พัฒนาตนเองได้  การเพิ่มทักษะต่างๆ ให้แก่แรงงานอย่ามองว่าอยู่ในสุญญากาศ ต้องมองว่าเราอยู่ในสังคมที่มีพันธะมากมายรัดตัวไว้ การศึกษา รัฐบาล ภาคเอกชนทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องนี้ ให้เข้าถึงความเป็นไปได้” รศ. แล กล่าว

อีก5-10ปีจักรกลอัตโนมัติมาแรง

     การเตรียมตัวแรงงานสู่ยุคจักรกลอัตโนมัติ มี 2 เรื่องที่ต้องทำ คือ 1.องค์กรลูกจ้าง สหภาพแรงงานมีส่วนร่วมมากน้อยขนาดไหน ให้โอกาสตัวแทนแรงงานทั้งในการกำหนดทิศทาง หลักสูตร และอัตราผลตอบแทน  2.รัฐต้องดูแล ชดเชยแรงงานที่ต้องสูญเสียโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ต้องทำการเลิกจ้างให้มีราคาที่แพงมากขึ้น เพื่อให้สถานประกอบการเน้นการเพิ่มเติมทักษะแก่แรงงานรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง เพราะถ้าการเลิกจ้างถูกก็ทำให้เกิดตกงานมากยิ่งขึ้นความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีต้องเป็นสิ่งที่ส่งเสริมคุณภาพของมนุษย์ ไม่ใช่สิ่งที่คุกคามมนุษย์ 

      ดังนั้น ภาครัฐต้องข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการที่ส่งเสริมให้แรงงาน ทรัพยากรบุคคลของประเทศรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น , ภาคการศึกษาต้องร่วมผลิต สร้างทักษะที่จำเป็นของคนในยุคจักรกลอัตโนมัติ และภาคเอกชน  ร่วมพัฒนาศักยภาพ ทักษะของแรงงาน กลไกเหล่านี้ต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน  

                                     

อีก5-10ปีจักรกลอัตโนมัติมาแรง  

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ