Lifestyle

กระแสรับสั่งในหลวง“แก้วิกฤติคุณภาพคน”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แนวทางการปฏิรูปการศึกษา “ให้เด็กที่เรียนเก่ง สอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า” ซึ่งเป็นส่วนของการศึกษาในชั้นเรียน และโครงการ “สถานศึกษาพอเพียง”

       “การศึกษาไทยอยู่ในอันดับที่ 8 ในกลุ่มประเทศอาเซี่ยน” เป็นหนึ่งในข้อมูลที่ชี้ชัดว่า การศึกษาของประเทศอยู่ในภาวะวิกฤติ ซึ่งหมายถึงคุณภาพของคนวิกฤติ และหมายถึงประเทศอยู่ในภาวะวิกฤติ เพราะคนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ซึ่งที่ผลออกมาเช่นนี้เพราะ ในการทดสอบวัดคุณภาพการศึกษา เขาวัดกันด้วยการศึกษา 4.0 แต่การเรียนการสอนของประเทศไทยยังเป็นการศึกษา 1.0

         “ให้ครูสอนให้เด็กมีน้ำใจต่อเพื่อน ไม่ให้แข่งขันกัน แต่ให้แข่งขันกับตัวเอง ให้เด็กที่เรียนเก่ง สอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า” เป็นกระแสรับสั่งซึ่งกลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของมูลนิธิยุวสถิรคุณ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดกับผู้เรียนจะเหนือกว่าขั้นสูงสุดของปิรามิดการเรียนรู้ โดยนอกเหนือจากความรู้จะติดตัวไปกับผู้ที่ทำหน้าที่สอนคนอื่นกว่า90%แล้ว สิ่งที่จะตามมาคือ ความรัก ความสามัคคีซึ่งจะนำไปสู่การช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นการสร้างชุมชนและสังคมที่อบอุ่นและเข้มแข็งตามวิถีไทยที่ประมาณค่าไม่ได้

กระแสรับสั่งในหลวง“แก้วิกฤติคุณภาพคน”

        ดร.สุพจน์ หารหนองบัว  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า แนวทางการแก้วิกฤติคุณภาพคน เป็นกระแสรับ สั่งซึ่งแสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านการศึกษาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งพระองค์ทรงเป็นยิ่งกว่านักการศึกษาโดยกระแสรับสั่งดังกล่าว ได้กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของมูลนิธิยุวสถิรคุณ ที่ทรงให้จัดตั้งขึ้นในปี 2557 เพื่อปฏิรูปการศึกษาของประเทศ

       โครงการ “สถานศึกษาพอเพียง” มูลนิธิยุวสถิรคุณ เพื่อการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ เป็นยิ่งกว่า (beyond) การศึกษา 4.0 เพราะเป็นการนำสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน นำปัญหาและนำภูมิปัญญาชาวบ้าน ไปพูดคุย ปรับปรุงหรือต่อยอดในโรงเรียน หรือนำไปทำวิจัยเชิงลึกในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาชุมชนและทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเริ่มต้นที่เยาวชน นั่นหมายถึงความมั่นคงและยั่งยืนของประเทศ

 

กระแสรับสั่งในหลวง“แก้วิกฤติคุณภาพคน”

ดร.สุพจน์ หารหนองบัว

      จะเห็นได้ว่า แนวทางการปฏิรูปการศึกษา “ให้เด็กที่เรียนเก่ง สอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า” ซึ่งเป็นส่วนของการศึกษาในชั้นเรียน และโครงการ “สถานศึกษาพอเพียง” ซึ่งเป็นส่วนของการศึกษานอกชั้นเรียน ถือเป็นอัจฉริยภาพด้านการศึกษาที่ยิ่งกว่าการศึกษา 4.0 เพราะนอกจากจะเป็นวิธีที่จะทำให้ความรู้เหลือติดตัวผู้เรียนไปมากกว่า 90% ตามปิรามิดการเรียนรู้และไม่แยกโรงเรียนออกจากชุมชนแล้ว 

      ยังจะก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง ซึ่งถือได้ว่าเป็นทฤษฎีหรือปรัชญาที่มีความยิ่งใหญ่และสำคัญต่อประชาชนชาวไทยและต่อประชาคมโลก ไม่แตกต่างไปจากทฤษฎีหรือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเลยทีเดียว ดังนั้น คนที่รักพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงควรน้อมนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะนั่นคือ ทางรอดทางเดียวในการแก้ปัญหาวิกฤติคุณภาพคนของประเทศ

กระแสรับสั่งในหลวง“แก้วิกฤติคุณภาพคน”

 

      ดร.สุพจน์ อธิบายว่า การศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการจาก 1.0 คือ เป็นแบบครูเป็นคนป้อนความรู้ ขยับมาเป็น 2.0 เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ที่เริ่มมีคอมพิวเตอร์เข้ามา จะขึ้นมาถึงระดับที่ให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยตัวเองได้ ขึ้นมาที่ 3.0 จะเป็นการตั้งความหวังไว้ที่ผู้เรียนค่อนข้างสูง คือขึ้นมาในระดับที่ผู้เรียนสร้างความรู้เองได้ และมา 4.0 คือผู้เรียนสร้างนวัตกรรมได้ แต่ตอนนี้การเรียนการสอนของเรา ไม่ว่าจะเป็นในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาหรือในระดับอุดมศึกษา ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นวิธีการป้อนความรู้ จะมีบ้าง บางส่วนที่นักเรียนสามารถหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง ฉะนั้นถ้าจะให้คะแนน ก็คงให้ไม่เกิน 1.5     

     อย่างไรก็ตาม ในโลก 4.0 สิ่งต่างๆ มันผ่านไปอย่างรวดเร็ว เข้ามาและออกไป เพราะฉะนั้นการที่เรียนรู้แต่ในตำราอย่างเดียว ไม่สามารถเท่าทันการพัฒนาที่เกิดขึ้นได้ ต้องมีนวัตกรรมเป็นของตัวเองที่ขายได้ถึงจะอยู่รอด

 

กระแสรับสั่งในหลวง“แก้วิกฤติคุณภาพคน”

เบล - จรัญยา กิตติไพศาลนนท์

     "เบล-จรัญยา กิติไพศาลนนท์" นศ.ปี 2 คณะบริหารธุรกิจ สาขาบัญชี ม.หอการค้าไทย บอกว่า การเรียนที่แท้จริงคือผู้จัดการศึกษาต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงออกในสิ่งที่จะดึงความสามารถออกมาให้มากที่สุด โดยไม่มีการปิดกั้นเพื่อส่งเสริมและดึงศักยภาพของผู้เรียนออกมาให้เป็นนวัตกรรมให้ได้ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างรายได้และสร้างองค์ความรู้มาพัฒนาได้่อย่างต่อเนื่องในที่สุด

     ปัจจุบัน เบล เป็นหนึ่งในกลุ่มสตาร์ทอัพ ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจส่งออก ผลิตภัณฑ์จากยางพาราของไทย อย่าง หมอน ที่นอน แบรนด์ “ไทยรัญยา” ในขณะที่ยังใช้ชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในห้องเรียน โดยต้นปี 2560 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้จัดโครงการประกวดผลงานของนักศึกษา โดยนำสินค้าที่นักศึกษามีอยู่มาแข่งขันกัน โดยนำเสนอเพื่อให้ต่อยอดเข้าสู่ระบบออนไลน์ 

กระแสรับสั่งในหลวง“แก้วิกฤติคุณภาพคน”

     “เบล” เป็นหนึ่งใน 14 คน ที่สามารถชนะการประกวด Young Ali Hero เพื่อนำนักศึกษาเหล่านี้ ไปศึกษาดูงาน ที่สำนักงานใหญ่ Alibaba Group ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน ทำให้ได้รู้ถึงวัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมการทำงานของ Alibaba ได้เรียนรู้เรื่องออนไลน์ รวมถึงความรู้จากมหาวิทยาลัยที่นั่น ซึ่งจัดให้นักศึกษา เข้ามาเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางของการค้าขายออนไลน์   

     ปัจจุบัน เบล มีสินค้า แบรนด์“ไทยรัญยา” โดยทำร่วมกับหุ้นส่วนชีวิต “ณรงค์เดช ไชยลังกา” ที่เกิดขึ้นจากการได้ไปเห็นมุมมองการทำตลาด และสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้และนำสินค้าขึ้นไปขายออนไลน์บนเว็บ Alibabaได้ 

     ในโลก 4.0 สิ่งต่างๆ มันผ่านไปอย่างรวดเร็ว เข้ามาและออกไป เพราะฉะนั้นการที่เรียนรู้แต่ในตำราอย่างเดียว ไม่สามารถเท่าทันการพัฒนาที่เกิดขึ้นได้ ต้องมีนวัตกรรมเป็นของตัวเองที่ขายได้ถึงจะอยู่รอด

 

0 หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ 0

[email protected] 0

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ