Lifestyle

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แม้จะมีไม่มีชื่อ“วารสารศาสตร์”แต่แก่นที่สอนให้รู้จักคิดให้เป็นระบบตั้งคำถามวิพากษ์วิเคราะห์ตั้งข้อสงสัย แสวงหาข้อเท็จจริงสร้างสรรค์เนื้อหา”คือหัวใจต้องรักษาไว้

       การเป็นคนรู้จักคิดเป็นระบบ รู้จัก ตั้งคำถาม วิพากษ์ วิเคราะห์ ตั้งข้อสงสัย แสวงหาข้อเท็จจริง เป็น“นักสร้างสรรค์เนื้อหา” (Content creator)ในแพลตฟอร์มสื่อที่หลายหลาย คือหัวใจของ “วารสารศาสตร์”  

      โดยเฉพาะการเป็น“หมาเฝ้าบ้าน”ที่ซื่อสัตย์ คอยสอดส่องสิ่งผิดปกติของสังคมเป็น“ตะเกียง”ที่ส่องสว่างให้สังคมรวมทั้งต้องมีการเรียนการสอนด้าน“จริยธรรม จรรยาบรรณสื่อ” คือสิ่งที่ผู้เรียนทางด้านวารศาสตร์ทุกแขนงจำเป็นต้องมี

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

       เห็นได้การชี้แจงของ "ดร.พีรชัย เกิดสินธุ์" คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เกี่ยวกับข่าวการยุติการเรียนการสอนภาควิชาวารสารศาสตร์ ว่าไม่ได้ยุติการเรียนการสอนแต่ได้ควบรวมภาควิชาวารสารศาสตร์เข้ากับภาควิชาบรอดแคสต์ติ้ง เปลี่ยนชื่อภาควิชาเป็น “บรอดแคสต์ติ้งและวารสารศาสตร์ดิจิทัล” 

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

"ดร.พีรชัย เกิดสินธุ์"

       เหตุผลคือเพื่อให้สอดรับกับกระแสโลกที่รูปแบบเนื้อหาและแพลตฟอร์มการนำเสนอข่าวสารในปัจจุบันมีความหลากหลายขึ้น ทั้งสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อดิจิทัล นักศึกษาควรได้เรียนรู้การนำเสนอข่าวสารในลักษณะต่างๆ มากขึ้นไม่จำกัดแค่ด้านในด้านหนึ่ง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการผลิตเนื้อหา(Content Base) ที่เหมาะสมกับทุกแพลตฟอร์ม (Platform Base)

      ดร.พีรชัย อธิบายว่า วารสารศาสตร์ เป็นวิชาที่จำเป็นต่อโลกสื่อสารมวลชน การได้เรียนวิชานี้จึงไม่เพียงแค่บ่มเพาะนักศึกษาให้เป็น “นักสื่อสารมวลชน” ผู้มีคุณภาพ หากยังมีคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่กันไปด้วย และยิ่งเมื่อนักสื่อสารมวลชนในยุคดิจิทัลมีความรู้ด้านบรอดแคสต์ติ้งหรือช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารมากขึ้นด้วยนั้น ก็ยิ่งทำให้เป็นนักสื่อสารมวลชนที่ตลาดงานต้องการ สมกับคำว่า “วารสารศาสตร์ดิจิทัล” ไม่มีแนวคิดที่จะยกเลิกการเรียนการสอนวิชานี้อย่างแน่นอน

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

       เช่นเดียวกับ “ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์” คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย มองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า สะท้อนเด็กรุ่นใหม่ว่าไม่สนใจอยากเรียน “วารสารศาสตร์” ซึ่งเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน ยอดนักศึกษาที่สนใจมาเรียนด้าน“วารสารศาสตร์” ลดลงอย่างต่อเนื่องช่วง 5 ปีที่ผ่านมา 

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

     ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเด็กรุ่นใหม่มองว่าการเรียน“วารสารศาสตร์”คือเรียนทำเฉพาะสื่อ“สิ่งพิมพ์” อย่างนิตยสาร หนังสือพิมพ์ เท่านั้น ซึ่งเป็นสื่อที่เด็กรุ่นนี้ไม่ได้“เสพ” และไม่สนใจจะเสพ ประกอบกับเป็นช่วงวิกฤติสื่อ มีการทยอยปิดสื่อสิ่งพิมพ์ หรือเลย์ออฟพนักงานกันหลายแห่ง ยิ่งทำให้เด็กเมินการเรียนในสาขานี้ รวมทั้งผูุ้ปกครองก็มีคำถามเรียนจบแล้วไปทำอะไร

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

           แม้ว่าแทบทุกมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชนจะปรับหลักสูตร“วารสารศาสตร์”ให้ขยายรวมถึงสื่ออื่นๆอย่าง วิทยุ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดียแล้วก็ตามแต่“ภาพจำ”ของผู้คน ยังยึดติดว่า “วารสารฯคือสื่อสิ่งพิมพ์”เพียงอย่างเดียว จะเห็นได้ว่าตัวเลขของ“นักศึกษาที่เรียนวารสารศาสตร์”ลดน้อยถอยลงต่อเนื่อง 

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

      อย่างไรก็ตามแม้ว่าต่อไปจะมีไม่มีชื่อว่า “วารสารศาสตร์”เป็นภาควิชา หรือสาขาวิชาหนึ่งในคณะนิเทศศาสตร์ แต่จะไปควบรวมกับสาขาวิชาใดก็ตาม แต่เนื้อใน“วารสารศาสตร์”ยังคงไม่ทิ้งไป แก่นของ“วารสารศาสตร์” ยังจำเป็นต้องคงอยู่นั่นคือ การบ่มเพาะเด็กให้เป็น“นักสร้างสรรค์เนื้อหา” (Content creator)ในแพลตฟอร์มสื่อที่หลายหลาย

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

      "ผศ.ดร.นิธิดา แสงสิ่งแก้ว" ผู้อำนวยการโครงการปริญญาตรี วารสารศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ ม.ธรรมศาสตร์ อธิบายว่า วารสารศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่สอนให้นิสิตนักศึกษารู้จักคิดให้เป็นระบบ คิดตั้งคำถาม คิดวิพากษ์ วิเคราะห์สอนให้รู้จักตั้งข้อสงสัย ตั้งคำถาม รู้จักแสวงหาข้อเท็จจริงมา“เล่าเรื่อง”ให้ผู้คนได้รับรู้และเข้าใจได้โดยง่าย

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

      รวมทั้งต้องมีการเรียนการสอนด้าน“จริยธรรม จรรยาบรรณสื่อ” ซึ่งเป็นหัวใจของนักสื่อสารมวชนทุกแพลตฟอร์ม ที่จำเป็นต้องมี วารสารศาสตร์ ไม่ใช่การเรียนเฉพาะสิ่งพิมพ์ ที่สำคัญในโลกอนาคตจำเป็นต้องได้เรื่องภาษาอังกฤษ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับนักสื่อสารมวลชนในโลกอนาคตด้วย

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

      “อนุสรณ์ ศรีแก้ว”ั คณบดีวิทยาลัยนิเทศศาตร์ ม.รังสิต กล่าวยอมรับความจริงว่าเด็กรุ่นใหม่สนใจเรียน “วารสารศาสตร์”น้อยลงต่อเนื่องมา 5 ปีแล้วล่าสุดสนใจเรียนแค่หลัก 10  การปรับเปลี่ยน ควบรวม คณะเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการไปตามการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย แต่เชื่อว่าไม่ว่าเรียนศาสตร์ไหน หัวใจของ“วารสารศาสตร์”ยังต้องคงอยู่    

     ถึงวันนี้สถาบันการศึกษาหลายแห่งทั้งรัฐและเอกชนต่างยอมรับการเปลี่ยนแปลง ของแพลตฟอร์มการนำเสนอข่าวสารข้อมูลที่เปลี่ยนไปแล้ว มีการยุบควบรวมหรือเปลี่ยนชื่อ หรือในอนาคตอาจจะไม่มีคำว่า “วารสารศาสตร์”แล้วก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

     แต่หลักของการเรียนการสอนวารสารศาสตร์ ที่เป็นหัวใจที่ต้องมีไม่ว่าจะอยู่ในแพลตฟอร์มไหน นักศึกษาทุกคนก็ต้องเรียนขาดไม่ได้ เพราะถ้าไม่มีคอนเทนต์แล้ว จะเอาอะไรไปนำเสนอไม่ว่ารูปแบบไหนก็ต้องอาศัยศาสตร์นี้ทั้งนั้นนั่นเอง

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

      ขณะที่สังคมดิจิทัลทุกคนสามารถเป็น“สื่อ”ได้ด้วยตัวเอง แต่คนรุ่นใหม่ไม่สนใจเรียน “วารสารศาสตร์” ตรงข้ามกับนักวิชาการและสถาบันการศึกษามีความเชื่อมั่นว่า “วารสารศาสตร์”ยังไงก็ไม่มีวันตาย ทำยังไงถึงจะมี“นักวารสารศาสตร์”ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด นั่นเป็นคำถามที่ผู้คนในวงการต้องหาคำตอบ

“วารสารศาสตร์”ยุบได้แต่ไม่ตาย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ