Lifestyle

3 ขั้นตอนปลุกพลังสร้างสรรค์ในเด็ก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มธ.-สร้างกระบวนการพัฒนา 3 ขั้นตอน “ทำให้ดู-ดูเขาทำ-ดูเขาถ่ายทอด” สร้างกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาเยาวชนสร้างสรรค์ จ.ปทุมธานี

       มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดอบรมแกนนำนักเรียนโครงการพัฒนาเยาวชนในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์:โรงเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดปทุมธานี(Young Influencer Phathumthani (YIP) เพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ทั้งในและนอกหลักสูตรของเด็กและเยาวชน และเป็นต้นแบบของการจัดการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดปทุมธานี ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีสถานศึกษาเข้าร่วมจำนวน 40 โรงเรียน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
3 ขั้นตอนปลุกพลังสร้างสรรค์ในเด็ก
นายธรรมพล ศรีสุวรรณ พรชฎาธร

      นายธรรมพล ศรีสุวรรณ พรชฎาธร ผู้บริหารโครงการ กล่าวว่า โครงการพัฒนาเยาวชนในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์สำคัญ4 ประเด็น คือ 1.เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานีอย่างสร้างสรรค์เพื่อเสริมคุณค่าในด้านต่าง ๆ และสามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้ 2.พัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาโดยเฉพาะครูและองค์กรภาคีในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีให้มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนอย่างสร้างสรรค์ 3.รวบรวมองค์ความรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากโครงการเผยแพร่และสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา อีกทั้งยังสามารถนำไปขยายผลในพื้นที่นอกจังหวัดปทุมธานีต่อไป และ 4.เพื่อลดปัญหาเยาวชนที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงและพัฒนาสุขภาวะของเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

3 ขั้นตอนปลุกพลังสร้างสรรค์ในเด็ก

       นายธรรมพล กล่าวต่อว่า กระบวนการทำงานของโครงการใช้แนวคิดการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในการพัฒนาครูและนักเรียน โดยเน้นกระบวนการพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ทำให้ดู 2.ดูเขาทำ และ 3.ดูเขาถ่ายทอด ดังนั้น การทำงานให้ประสบความสำเร็จต้องสร้างเครื่องมือที่ทำให้ทั้งครูและเด็กมีความสุข เพราะเมื่อครูมีความสุขในการสอน มีความสุขในการพัฒนาเด็กแล้วครูจะทำให้เด็กมีความสุขเอง ฉะนั้น กระบวนการทำงานของโครงการไม่ได้ให้ทำตามแต่ลงไปทำด้วย โดยครูนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทของโรงเรียน

3 ขั้นตอนปลุกพลังสร้างสรรค์ในเด็ก

       โดยพิจารณาจาก 3 ต้นทุน คือ 1.ทุนเดิมในโรงเรียน (ชุมชน บริบท วัฒนธรรม เรื่องราวในท้องถิ่น) 2.ต้นทุนโอกาสทางการศึกษาที่รัฐบาลจัดให้ทั้งนโยบายและการสนับสนุน 3.ต้นทุนใหม่ที่เติมลงไป คือ กระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือตัวเด็กมีพลังมีศักยภาพ โดยโรงเรียนเป็นผู้สนับสนุนให้ประสบความสำเร็จให้เด็กเดินต่อไปได้ อีกทั้ง อย่าผลักการศึกษาให้เป็นหน้าที่ของครูเพียงผู้เดียว เพราะมีคนหลายคนที่มีศักยภาพพร้อมที่จะแบ่งปัน สนับสนุนทรัพยากรสร้างประเทศเพื่อความยั่งยืนร่วมกัน

3 ขั้นตอนปลุกพลังสร้างสรรค์ในเด็ก

       “กระบวนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมุ่งเน้นวิชาการจนเกินไป แต่สามารถก่อเกิดความรู้ภายในตัวเด็กจากการเล่น เมื่อเด็กเล่นจิตก็เปิดเกิดความสนุกได้วิชาความรู้ เพียงครูทำหน้าที่ให้รู้ว่าสิ่งที่เล่นคือเนื้อหา สาระในเรื่องใด ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ซึ่งต้องสื่อสารทำให้ครูเข้าใจได้ง่ายที่สุดและเป็นประโยชน์กับเด็กมากที่สุด ดังนั้น หากจะถามว่าได้รูปแบบหรือนวัตกรรมอะไรจากโครงการ คำตอบที่เกิดจากผลลัพธ์ของการทำงานไม่มีรูปแบบที่สำเร็จ แต่มีรูปแบบที่ดีที่สุดของแต่ละพื้นที่เป็นนวัตกรรมเฉพาะพื้นที่ เพื่อสร้างสิ่งที่เหมาะสมกับโรงเรียน เนื่องจากบางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นความรู้ใหม่ แต่เป็นความรู้ที่เหมาะสมกับโรงเรียนก็เพียงพอแล้ว ฉะนั้น นวัตกรรมสำคัญคือการเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวเด็ก ต้องใจเย็นอย่าใจร้อนที่จะเร่งใส่ปุ๋ย พรวนดินให้เห็นผลเร็วจนเกินไป” นายธรรมพล กล่าว

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ