Lifestyle

“เกล็ดปลายี่สก” ไทย สกัดเป็น “Protetite” เพิ่มมวลกระดูก    

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แพทย์ ชม.ระบุคนไทยได้รับแคลเซียมน้อย เสี่ยงโรคกระดูกเสื่อม แนะกินพืชผัก ปลา กระดูกสัตว์ งาดำป่นคั่ว 

  
          11 ส.ค. 60 - นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น อาจารย์ประจำภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า คนไทยได้รับแคลเซียมน้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยผลการศึกษาพบว่าใน 1 วัน คนไทยรับแคลเซียมเพียง 360 มิลลิกรัม ในขณะที่ร่างกายต้องการวันละ 800 มิลลิกรัม ซึ่งใน 1 ปี กลุ่มคนทั่วไปจะสูญเสียมวลกระดูกปีละ 1-2 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่กลุ่มคนเป็นโรคกระดูกบางเร็ว จะสูญเสียมวลกระดูกถึงปีละ 2-4 เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มคนสูงวัยเท่านั้นที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อม เพราะหลังอายุ 20 ปี ความหนาแน่นของของกระดูกจะคงที่ ก่อนที่จะเริ่มสูญเสียมวลกระดูกลงเรื่อยๆ
          นพ.กสิสิน กล่าวว่า จากสถิติพบว่า ผู้หญิงทั่วโลกในวัยสาว หรือ อายุ 20- 35 ปี เป็นโรคกระดูกบางมากถึง 16 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น กระดูกเสื่อมลง จึงทำให้กระดูกสันหลังยุบตัว หัวใจและปอดจึงหล่นลงมากดทับอวัยวะในช่องท้อง ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะในช่องอก และช่องท้องที่ผิดปกติ และดันลงไปในส่วนของเชิงกราน ซึ่งเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน อีกทั้งยังเป็นโรงงานสร้างเลือดให้กับมนุษย์ ทั้ง เม็ดเลือดแดง ซึ่งทำหน้าที่นำอาหารไปเลี้ยงทุกส่วน ,เม็ดเลือดขาว ที่มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการสร้างน้ำเหลือง ที่ทำหน้าที่ฝนการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วย
          นพ.กสิสิน กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้กระดูกเสื่อมนอกจากเป็นไปตามช่วงวัยแล้ว หากเรามีแคลเซียมในร่างกายไม่เพียงพอ ร่างกายจะสั่งการให้ดึงแคลเซียมจากกระดูกเพื่อรักษาความสมดุลของปริมาณแคลเซียมในเลือด เพื่อที่จะใช้ในการทำงานของหัวใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ ทำให้มวลกระดูกลดลง จนนำไปสู่ภาวะกระดูกบาง หรือ กระดูกพรุนได้ รวมไปถึงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เป็นประจำ สูบบุหรี่ รับประทานยาสเตอรอยด์เป็นประจำ และสตรีในวัยหมดประจำเดือน หรือ สตรีที่ตัดรังไข่ทิ้ง ด้วยที่เป็นปัจจัยทำให้กระดูกเกิดปัญหาได้
          นพ.กสิสิน กล่าวว่า ดังนั้นการกินแคลเซียมจึงมีความสำคัญเพราะถือเป็นแร่ธาตุสำคัญของกระดูกนั้นโดยแคลเซียมมีในพืชผัก ปลา และ กระดูกสัตว์ งาดำป่นคั่ว แต่คนส่วนใหญ่มักจะหันไปบริโภคอาหารเสริมที่มีแคลเซียมเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหายไป แต่วิธีการนี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อแคลเซียมที่เราบริโภคเข้าไปนั้น เป็น “แคลเซียมที่ดี” ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ เพราะไม่เช่นนั้น อาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี นอกจากนี้จากการวิจัยของนายซามุ คาชิมะ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกอันดับหนึ่งของประเทศ พบว่า “เกล็ดปลายี่สก” ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดของไทยเมื่อนำมาผ่านกระบวนการเฉพาะสามารถสกัดออกมาเป็นสาร “Protetite” ที่มีขนาดเล็กในระดับนาโนโมเลกุล ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึม กักเก็บ นำไปใช้ประโยชน์ สามารถเพิ่มมวลกระดูก และเพิ่มคุณภาพของกระดูกได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีโครงสร้างใกล้เคียงกับกระดูกมนุษย์ ที่สำคัญไม่มีผลข้างเคียงใดๆ จึงถือเป็นนวัตกรรม สำหรับผู้รักสุขภาพ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกได้อีกทางหนึ่ง.

 

 

 

 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ