Lifestyle

ที่นี่ประเทศไทยพื้นขาวกากบาทแดงไม่ปลอดภัย??

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บ่อยครั้งขึ้นกับเหตุความรุนแรงในรพ. โดยเฉพาะด่านหน้าอย่าง”ห้องฉุกเฉิน”ทั้งๆ”ที่มีสัญลักษณ์เป็นพื้นขาวกากบาทแดงควรเป็น “พื้นที่สันติ"..0พวงชมพู ประเสริฐ รายงาน0

        การก่อเหตุต่อผู้เจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษา และกระทำความรุนแรงต่อบุคลากรทางการแพทย์ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ นั้นแม้ยามศึกสงคราม พื้นที่สัญลักษณ์ขาวกากบาทแดงนั้นเป็นที่รับรู้โดยทั่วกันว่าเป็น “พื้นที่สันติ”!!! 

       ล่าสุดเกิดเหตุอุกอาจที่รพ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ และรพ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคา เมื่อคืนวันลอยกระทง ปี 2560 กลุ่มวัยรุ่นได้บุกเข้าไปทำร้ายคู่อริถึงในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล

ที่นี่ประเทศไทยพื้นขาวกากบาทแดงไม่ปลอดภัย??

     หลังจากที่คู่อริได้รับบาดเจ็บและเข้ารักษาตัว สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้ป่วยคนอื่นที่อย่ระหว่างการรอรับการรักษาและสร้างความวุ่นวายในการปฏิบัติหน้าที่แก่เจ้าหน้าที่ แม้จะโชคดีที่ไม่มี “ลูกหลง”ได้รับอันตรายจากเหตุนี้ เพียงแต่คู่อริได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น

     หรือในปีเดียวกันก็มีปรากฏเหตุรุนแรงเช่นกัน ดังที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)แห่งหนึ่งในอ.เซกา จ.บึงกาฬ โจ๋วัย 17 ปี ขี่รถจักรยานยนต์เข้าไปในรพ.สต.อ้างว่าปวดศีรษะจึงร้องเรียกให้พยาบาลสาวที่นอนพักอยู่ในห้องนอนออกมาจ่ายยาแก้ปวดให้

     ขณะที่กำลังเดินตามทางจะไปห้องจ่ายยาได้ฉวยโอกาสเข้าทำร้ายชกต่อยเข้าที่หน้าท้องหมายจะข่มขืน แต่พยาบาลสาวต่อสู้และรอดพ้นอันตรายมาได้

ที่นี่ประเทศไทยพื้นขาวกากบาทแดงไม่ปลอดภัย??

      ก่อนหน้านั้นปี 2558 ญาติคนไข้เข้าทำร้ายพยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี โดยขณะที่พยาบาลและแพทย์ได้ทำการรักษาผู้ป่วยที่บาดเจ็บทางสมอง และรอให้ขึ้นนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ระหว่างทำการอธิบายให้พ่อแม่คนไข้เข้าใจอาการอยู่นั้น ได้มีญาติ 2 คน ซึ่งมาทีหลังไม่พอใจที่คนไข้รอรับบริการนาน และพยาบาลไม่เอากระโถนมาให้ผู้ป่วยอาเจียน เป็นต้น

    เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า โรงพยาบาลในประเทศไทยนั้น บางแห่ง บางช่วงเวลา มีความเสี่ยงอันตรายเสียยิ่งกว่ายามเกิดศึกสงคราม เพราะตามหลักสากลแล้วในยามที่เกิดสงคราม จะไม่มีการทำอันตรายบุคลากรทางการแพทย์และหน่วยรักษาพยาบาล

ที่นี่ประเทศไทยพื้นขาวกากบาทแดงไม่ปลอดภัย??

     ทั้งนี้สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) เคยเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหานี้ไว้ว่า กรณีเฉพาะหน้าซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ได้แก่ การสั่งการให้แต่ละโรงพยาบาลมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่มีจำนวนเพียงพอและมีศักยภาพในการคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ มีกล้องวงจรปิดที่ใช้งานได้ มีปุ่มแจ้งเหตุฉุกเฉิน มีระบบคัดกรองตรวจจับอาวุธและโลหะก่อนเข้าเขตโรงพยาบาล มีระบบป้องกันการบุกรุกเข้าโรงพยาบาล

      ส่วนระยะกลาง คือ 1.จัดตั้งคณะทำงาน คุ้มครองบุคลากรที่ได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีตัวแทนของผู้ปฏิบัติงานอยู่ด้วย 2.จัดระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ทำร้ายบุคลากรทางการแพทย์ มีการรายงานสถิติทุกเดือนหรือทุกไตรมาส รายงานต่อ คณะทำงาน คุ้มครองบุคลากรฯ 3.จัดตั้งระบบการชดเชยและเยียวยาความเสียหายทั้งร่างกายและจิตใจ ที่เหมาะสมและรวดเร็ว ไม่ต้องรอให้บุคลากรไปฟ้องร้องเอากับผู้กระทำผิด และ รวมถึง การปูนบำเหน็จในกรณีที่เสียชีวิตพิการจากการปฏิบัติหน้าที่ 

ที่นี่ประเทศไทยพื้นขาวกากบาทแดงไม่ปลอดภัย??

      4.คณะทำงาน คุ้มครองบุคลากรฯ ควรมีหน้าที่ ผลักดันและพัฒนาให้เกิดระบบความปลอดภัย ไม่ใช่แต่เฉพาะการทำร้ายร่างกาย รวมถึงความปลอดภัยในรถพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วย การติดเชื้อจากผู้ป่วยและเรื่องอื่นๆ และ5.เพิ่มอัตราโทษสำหรับผู้ทำร้ายบุคลากรทางการแพทย์ทั้งทางแพ่งและทางอาญา

     และในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 แพทยสภาจะจัดสัมมนา เรื่อง “วิกฤติ คุกคาม ความรุนแรงในโรงพยาบาล ทางออกคืออะไร”

ที่นี่ประเทศไทยพื้นขาวกากบาทแดงไม่ปลอดภัย??

       อย่างไรก็ตาม คนไทยที่อยู่ในเหตุการณ์ จะมีส่วนช่วยเหลือได้เมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ หรือเมื่อเกิดเหตุขึ้นให้รีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาระงับเหตุโดยเร็วที่สุด เพื่อบรรเทาความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น อย่าเป็นแค่ “ไทยมุง”

     ขอคนไทยจดจำไว้ว่า “สถานพยาบาล”เป็นพื้นที่สันติแม้ยามศึกสงครามก็จะได้รับการละเว้น

      สธ.รุกมาตรการเข้มป้องกันเหตุ   นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงกรณีมีเหตุทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นในห้องฉุกเฉิน ที่รพ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร และรพ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ ช่วงเทศกาลลอยกระทงว่า ถือเป็นเหตุที่อุกอาจมากโดยเฉพาะที่โรงพยาบาลกระทุ่มแบนมีเสียงปืนดังขึ้นทำให้ประชาชนตื่นตกใจ จึงอยากวอนขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการกับกลุ่มคนก่อเหตุอย่างเฉียบขาด เพื่อเป็นแบบอย่าง ไม่ให้เกิดขึ้นอีก

ที่นี่ประเทศไทยพื้นขาวกากบาทแดงไม่ปลอดภัย??

       หลังจากมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ได้มีการย้ำเตือนกับทุกโรงพยาบาลทุกแห่งถึงมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆ งานใหญ่ๆหรือคอนเสิร์ต ให้มีการเพิ่มเวรยาม 24 ชั่วโมง มีการตรวจสอบกล้องวงจรปิดให้พร้อมใช้งาน ครอบคลุมทั่วโรงพยาบาลและให้ผู้อำนวยการทุกโรงพยาบาลประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือทหารขอกำลังดูแลรักษาความปลอดภัยเป็นกรณีเฉพาะ

      “อยากวิงวอนขอร้องประชาชน ในโรงพยาบาลโดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาลหรืองานใหญ่จะมีคนมาใช้บริการรับการรักษาพยาบาลจำนวนมาก เจ้าหน้าที่จะยุ่งในการทำงานมากขึ้นโดยเฉพาะที่ห้องฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุรุนแรงขึ้นอีก จะยิ่งทำให้การดูแลคนไข้เป็นไปด้วยความลำบากมากขึ้น เพราะห้องฉุกเฉินก็มีพื้นที่จำกัดอยู่แล้ว และในช่วงเวลาดังกล่าวได้ย้ำให้รพ.ในเมืองพยายามประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารมาช่วยดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งจะได้ผลมาก เพราะบางครั้งเพียงเห็นเครื่องแบบเจ้าหน้าที่คนก่อเหตุก็ไม่กล้าแล้ว”นพ.เจษฎากล่าว

      นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า ในปี 2560 สธ.มอบหมายให้กรมการแพทย์ดำเนินการในเรื่องการพัฒนาห้องฉุกเฉินคุณภาพ แม้เดิมจะมีมาตรฐานดีอยู่แล้ว แต่จะพัฒนาให้ดีและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งโรงพยาบาลบางแห่งได้ดำเนินการแล้ว อาทิ บางแห่งสถานที่คับแคบก็ได้มีการปรับเปลี่ยน จัดวางหมวดหมู่ใหม่ เพื่อให้สามารถดูแลคนไข้ได้มากขึ้นและมีความปลอดภัยทั้งผู้มารับบริการและผู้ให้บริการ

ที่นี่ประเทศไทยพื้นขาวกากบาทแดงไม่ปลอดภัย??

    รวมถึง มีมีมาตรการในการดูแลการเข้า-ออกห้องฉุกเฉิน บางแห่งใช้ประตูแบบคีย์การ์ด ระบบรหัส หรือปั๊มนิ้วมือถึงจะเข้าสู่ภายในได้ เป็นการป้องกันคนบุกรุกเข้าไปในห้องฉุกเฉิน

    “สถานพยาบาลเป็นที่รู้กันอยู่แล้วตามหลักสากลว่าเป็นพื้นที่ปลอดความรุนแรง แม้ในช่วงศึกสงครามก็ยังละเว้นที่สถานพยาบาลไว้เพราะเป็นที่รักษาคนเจ็บป่วย จึงอยากวอนขอคนไทยว่าให้ละเว้นความรุนแรงในสถานพยาบาล”นพ.เจษฎากล่าว

     สำหรับการ เยียวยาบุคลากร   กรณีเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ได้รับอันตรายจากการที่มีผู้ก่อเหตุความรุนแรงในโรงพยาบาล นพ.เจษฎา บอกว่า ถือเป็นอันตรายจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ให้บริการจึงสามารถได้รับการเยียวยาได้

 

      การเยียวยาเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการทางการแพทย์กรณีได้รับความเสียหายจากการให้บริการตามคำสั่งม.44 ให้สามารถนำเงินหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองมาใช้กรณีนี้ได้และมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร 240,000-400,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต 100,000-240,000 บาท และ กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ไม่เกิน 100,000 บาท

ที่นี่ประเทศไทยพื้นขาวกากบาทแดงไม่ปลอดภัย??

      นอกจากนี้ นพ.เจษฎา บอกว่า ในระยะยาวจะมีการจัดทำระเบียบเพิ่มเติมให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน โดยได้ส่งให้แก่กระทรวงการคลังแล้ว ขณะนี้รอตอบกลับ ซึ่งในระเบียบจะกำหนดว่า หากเสียชีวิตจะได้รับการเยียวยา 4 แสนบาท พิการ 2.4 แสนบาท หากมีการติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน 1 แสนบาท และหากติดเชื้อในระดับรุนแรงน้อยลงและได้รับการรักษาในเวลา 20 วันจะได้รับเงินเยียวยา 5 หมื่นบาท ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ