Lifestyle

ม.44เซตซีโร่"ราชภัฎ"ฟ้อง“เกษียณ”เป็นอธิการ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ม.ราชภัฏไม่ต่ำกว่า10แห่งฟ้องร้องคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี บ้างก็ว่าไม่เหมาะสมอายุเกิน60ปี อยู่ในขั้นตอนสอบสวนองค์กรอิสระ ศาลปกครองสั่งคุ้มครองชั่วคราว

 

      ทำให้สถาบันการศึกษาเหล่านั้นไม่สามารถดเดินหน้าไปได้ การที่มีคำสั่ง ม.44 ครั้งนี้เปิดกว้างให้สามารถแต่งตั้งผู้บริหารมหาวิทยาลัย ที่ไม่ใช่ขรก.-พนง.มหาลัย เป็น อธิการบดี-คณบดี ได้ ถือเป็นการปลดล็อค “มิคสัญญี”ครั้งใหญ่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยทีเดียว ไปติดตามรายละเอียดได้จาก "ทีมข่าวคุณภาพชีวิต คมชัดลึก ออนไลน์" 

       รศ.ดร.ฤาเดช เกิดวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.)อธิบายว่าเจตนาของ ม.44 ในครั้งนี้ชัดเจนว่าต้องการปลดล็อคการฟ้องร้องผู้ที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เกิดขึ้นในอดีต ที่เรื่องต่างๆอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆของกฏหมาย ทำให้สถาบันการศึกษานั้นไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้

ม.44เซตซีโร่"ราชภัฎ"ฟ้อง“เกษียณ”เป็นอธิการ

   รศ.ดร.ฤาเดช เกิดวิชัย     

       ขณะนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏจะเรียกว่าตกอยู่ในท่ามกลางของ “มิคสัญญี”ก็ว่าได้ หลายแห่งไม่สามารถเดิินหน้าได้ เนื่องจากไม่มีอธิการบดี ทำให้งานต่างๆต้องหยุดชะงัก หัวใจหลักๆของ ม.44 ในครั้งนี้หมายความว่าจากนี้ไปผู้ที่เกษียณอายุราชการแล้ว สามารถมาดำรงตำแหน่งอธิการบดีได้

      รวมทั้ง รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะได้ ที่สำคัญได้ปลดล็อคระยะเวลารักษาการที่พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.) 2547 กำหนดว่า 180 วันออกไปด้วย โดยให้รักษาการไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งอธิการบดี

ม.44เซตซีโร่"ราชภัฎ"ฟ้อง“เกษียณ”เป็นอธิการ

    อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ ด้านบวกที่มองเห็นคือการเปิดกว้างให้คนที่เกษียนอายุที่เป็นคนเก่ง คนดีมาเป็นอธิการบดีได้ รวมทั้งเปิดกว้างให้คนนอกมีโอกาสมานั่งบริหารด้วย

     แต่อีกด้านที่น่าเป็นห่วงก็คือ “วงจรอุบาทว์” ที่หลายคนมองเห็นๆกันอยู่คือสภามหาวิทยาลัยราชภัฏหลายแห่งมีอธิการ และนายกสภามหาวิทยาลัย รวมทั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัย ที่เกษียณอายุราชการแล้ว ต่างรับรู้ดีว่าเอื้อประโยชน์ซึ่่งกันละกัน ตรงนี้ต่างหากคือสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องหาทางแก้ไขในอนาคต

      "ไม่ใช่ว่าสถาบันการศึกษาที่มีอธิการบดีเป็นคนเกษียณอายุราชการแล้วไม่ดี คนเก่ง คนดีที่เกษียณแล้วก็มีมาก แต่ก็มีบางแห่งที่ดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาแล้ว 2  สมัย ก็หมุนวนไปเป็นรองอธิการบดีแล้วค่อยมาเป็นต่อ หรือเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย หรือนายกสภามหาวิทยาลัยแล้วค่อยวนกลับมา เป็นสภาเกาหลัง อย่างนี้ในอนาคตควรจะต้องมีการแก้ไขเกี่ยวกับธรรมาภิบาลในสถาบันการศึกษากันอีกพรบ.สถาบันอุดมศึกษาคงต้องเขียนเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ไว้อย่างรอบด้าน" รศ.ดร.ฤาเดช กล่าว

ม.44เซตซีโร่"ราชภัฎ"ฟ้อง“เกษียณ”เป็นอธิการ

 “ขจร จิตสุขุมมงคล” 

   “ขจร จิตสุขุมมงคล” รองเลขาธิการกกอ. กล่าวว่า พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฎ (มรภ.)พ.ศ. 2547 พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)พ.ศ.2547 เปิดกว้างให้คนนอกเข้ามาเป็นผู้บริหารอยู่แล้ว และคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับนี้ ทำให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

      ส่วนกรณีที่หลายมหาวิทยาลัยมีเรื่องฟ้องร้องกันถึงเกี่ยวกับการสรรหาอธิการบดีอยู่ในศาล ก็จะต้องนำคำสั่งนี้ไปแถลงต่อศาล เพื่อให้ศาลพิจารณาต่อไป ส่วนตัวคิดว่า ศาลน่าจะพิจารณาจำหน่ายคดี และจากนี้การสรรหาอธิการบดีแต่ละแห่งก็ต้องยึดตามกฎหมายนี้

ม.44เซตซีโร่"ราชภัฎ"ฟ้อง“เกษียณ”เป็นอธิการ

    สมคิด เลิศไพฑูรย์

      “สมคิด เลิศไพฑูรย์”  อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าเห็นด้วยกับมาตรา 44 เพราะปัญหาที่สำคัญ คือ ไม่ว่าจะเป็นคนนอกหรือคนในเขาสามารถทำงานให้มหาวิทยาลัยได้ดีหรือไม่ ถ้าคนในไม่ดีพอ หรือมีคนไม่พอ ก็ต้องไปเลือกคนนอกก็เป็นเรื่องปกติ อย่างในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ส่วนใหญ่จะห้ามไม่ให้เอาคนในมหาวิทยาลัยมาเป็นอธิการบดี โดยจะต้องเอาคนนอกต่างมหาวิทยาลัยเท่านั้นถึงจะมาเป็นอธิการบดีได้ เนื่องจากกลัวว่าคนในจะมองแคบ 

      “เวลาพูดว่าคนนอก ผมอยากพูดให้ชัดเจนว่าคนนอกของมหาวิทยาลัยทั้งหลายไม่มีใครเป็นคนนอกแท้ๆ ส่วนใหญ่จะมาจากอาจารย์พิเศษที่สอนในมหาวิทยาลัยนั้น หรือเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยและมาเป็นอธิการบดี ไม่มีคนนอกแท้ที่โดดมา เพราะคนนอกที่โดดมาไม่มีทางบริหารมหาวิทยาลัยนั้นได้” นายสมคิด กล่าว

ม.44เซตซีโร่"ราชภัฎ"ฟ้อง“เกษียณ”เป็นอธิการ

ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ

    “ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ”  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร กล่าวว่าที่ผ่านมา สรรหาอธิการบดีก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะคนใน และส่วนใหญ่เลือกคนในเป็นอธิการบดีอยู่แล้ว แต่บางเวลา บางจังหวะ อาจเป็นคนนอกที่เป็นคนเก่ง มีความสามารถการบริหาร มีศักยภาพรวมถึงไม่ควรจำกัดอายุ

     เนื่องจากคนอายุน้อย หรืออายุมากกว่า 60 ปี มีความเก่ง ดี และแข็งแรง ก็ควรเปิดกว้างให้พวกเขาเป็นอธิการบดีได้    ประกาศในฉบับนี้ ยังเปิดให้บุคลากรสายสนับสนุนได้มีโอกาสมาเป็นกรรมการสภาคณาจารย์ด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะสภาคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยไทย ทำหน้าที่เป็นสภาของบุคลากรเพื่อดูแลเรื่องสิทธิ์ประโยชน์ สวัสดิการ และคงทำให้เกิดการดูแลบุคลากรสายสนับสนุนที่ดียิ่งขึ้น

ม.44เซตซีโร่"ราชภัฎ"ฟ้อง“เกษียณ”เป็นอธิการ

    ว่ากันว่าปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยราชภัฏไม่ต่ำกว่า 10 แห่งที่ไม่สามารถแต่งตั้งอธิการบดีได้ บางแห่งมีปัญหาฟ้องร้องกรณีที่ได้รับการสรรหาเกษียณอายุราชการ บางแห่งอยู่ระหว่างการสอบสวนหาข้อเท็จจริงขององค์การอิสระ เช่นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) หรือองค์อื่นที่จะต้องดำเนินการไปตามกฏหมายจนถึงการพิจารณาถึงที่สุดว่าไม่มีมูลพ้นข้อกล่าวหาถึงจะดำเนินการแต่งตั้งได้

ม.44เซตซีโร่"ราชภัฎ"ฟ้อง“เกษียณ”เป็นอธิการ

       ไล่เลียงมาตั้งแต่ 1.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดร 2.มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 3.มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 4.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 5.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 6.มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 7.มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 8.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 9.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ 10.มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

    อย่างไรก็ตาม คำสั่งฉบับนี้ อาจจะช่วยปลดล็อคมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ไม่มีอธิการบดีได้ส่วนหนึ่ง โดยต้องดูว่ามหาวิทยาลัยที่ไม่มีอธิการบดีนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร ถ้าสาเหตุสอดคล้องกับคำสั่งดังกล่าวก็ช่วยได้ แต่คงไม่ได้แก้ทุกเรื่อง เพราะในส่วนการดำเนินการตามกฏหมายอื่นๆ ยังคงเป็นไป      ตามกฏหมายเดิม

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ