Lifestyle

ส่องกฎก.พ. 5 ลักษณะเข้าข่ายล่วงละเมิด-คุกคามทางเพศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กฎก.พ.กำหนดชัด 5 ลักษณะเข้าข่ายล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ไม่ใช่แค่ลวนลามทางกาย รวมทั้งวาจา-ตา ห้ามข้าราชการกระทำ ใครฝ่าฝืนถือว่าผิดวินัย

     สังคมต่างจับจ้องกรณีที่ข้าราชการชายกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ที่เป็นหัวหน้าสายงานลวนลามลูกจ้างสาวถึง 4 คน ตั้งแต่ปี 2557 และมีคลิปปรากฎเป็นการโอบกอดจากทางด้านหลัง จนนำมาสู่การสั่งย้ายข้าราชการคนดังกล่าวออกจากหน่วยงานเดิมไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี และมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน1-2วันนี้ "คมชัดลึก"จึงขอเจาะเนื้อหารายละเอียดตามระเบียบของก.พ.ที่ห้ามไม่มีข้าราชการการกระทำ เพราะเข้าข่ายล่วงละเมิดหรือคุกคาทางเพศ พบว่ามี 5 ลักษณะ      

    ผู้สื่อข่าวรายงาน กลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรมสำนักบริหารกลาง กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้เคยเผยแพร่ความรู้เรื่อง “การล่วงละเมิด หรือคุกคามทางเพศ” ไว้ว่า พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา83(8) ได้บัญญัติไว้สรุปว่า “ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทาการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กาหนดในกฎ ก.พ.” ซึ่งเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง แต่ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 85(7) แห่งพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 

        และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)ได้ออกกฎก.พ.ว่าด้วยการกระทาการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ พ.ศ.2553 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาโดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29กันยายน 2553 เป็นต้นไป กล่าวคือ ถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญ ผู้ใดกระทาการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ที่เกิดขึ้นตั้งแตวั่นที่ 29 กันยายน 2553 เป็นต้นไป ก็จะมี ความผิดวินัยตามกฎหมายและมาตราดังกล่าว 

         โดยมีสาระสาคัญดังนี้ การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ มีลักษณะอย่างใดบ้าง ลักษณะของการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศนั้น มี 5 ประการ ดังนี้ 1.กระทำการด้วยการสัมผัสทางกายที่มีลักษณะส่อไปในทางเพศ เช่น การจูบ การโอบกอด การจับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นต้น 2. กระทำการด้วยวาจาที่ส่อไปในทางเพศ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ร่างกาย พูดหยอกล้อ พูดหยาบคาย เป็นต้น 3. กระทำการด้วยอากัปกิริยาที่ส่อไปในทางเพศ เช่น การใช้สายตาลวนลาม การทาสัญญาณหรือสัญลักษณ์ใดๆ เป็นต้น 4. การแสดงหรือสื่อสารด้วยวิธีการใดๆ ที่ส่อไปในทางเพศ เช่น แสดงรูปลามกอนาจาร ส่งจดหมาย ข้อความ หรือการสื่อสารรูปแบบอ่นื เป็นต้น 5. การแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ส่อไปในทางเพศ ซึ่งผู้ถูกกระทำไม่พึงประสงค์หรือเดือดร้อนรำคาญ

         ทั้งนี้ ข้าราชการพลเรือนสามัญที่เป็นผู้ทำการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ จะต้องกระทำประการหนึ่งประการใดใน 5 ประการ โดยต้องกระทำต่อข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติงานเท่านั้น หากทากับประชาชนทั่วไปหรือผู้มารับบริการแล้ว จะไม่เป็นความผิดวินัยฐานกระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ แต่จะเป็นความผิดวินัยฐานไม่รักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักด์ิของตาแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย ตามมาตรา 82(10)หรือฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 85(4)แห่งพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

        สำหรับผู้ที่ถูกกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ มีดังนี้ 1.กระทำต่อข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประเภทใด เช่น เป็นข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการ เช่น กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2.กระทำต่อผู้ร่วมปฏิบัติงาน เช่น พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานขององค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่น อสม.ที่ร่วมทำงาน เป็นต้น

        อีกทั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ทำการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศใน 5 ลักษณะดังกล่าว ถ้าได้กระทาตอ่ ข้าราชการหรือผู้รว่ มปฏิบัติงาน โดยการกระทำนั้นไม่ว่าจะเกิดขึ้น ที่ใดทั้งในหรือนอกสถานที่ราชการ และผู้ที่ถูกกระทำมิได้ยินยอมต่อการกระทำหรือทำให้ผู้ถูกกระทำเดือดร้อนรำคาญ ซึ่งได้กระทำผิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2553เป็นต้นไป ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ตามมาตรา 83(8)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ