Lifestyle

จากมหิดลโรงเรียนหมอ สู่ Entrepreneurial

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ม.มหิดล ขับเคลื่อนนโยบาย Entrepreneurial ก้าวสู่การเป็น World Class University พร้อมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรม5แห่ง

       “World Class University” อีกหนึ่งเป้าหมายของมหาวิทยาลัยไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดล(มม.) ได้ประกาศ แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็น World Class University ผ่านนโยบาย MAHIDOL:Towards Being an Entrepreneurial University จากโรงเรียนหมอ ขับเคลื่อนสู่Entrepreneurial University 

        ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรุนแรงหากใครปรับตัวไม่ทันอาจอยู่ในโลกนี้ได้ยาก ซึ่งมหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญอย่างมากที่ต้องปรับเปลี่ยน เพราะเราต้องสร้างคนที่มีคุณภาพ คิดเป็น ทำเป็น ขณะเดียวกันอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญ คือ สร้างงานวิจัย องค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ๆ ต่อยอดใหม่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงต้องทำให้มีอิสระทางความคิด แนวคิด MAHIDOL:Towards Being an Entrepreneurial University เป็นการพัฒนานักศึกษาซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติ และศักยภาพ องค์ประกอบของมหาวิทยาลัย ความพร้อมของอาจารย์ สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความรู้ความสามารถ เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมและเอกชน

จากมหิดลโรงเรียนหมอ สู่ Entrepreneurial

       “การเป็นมหาวิทยาลัยอันดับโลกมีองค์ประกอบสำคัญ คือ การมีคนเก่ง ซึ่งเรามีทั้งนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรที่เก่ง มีแหล่งทุนทั้งด้านทุนมนุษย์ และทุนวิจัย รวมถึงต้องมีการบริหารจัดการที่ดี มีความคล่องตัว ส่งเสริมมให้มหาวิทยาลัยก้าวเข้าสู่อันดับโลก มหาวิทยาลัยต้องสร้างนิสิตนักศึกษาให้เก่ง และมีความเป็น Entrepreneurial เก่ง พัฒนาตนเอง ปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้หมายถึงการเป็นผู้ประกอบการเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นผู้ที่อยู่ที่ไหนก็ไปสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น กล้าคิด กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง ต้องเป็นผู้สร้างงานวิจัย องค์ความรุ้ใหม่ๆ มีนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีสามารถใช้เชิงพาณิชย์ ทำประโยชน์ให้สังคม ผลักดันให้มม.สู่ม.อันดับโลกได้ ”ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าว

จากมหิดลโรงเรียนหมอ สู่ Entrepreneurial

     การก้าวสู่ World Class University โดยใช้แนวคิด MAHIDOL:Towards Being an Entrepreneurial University โดยมหาวิทยาลัยได้กำหนดยุทธศาสตร์ 5 ข้อที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

     1. ยุทธศาสตร์บูรณาการด้านการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการสร้างทักษะความเป็นผู้ประกอบการ พัฒนาและปรับปุรงหลักสูตรด้านทักษะความเป็นผู้ประกอบการที่ครอบคลุมวงจรผู้ประกอบการ(Entrepreneur Life Cycle) โดยออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญของภาควิชาต่างๆ เช่น Science Based Entrepreneur, Digital Based Entrepreneur, Creative Based Entrepreneur นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้ปรับเปลี่ยนด้านการเรียนการสอนไปสู่การมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เน้นการคิดค้นงานวิจัยที่เกิดมาจากความคิดสร้างสรรค์และนำนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนพร้อมทั้งสามารถต่อยอดสู่ผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่สร้างประโยชน์ได้จริงมากขึ้น

       2.ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงสหวิทยาการ พัฒนากิจกรรมเพื่อสนับสนุนการสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัย คณาจารย์ หน่วยงานจากภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการทำวิจัยที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและยกระดับศักยภาพด้านสังคมและเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการทำวิจัยร่วมและการทำวิจัยแบบสหวิทยาการ โดยมีกิจกรรมขับเคลื่อน อาทิ การจัด Networking Event การสร้าง Partnership โดยตรงกับบริษัทและชุมชนที่ตั้งโดยรอบมหาวิทยาลัย การสนับสนุนทุนวิจัย เป็นต้น

จากมหิดลโรงเรียนหมอ สู่ Entrepreneurial

    3.ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายและชุมชนนวัตกรรม มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายที่ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในด้านศิษย์เก่า องค์กรภาครัฐ และชุมชนเพื่อสนับสนุนการค้นหาผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมกิจกรรมขับเคลื่อนสู่การเป็น Entrepreneurial University โดยมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสร้างเครือข่าย Mentors, Experts และ Investors

      4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรุู้และนวัตกรรม มุ่งบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการดำเนินงานและพัฒนาบุคลากรให้มีส่วนร่วมกับกิจกรรม Entrepreneurial University โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การเปิดโอกาสให้บุคลากรของสถาบันเพิ่มพูนทักษะและความรู้

      5.ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่สร้างสรรค์ มุ่งเน้นการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานและกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม โดยมีกิจกรรมต่างๆรองรับ โดยเฉพาะการพัฒนา Innovative Space เพื่อสนับสนุนการพัฒนาต้นแบบสิ่งประดิษฐ์ เช่น Makerspace การสนับสนุนพื้นที่ Co-Working Space เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำงานร่วมกันและรองรับการพัฒนาธุรกิจใหม่

จากมหิดลโรงเรียนหมอ สู่ Entrepreneurial

       นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยมหิดลได้เปิด Innovation Space 5 แห่งได้แก่ 1.คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตพญาไท 2.วิทยาลัยนานาชาติ 3.คณะวิศวกรรมศาสตร์ 4.อาคารเจรจานวัตกรรม และ 5. ศูนย์พัฒนาเครื่องมือแพทย์และนวัตกรรมทางสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งดำเนินการร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยแต่ละพื้นที่จะมีเครื่องมือและบริการที่ต่างกันเพื่อให้สามารถพัฒนานวัตกรรมเฉพาะทางที่สร้างคุณค่าได้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

       “เราตั้งเป้าว่าบัณฑิต มม.ทั้งหมด ต้องมีคุณลักษณะ 4 อย่าง ได้แก่ ต้องรู้กว้างและลึกทั้งในแง่วิชาชีพ มีความเก่งระดับโลก และเก่งในการพัฒนาตนเองให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในที่ที่ตนอยู่ มีความเป็น Entrepreneur ความคิดสร้างสรรค์ ต้องทำดีและคืนประโยชน์แก่สังคม” อธิการบดี มม.กล่าว   

จากมหิดลโรงเรียนหมอ สู่ Entrepreneurial

      ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวอีกว่า การที่จะให้ใครสักคนอยากทำอะไรเพื่อเป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมนั้น ถือเป็นความท้าท้าย เป็นโจทย์ที่มหาวิทยาลัยต้องคิดเพื่อให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและการปรับตัวของมหาวิทยาลัยไม่ใช่เพียงการเรียน หลักสูตรเท่านั้น การสอนก็ต้องเปลี่ยนแปลงด้วย จะล้าสมัยคงไม่ได้ อาจารย์ไม่ใช่ทำหน้าที่ผู้สอน แต่เป็นเมนเทอร์ หรือผู้ให้คำปรึกษา หรือครูพี่เลี้ยงเพื่อให้เด็กได้ทำสิ่งที่คิดจนสำเร็จ และอนาคตมหาวิทยาลัยไม่ใช่เพียงเปิดรับเฉพาะเด็กจบมัธยมศึกษาเท่านั้น แต่ต้องเป็นที่รองรับเด็กมัธยมศึกษาไปจนถึงผู้สูงอายุ พัฒนาตนเองตลอดเวลา และต่อยอดการเปลี่ยแปลงไปสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไปฃ

        0 ชุลีพร อร่ามเนตร 0 [email protected]

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ