Lifestyle

"น้ำตาลจาก" สร้างอาชีพชาวตรัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มรดกทางภูมิปัญญา สู่การประกอบอาชีพ "น้ำตาลจาก" ของชุมชนปากแม่น้ำตรัง

      จากเป็นพืชจำพวกปาล์ม โดยมีการจัดอยู่ที่ในวงศ์ย่อย Nypoideae ซึ่งเป็นปาล์มเพียงชนิดเดียวที่เป็นพืชในป่าชายเลน และมีลำต้นอยู่ใต้ดิน นับเป็นพืชเก่าแก่มากชนิดหนึ่ง พบมากในบริเวณน้ำจืด และน้ำกร่อย ที่มีน้ำเค็มขึ้นถึง มักจะขึ้นเป็นดงขนาดใหญ่ เรียกว่า ป่าจาก หรือดงจาก

"น้ำตาลจาก" สร้างอาชีพชาวตรัง

     ต้นจากสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนเลยก็ว่าได้ เช่น ยอดจาก สามารถนำมาลอกใบอ่อนเป็นมวนยาสูบ ทางจากหรือพงจากสามารถนำมาทำเป็นกระดาษเยื่อจากมีลักษณะเหมือนกับกกระดาษสา ใบจากสามารถนำมาเย็บเป็นตับนำมามุงหลังคา และสามรถนำมาห่อแป้งที่ผสมกับมะพร้าวก็จะเป็นขนมจาก ก้านจากก็สามรถนำมาจักสานเป็นภาชนะต่างได้อย่างสวยงามทนทาน ผลอ่อนของจากก็สามารถนำมาลอกแก้วได้รสที่ หอมหวาน

"น้ำตาลจาก" สร้างอาชีพชาวตรัง

น้ำตาลจาก

     สำคัญที่สุด คือการทำน้ำตาลจาก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาเก่าแก่สืบทอดกันมากว่า 4 ชั่วอายุคน นายสมบูรณ์ ผลิผล อายุ 68 ปี ชาวบ้านโต๊ะเมือง ตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง กล่าว่า ตนเอง ได้เรียนรู้การทำน้ำตาลจาก มาจากปู่และพ่อ โดยตนเริ่มทำน้ำตาลจากเป็นตั้งแต่ อายุ 17 ปี ตอนแรกๆของการทำน้ำตาลจากเพื่อนำมาใช้บริโภคแทนน้ำตาลทรายในการปรุงอาหารทั้งคาวหวาน ผ่านมากว่า50 ปี ตนเองก็เกรงว่าการทำน้ำตาลจากจะสูญหายเพราะเด็กยุคใหม่ไม่สนใจทำน้ำตายจากแล้ว เลยปรึกษากับ นางสาวกาญจนา รุ่งเมือง ครูอาสาสมัครนอกโรงเรียน กศน.อำเภอกันตัง เพื่อหาแนวทางอนุรักษ์ สืบทอดการทำน้ำตาลจาก

"น้ำตาลจาก" สร้างอาชีพชาวตรัง

นายสมบูรณ์ ผลิผล

     ด้านนางสาวกาญจนา กล่าวว่า ตามที่คุณลุง สมบูรณ์ ผลิผลได้มาปรึกษาหาแนวทางในการอนุรักษ์ สืบทอดการทำน้ำตาลจาก ตนได้หารือกับทางนายวิเชียร จันทน์ฝาก ผอ. กศน.อำเภอกันตัง โดยมีการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น “การทำน้ำตาลจาก” จำนวน 40 ชั่วโมง โดยมีการรวมกลุ่มชาวบ้านผู้ประกอบอาชีพจากต้นจาก กว่า 30 คน เพื่อมาเรียนรู้การทำน้ำตาลจากเป็นผลสำเร็จ สามารถสร้างเป็นสินค้าของชุมชนได้หลายอย่าง ทั้งน้ำตาลจากสด น้ำตาลจากเข้มข้น น้ำส้มจาก ซึ่งเป็นที่ต้องการของลูกค้าเป็นจำนวนมาก จนผลิตแทบไม่ทัน

"น้ำตาลจาก" สร้างอาชีพชาวตรัง

      ด้านนายนิโรจน์ มุสิกธรรม พัฒนาการอำเภอกันตัง กล่าวเสริมว่าตอนนี้ทาง สำนักงานพัฒนาชุมชนได้เข้ามาส่งเสริม ต่อยอดกลุ่มที่ทาง กศน. ได้สอนการทำน้ำตาลจาก ด้วยการมีการให้สมาชิกกลุ่มได้มีการคิด วางแผน การเขียนโครงการรองรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าสู่มาตรฐานสินค้าชุมชน (OTOP) ต่อไป  ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างต้นจาก มาประกอบสัมมาอาชีพ หล่อเลี้ยงครอบครัวและคนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และยั่งยืน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ