Lifestyle

การศึกษาไทยต้องแตกต่างแต่ไม่แตกแยก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โรงเรียนคือบ้านหลังที่ 2 ครูเปรียบเสมือนพ่อแม่อีกคนของนักเรียน บรรยากาศการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ บวกกับหลักการสอนที่ทุกอย่างล้วนเป็นแบบอย่างที่ดี 

       ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร์   ประธานกรรมการกลุ่มโรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจ้นท์ Thailand & UK เล่าว่าการปั้นเด็กไทยให้มีทักษะที่ศตวรรษที่ 21  หรือรองรับการเป็นไทยแลนด์ 4.0 จำเป็นต้องมีทักษะที่หลากหลายด้าน

      ซึ่งโรงเรียนสามารถบ่มเพาะสิ่งเหล่านั้นให้เกิดขึ้นกับเด็กๆได้ ที่โรงเรียนของเขา ใช้หลักในการจัดการเรียนการสอน ที่เรียกว่า IDEALS หมายความว่า แบบอย่างที่ดี ในที่นี้คือการรวมสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน แล้วจึงมีความหมายอย่างตรงตัว กลายเป็น แบบอย่างที่ดี ที่ควรจะมีทั้ง 6 อย่างนี้ในตัวของนักเรียนแต่ละคน เผื่อให้พวกเขาได้เติบโตขึ้นมาเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีสมบูรณ์มีคุณค่า

การศึกษาไทยต้องแตกต่างแต่ไม่แตกแยก

        เขาอธิบายว่า Internationalism ซึ่งหมายถึงความเป็นสากลนิยม หรือมีความหลากหลายทั้ง เชื้อชาติ และเพศ วัย ที่แตกต่างกันทุกๆด้าน ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา เมื่อทุกคนมาอยู่ร่วมกันในสังคมโรงเรียนเดียวกัน จึงต้องยอมรับว่าแตกต่างของทุกๆคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ เมื่อยอมรับความแตกต่าง อยู่กันได้โดยไม่แตกแยกแล้ว เพราะทุกคนยึดหลัก  Democracy ประชาธิปไตยที่เคารพความเห็นต่างแต่ไม่แตกแยกก็อยู่ร่วมกันได้

การศึกษาไทยต้องแตกต่างแต่ไม่แตกแยก

        นอกจากนี้โรงเรียนยังต้องสร้าง Environment สิ่งแวดล้อมที่เอื่้อต่อการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนด้วย ให้มีความน่าอยู่ อบอุ่นเหมือนอยู่ที่บ้าน มีความสบายใจ สดใส เหล่านี้จะส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีการเรียนรู้จะดีตามไปด้วยเช่นกัน

      ที่สำคัญโรงเรียนต้องส่งเสริมให้มีการเรียนรู้นอกห้องเรียน ไปทัศนศึกษา เปิดโลกกว้าง เพราะการเรียนรู้ไม่ใช่้อยู่ในห้องเรียนอย่างเดียว นั่นก็คือการไป Adventure หรือการเรียนรู้นอกห้องเรียน ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เป็นต้น 

การศึกษาไทยต้องแตกต่างแต่ไม่แตกแยก

    "แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่โรงเรียนต้อฝึกให้มีในตัวนักเรียนทุกคนคือ การเป็น Leadership ความเป็นผู้นำ ซึ่งแต่ละคนไม่จำเป็นผู้นำในเรื่่องเดียวกัน แต่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจะต้องกล้าเป็นผู้นำและทำในสิ่งที่ถูกต้องควรทำ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเห็นใครที่ทำไม่ถูก ผิดระเบียบวินัยและเอาเปรียบผู้อื่น ต้องกล้าที่จะออกมาบอกว่านั้นคือสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง และรวมตัวกันเป็นผู้นำในการแก้ไขให้เกิดสิ่งที่ถูกต้อง ที่ต้องมีหัวใจของการบริการ Service ช่วยเหลือผู้อื่น หากเขาต้องการความช่วยเหลือ เหล่านี้หากทุกโรงเรียนสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ได้ ความสงบสุขร่มเย็นก็จะเกิดขึ้นในสังคมไทย "  ประธานกรรมการกลุ่มโรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจ้นท์ Thailand & UK กล่าว

     ดร.วีระชัย เกิดในกรุงเทพ เรียนหนังสือที่อัสสัมชัฐบางรักรุ่นเดียวกับพรเทพ พระประภา วิวัฒน์ วินิจฉัยกุล ดร.ชวนชัย อัชนันท กนก อภิระดี แต่ไปจบมัธยมต้นที่ดาราสมุทร ศรีราชาชลบุรี แล้วสอบเทียบมัธยมศึกษาตอนปลายได้จากนั้นอีก 6 เดือนสอบเทียบได้วุฒิครูป.กศ. และพ.ม.ใช้เวลาอีก 4 ปี สอนหนังสืออยู่โรงเรียนยอเซฟอุปถัมภ์สามพราน

การศึกษาไทยต้องแตกต่างแต่ไม่แตกแยก

    เขาเริ่มเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษา 6 เมื่ออายุ 17 ปี ต่อมาอีก 2 ปีครึ่งได้เลื่อนเป็นครูใหญ่ของโรงเรียนโรงเรียนยอเซฟอุปถัมภ์สามพราน อายุไม่ถึง 20 ปี เป็นครูใหญ่อยู่ได้ 2 ปี พออายุ 21 ปีกว่า ไปทำงานที่นิวยอร์ค 7 เดือน ไปโรงเรียนภาคค่ำอาทิตย์ละครั้ง จบปริญญาตรีทางบัญชีธุรกิจที่ ทอมัส โมร์ คอลเลซ ซินซินเนติ อเมริกา

     ไปต่อปริญญาโททางด้านบัญชีที่โคลัมเปียในมหาวิทยาลัยมิซซูรี่ โคลัมเปีย จบปริญญาโทแล้วต่อปริญญาเอกด้านการบัญชี โดยมีธุรกิจระหว่างประเทศเป็นวิชารอง ที่มหาวิทยาลัยมิซซูรี่ โคลัมเปีย

การศึกษาไทยต้องแตกต่างแต่ไม่แตกแยก

      ระหว่างที่ต่อปริญญาเอกอยู่ ดร.วีระชัย ได้เริ่มสอนหนังสือ ปี2517 เป็นอาจารย์สอนเทอมละหนึ่งวิชา หลังจากนั้นก็ได้งานสอนเต็มเวลาเป็นอาจารย์ที่โคลัมเปียคอลเลจอยู่ 2 ปี ต่อมาได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเนแบรสก้า โอมาฮา อยู่อีก 2 ปี ต่อมาปี2523 เป็นรองศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเนวาด้า ลาสเวกัส รวมเวลาสอนที่อเมริกานาน 6 ปี ได้รับรางวัลครูดีเด่นประจำภาควิชาหรือประจำคณะทุกมหาวิทยาลัย มีลูกศิษย์รวมประมาณ 1,500 คน

    กลับมาไทย เริ่มทำงานกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการ ทำงานได้เพียง 4 ปีก็ลาออก ต่อมาได้เป็นอาจารย์จัดตั้งโครงการปริญญาเอก คณะบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2537-2538 ประธนกรรมการองค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ปี2558-2560 ที่ปรึกษากิตติมหศักดิ์คณะกรรมาธิการ การศึกษาฯสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2559-2560 ประธานสถาบันสนับสนุนการเรียนปริญญาในประเทศไทย มหาวิทยาลัยลอนดอน ปี 2542-2560 กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ สาธารณรัฐเอสโตเนีย ประจำประเทศไทย ปี 2538-2560  ประธานกรรมการกลุ่มโรงเรียนนานาชาติเดอะรี

เจ้นท์ Thailand & UK

การศึกษาไทยต้องแตกต่างแต่ไม่แตกแยก

      ดร.วีระชัย เชื่อว่า หากทุกคนจะมีต้นแบบในการดำเนินชีวิตที่ดี ทำในสิ่งที่ถูกต้อง และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่อยู่ร่วมกันได้ไม่แตกแยก

      0 หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ 0 [email protected]

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ