Lifestyle

ปชช. 50.6% สับสนเส้นทางรถเมล์ใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บ้านสมเด็จโพลล์ สำรวจความเห็นประชาชนในกรุงเทพฯ การปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ 1,228 กลุ่มตัวอย่าง พบ 50.6% สับสนใช้เส้นทางใหม่ 22.6% อยากให้ปรับมารยาทคนขับ-กระเป๋า

       ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,228 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 29 - 31 สิงหาคม 2560 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

      ผศ.สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) เนื่องจากการปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ใหม่ 269 สายโดยกระทรวงคมนาคม มีการแบ่งโซนดังต่อไปนี้ โซนสีเขียว หรือ G (ย่านรังสิต บางเขน มีนบุรี) โซนสีเหลือง หรือ Y (ย่านพระประแดง บางแค ศาสายา) โซนสีแดง หรือ R (ย่านปากน้ำ คลองเตย สาธุประดิษฐ์) และโซนสีฟ้า หรือ B (ย่านนนทบุรี ปากเกร็ด หมอชิต2 ดินแดง สวนสยาม) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ทดลองปฏิรูปเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และวันที่ 15 สิงหาคม 2560 มีการเดินรถทดสอบของ ขสมก.เส้นทางปฏิรูป 8 เส้นทาง ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

      กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบว่าเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2560 เป็นวันแรกของการทดลองเดินรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) สายใหม่ 8 เส้นทาง ร้อยละ 54.4. รองลงคือ ไม่ทราบ ร้อยละ 28.8 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.8 และทราบว่ามีการแบ่งสีตามโซนที่รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) วิ่งเป็น 4 สี 4 โซน สีเขียว สีแดง สีฟ้า สีเหลือง ร้อยละ 53.6 รองลงคือ ไม่ทราบ ร้อยละ 27.5 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 18.9

      กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่า คิดว่าการปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) จะทำให้เกิดการสับสนของผู้ใช้งานรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ร้อยละ 50.6 รองลงคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 25.7 และไม่ใช่ ร้อยละ 23.8 และคิดว่าการนำตัวอักษรภาษาอังกฤษ G R B Y เพิ่มขึ้นมาในส่วนของสายรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) จะทำให้เกิดการสับสนของผู้ใช้งานรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ทราบว่ามีการแบ่งสีตามโซนที่รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) วิ่งเป็น 4 สี 4 โซน สีเขียว สีแดง สีฟ้า สีเหลือง ร้อยละ 52.2 รองลงคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 24.3 และไม่ใช่ ร้อยละ 23.5

     กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้มีการปฏิรูปรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ในประเด็นมารยาทของคนขับและพนักงานเก็บค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) เป็นอันดับแรก ร้อยละ 22.6 อันดับที่สองคือ รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) มีเครื่องปรับอากาศ (ติดแอร์) ร้อยละ 19.7 อันดับที่สามคือ รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) มีตารางบอกเวลาในการเดินรถ ร้อยละ 15.5 อันดับที่สี่คือ รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) มีเสียงประกาศและป้ายไฟแสดงชื่อป้ายรถที่กำลังจะถึง ร้อยละ 14.3 อันดับที่ห้าคือ ความปลอดภัยในการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ร้อยละ 9.5

     และคิดว่าการปฏิรูปเส้นทางรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) จะทำให้รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ดีมากกว่าในอดีต ร้อยละ 52.7 รองลงคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 26.5 และไม่ใช่ ร้อยละ 20.8

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ