Lifestyle

#ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป อารมณ์ไทยโซเชียลฯช่วงสวรรคตร.9

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นิเทศ จุฬาฯ เผยวิจัยภาพสะท้อนเชิงอารมณ์สื่อสังคมออนไลน์ในช่วงสวรรคตในหลวงรัชกาลที่ 9 ชี้ #ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป #ฉันเกิดในรัชกาลที่ 9 สะท้อนอารมณ์คนไทย

        การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่9  เมื่อเดือนตุลาคม2559 นับเป็นช่วงเวลาที่มีความอ่อนไหวและส่งผลต่อกระทบต่อจิตใจของคนไทยมากที่สุดในประวัติศาสตร์ 

        เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2560 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนา "สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์ความผูกพันของคนไทย จากสมเด็จย่าสู่ในหลวงรัชกาลที่ 9" โดยนำเสนอผลงานของคณาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ให้รับรู้ถึงความรัก ความผูกพัน และระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผ่านงานวิจัยในโลกโซเชียลมีเดีย 

        ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ และดร.แมททิว ฟิลลิปส์ คณะผู้วิจัยประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าถึงข้อมูลบทสนทนาของคนไทยที่เป็นภาษาไทยในสื่อสังคมออนไลน์ระหว่างวันที่ 12 ต.ค.2559- วันที่ 17 ต.ค.2559 ผ่านแพลตฟอร์มการพูดคุย ได้แก่ เฟสบุ๊ค อินสตราแกรม ทวิตเตอร์ ยูทูปและเว็บไซต์ข่าวจากสำนักข่าวทุกสำคัญ กล่าวถึงผลการศึกษาตอนหนึ่ง ว่า สื่อโซเซียลเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สะท้อนให้เห็นว่าคนคิดอะไรกันอยู่

       ซึ่งจากการศึกษาคณะผู้วิจัยได้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของบทสนทนาในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีลักษณะเป็นคลื่น ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค.2559 ที่เริ่มมีกระแสข่าวลือเกี่ยวกับพระอาการของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยปริมาณการสื่อสารขึ้นถึงขีดสุดในวันที่ 14 ต.ค.2559 ซึ่งเป็นหนึ่งวันหลังวันสวรรคตและลดลงตามลำดับในวันถัดมา 

        อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในเชิงปริมาณและเนื้อหาผ่านปริมาณคำที่ได้รับการจัดกลุ่มผ่านสัญลักษณ์ # ซึ่งเป็นภาษาของสื่อสังคมออนไลน์ในการจัดกลุ่มคำสำคัญในการสื่อสาร คณะวิจัยได้แบ่งการสื่อสารเป็นช่วงเวลา 

      ดังนี้ 1.ช่วงเกาะติดสถานกาณณ์ มีความน่าสนใจที่ไม่มีสื่อกระแสหลักรายงานข่าวดังกล่าวในวันที่ 12 ต.ค.2559 แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะที่การเคลื่อนไหวในสังคมออนไลน์มีเพียง 125 ข้อความ เมื่อเข้าสู่วันที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สวรรคตเห็นปริมาณการโพสเพิ่มขึ้นกว่า 15 เท่า

     รวมถึงการEngaement ของประเด็นดังกล่าวที่ผ่านการไลค์ แชร์ คอมเมนต์ที่พุ่งสูงขึ้นจากประมาณ 43,000 ไปสู่1.4 ล้าน อย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะช่วงแถลงการณ์ที่เป็นทางการตอน 19.00 น. สะท้อนการรอคอยข่าวและขอให้พระปกป้องคุ้มครอบในหลวงรัชกาลที่ 9 ดังจะเห็นข้อความ#ขออำนาจคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระสยามเทวาธิราชจงดลบันดาลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายจากพระอาการประชวรทั้งสิ้นทั้งปวงด้วยเทอญ#Longlivetheking#ทรงพระเจริญ

          ช่วงที่ 2 ขอมีส่วนร่วมและแสดงออก ช่วงนี้ปริมาณเนื้อหาพุ่งขึ้นสูงสุดวันที่ 14 ต.ค.ตั้งแต่เวลา 08.00-10.00 น. และเวลา 14.30 น. ซึ่งเป็นเวลาของการเคลื่อนขบวนพระบรมศพ  โดยเนื้อหาที่โพสในช่วงนี้จะเป็นเนื้อหาที่สะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก และแสดงออกซึ่งความห่วงหาที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 เช่น #ฉันเกิดในรัชกาลที่ 9 #ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป #อยากเก็บโพสต์นี้ไว้ในความทรงจำและแจ้งเตือนไปทุกปี นอกจากนี้ มีการติดแฮชแทคที่ระบุอัตลักษณ์ของผู้โพสต์เชื่อมโยงกับการที่ตนเองดำรงอยู่ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 สะท้อนขอบเขตของการกำหนดพื้นที่ความเป็นตัวตนของผู้โพสต์ให้คนอื่นได้รู้ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพระองค์ 

          ช่วงที่ 3 ระลึกถึง ปริมาณข้อความลดลงจากวันที่ 14 ต.ค.2559 เกือบ 3 เท่า ซึ่งแพลตฟอร์มเฟสบุ๊คเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงสุด เมื่อเข้าสู่วันที่ 17 ต.ค.2559 ซึ่งเป็นวันทำงาน ปริมาณข้อความจะกระจุกในช่วงเวลา 10.0 น.

      อย่างไรก็ตาม ข้อความในช่วงนี้จะมีลักษณะที่คลี่คลายอาการโศกเศร้าแต่ยังรำลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 ตาม # เช่น #ฉันเกิดในรัชกาลที่ 9 #ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป #หัวใจ 6 ดวงที่สะท้อนความรักที่ผู้โพสต์มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9

          คณะผู้วิจัย กล่าวต่อไปว่า ปรากฎการณ์การสื่อสารของคนไทยบนสื่อออนไลน์ในช่วงดังกล่าว เป็นกระแสการสื่อสารที่มีปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่ในช่วงหลังจากที่ได้รับข่าวสารทันทีทันใด แต่จะเกิดหลังจากได้รับข่าวดังกล่าวแล้วหนึ่งวัน โดยเนื้อหาจะสะท้อนการแสดงออกซึ่งความอาลัยและความจงรักภักดีของคนไทยที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยแพลตฟอร์มที่มีบทบาทต่อคนไทยมากที่สด คือ เฟสบุ๊ค  

     นอกจากนี้เนื้อหาการสื่อสารยังสะท้อนความเชื่อดั้งเดิมซึ่งเป็นรากทางวัฒนธรรมของไทย  อาทิ เรื่องชาตินี้ชาติหน้า ศาสนาพุทธ เป็นต้น อีกทั้งยังพบว่าการสื่อสารที่เป็นจุดแพร่กระจายข่าวนั้น แม้จะมีศูนย์กลางอยู่ที่สำนักข่าวกระแสหลักก็ตาม แต่สื่อสังคมออนไลน์ และผู้ใช้ทั่วไปก็มีบทบาทพอสมควรในการเป็นศูนย์กลางการกระจายข่าวต่อไป 

         ด้าน ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร อาจารย์ประจำภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง เปิดเผยถึงผลการศึกษาสาระสำคัญของพระนิพนธ์ "จดหมายเหตุชาวบ้านข่าวสมเด็จย่าสวรรคตจากหนังสือพิมพ์" ข่าวหนังสือพิมพ์ในสายพระเนตรสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ตอนหนึ่งว่า ทำการศึกษาโดยวิเคราะห์เอกสาร  ตั้งแต่ปกในและ จดหมายเหตุต่างๆ โดยคำนำจะบอกเล่2าถึงความรู้สึกประทับใจในช่วงสมเด็จย่าสวรรคต ไม่มีข่าวอาชญากรรม ข่าวเบา และตั้งข้อสังเกตุว่าสื่อมวลชนได้คัดลอกภาพและพระรานิพนธ์จำนวนมาก

         ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงที่ 1สัปดาห์แรกของการสวรรคต วันที่ 19 ก.ค.2538-23 ก.ค.2538  ซึ่งการนำเสนอข่าวการสิ้นพระชนม์เป็นข่าวหนักเหมือนกันทั้งหมด บริบทที่สำคัญในช่วงนี้ คือ การถือเอาประกาศสำนักพระราชวังเป็หัวเรื่องสำคัญในการนำเสนอข่าวการสิ้นพระชนม์ สะท้อนการเคารพและยึดถึอพระราชประเพณีปฏิบัติ ช่วงที่ 2วันที่ 24 ก.ค.2538-28 ก.ค.2538

     ช่วงเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 ของการสิ้นพระชนม์ การประกอบพระราชพิธีธรรม บำเพ็ญพระราชกุศล แะมีการเปิดให้เข้ากราบพระบรมศพในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทภายหลังพ้น 7 วันไปแล้ว และช่วงที่ 3 วันที่ 29 ก.ค.2538-3 ส.ค.2538 ห้วงเวลาการนำเสนอภาพของชายขอบหรือคนในส่วนภูมิภาคกลุ่มชนเผ่า ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส รายงานจำนวนพสกนิกร ประชาชนที่หลั่งไหลมาสักการะพระบรมศพ รายงานข้อมูลเกี่ยวกับพระราชพิธี ที่จะดำเนินการต่อไป 

          ดร.ประภัสสร กล่าวอีกว่า 700 กว่าหน้าของจดหมายเหตุทั้ง 2 ฉบับ สรุปสาระหลักของการนำเสนอข่าวการสวรรคตของสมเด็จย่า เป็นไปในลักษณะเชิดชูและสรรเสริญ โดยนำเสนอ ดังนี้ 1.สาเหตุของการสิ้นพระชนม์ คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับการแจ้งถึงพระอาการประชวรตั้งแต่แรกเริ่ม ในอดีต ลำดับการพระอาการ และพระอาการสุดท้ายที่นำมาซึ่งการสิ้นพระชนม์                  2.ความโศกเศร้าและความสูญเสีย คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องความรู้สึก อารมณ์ของกลุ่มคนต่างๆ ที่มีต่อการสิ้นพระชนมพ์ของสมเด็จย่า 3.พระราชประวัติ คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพระประวัติของสมเด็จย่าตั้งแต่ต้นจนถึงปลายของชีวิต รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านจากสามัญชนสู่พระบรมวงศานุวงศ์ มีการหยิบยกพระราชนิพนธ์จำนวนมากแต่ขาดการอ้างอิง

         4.การถวายความอาลัยและไว้ทุกข์ คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับกิจกรรม การสื่อสารเพื่อการแสดงความไว้อาลัย การไว้ทุกข์ของกลุ่มคนต่างๆ แนวปฏิบัติในการไว้ทุกข์ 5.พระราชกรณียกิจ คือ ข้อมูลที่แสดงถึงพระกรณียกิจ ผลงาน งานอดิเรก สถานที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจบุคคลที่ถวายงานสมเด็จย่า และ6. พระราชพิธี คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับพระราชพิธี พระพิธีที่จะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้น สืบเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จย่า

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ