Lifestyle

ดูทีวีชัดแจ๋วทุกที่ ถ้ามีสายอากาศอัจฉริยะ (มีคลิป)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หมดปัญหาเรื่องการหาคลื่นสัญญาณ และที่วางสายอากาศอีกต่อไป ซึ่งนวัตกรรมใหม่ตอบสนองระบบดิจิทัลในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของสังคมปัจจุบัน โดยนักวิจัย คณะวิศวะจุฬาฯ

       การเรียนรู้ที่แตกต่าง พัฒนาสู่ความสำเร็จ ก้าวทันประเทศไทยยุค4.0ใครบ้างจะรู้ว่า จากคนที่ชอบเรียนรู้ และคิดต่าง จะทำให้เกิดความสำเร็จที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงสุด ด้วยคำว่า “ใช้ได้ เรียนได้ และขายได้”เป็นการพัฒนาจากงานประจำพัฒนามาสู่งานวิจัย “สายอากาศอัจฉริยะ” จนคว้ารางวัลด้านสร้างสรรค์นวัตกรรมมุ่งขยายสู่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ และการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ต้องการความทันสมัย รองรับยุคดิจิตอล4.0

       ยากิ หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “เสาร์อากาศแบบก้างปลา” และเสาร์อากาศแบบหนวดกุ้ง ไม่ใช่ปัญหาในการติดตั้งเพื่อรับสัญญาณโทรทัศน์อีกต่อไป ปัญหาสัญญาณโทรทัศน์ขาดหาย ทั้งจากสภาพอากาศ สภาพแวดล้อม เหล่านี้กำลังจะหมดไป ด้วยสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจากนักวิจัยของไทยที่สร้างชื่อเสียงให้กับวงการการศึกษาไทยและวงการเทคโนโลยีด้านโทรทัศน์ในระดับโลก ของ"ธีรพงษ์ ประทุมศิริ หรือพี่ “โต”

ดูทีวีชัดแจ๋วทุกที่ ถ้ามีสายอากาศอัจฉริยะ (มีคลิป)

  นายธีรพงษ์ ประทุมศิริ  

       "ธีรพงษ์ หรือพี่ “โต”หนุ่มราชบุรี ที่มีความสนใจด้านวิทยุและโทรทัศน์ ด้านการสื่อสาร สำเร็จการศึกษาคอบ. (ไฟฟ้าสื่อสาร) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์ (ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์) และ วศ.ม. (นิวเคลียร์เทคโนโลยี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา (ครูปฏิบัติการ) (ชำนาญการ) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ได้รับรางวัลบุคลากรสายสนับสนุนผู้มีผลงานดีเด่นระดับชาติ ด้านสร้างสรรค์นวัตกรรม จากที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท) ประจำปี 2559 ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มคิดค้นการผลิตสายอากาศอัจฉริยะแบบติดตั้งไว้ในโทรทัศน์ ร่วมกับคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย ภาณุวัฒน์ จันทร์ภักดี อภินันท์ อินทร์ไชยา บุคลากรภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยนักวิจัยคือพรมม์ปภัส ภัครพรพรรณ์ ทำหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางด้านงานวิจัยและพัฒนาของคณะวิศวกรรมศาสตร์และส่วนงานอุตสาหกรรมซึ่งได้จดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาในนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         พี่โต เล่าว่างานวิจัยชิ้นนี้เกิดจากการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย หรือ R2R (Routine to Research) ซึ่งในปี 2558 รัฐบาลได้ประกาศเปลี่ยนระบบสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอะนาล็อกมาเป็นระบบดิจิตอล และรัฐบาลได้แจกคูปอง 690 บาท ให้ประชาชนจำนวน 22 ล้านครัวเรือน นำไปแลกซื้อ Set Top Box หรือใช้เป็นส่วนลดในการซื้อโทรทัศน์ iDTV เครื่องใหม่ การเปลี่ยนระบบสัญญาณโทรทัศน์ดังกล่าวทำให้การติดตั้งระบบสายสัญญาณเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของสายอากาศที่ติดที่ผนังอาคารภายในอาคาร ซึ่งเดิมทีสายรับสัญญาณโทรศัพท์จะเป็นเสาที่ติดตั้งบนที่สูงนอกอาคาร ที่เรียกว่า “เสาอากาศ” ต่อมาก็พัฒนามาเป็นเสารับสัญญาณภายในอาคาร ที่เรียกว่า “เสาหนวดกุ้ง” จนกระทั่งเมื่อปี 2558 ประเทศไทยต้องเปลี่ยนระบบสัญญาณโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล ทุกครัวเรือนต้องใช้สายอากาศแบบใหม่ที่ติดตามผนัง

ดูทีวีชัดแจ๋วทุกที่ ถ้ามีสายอากาศอัจฉริยะ (มีคลิป)

        "สอนแล็บให้แก่นิสิตจุฬาฯ นับตั้งแต่ปี 2528 ในวิชาสายอากาศกับการศึกษาดาวเทียม และคลุกคลีในวิชาชีพนี้มาตลอด จนกระทั่งปี 2556 ที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนระบบโทรทัศน์จากระบบ อนาล็อคเข้าสู่ระบบดิจิตอล และทีวีจอแบน ซึ่งไม่มีพื้นที่สำหรับการติดตั้งเสาอากาศแบบยากิ (ก้างปลา) หรือแบบหนวดกุ้ง นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องการคิดสร้างเสาอากาศแบบใหม่ที่สามารถมาแทนเสาอากาศแบบก้างปลาและหนวดกุ้ง และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเสาอากาศทั่วไปเมื่อพูดถึงนวัตกรรม ซึ่งหมายถึง การคิดได้ ทำได้ และขายได้ และการที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมได้ คือ เราต้องเป็นคนที่คิดต่าง เพราะหากเราทำเหมือนคนอื่น เราก็ต้องทำให้ดีกว่าเขา ซึ่งมันเหนื่อย นี่จึงเป็นแรงบันดาลใจในการคิดค้นผลงานวิจัยชิ้นนี้ โดยผมมีไอดอลคือ สตีฟ จ๊อบส์นี่คือการพัฒนาจากงานประจำมาสู่งานวิจัย หรือ Routine to Research (R2R) ที่ทำให้เกิด 3 ได้ คือ ใช้งานได้จริง ประกอบการเรียนการสอนได้ และขายได้” พี่โตกล่าว

       เขาจึงเริ่มลงมือวิจัยโดยมีพรมม์ปภัส เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ ILP เป็นผู้ช่วยวิจัย โดยวิจัยตั้งแต่ปี 2554 และขอทุนทำวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เงินทุนวิจัยเป็นเงิน 50,000 บาท เป็นเวลา 1 ปี และเมื่อเริ่มทดสอบสัญญาณกับจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพและต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นอาคารสูง กระจกบ้าน และกระจกรถยนต์ ก็ได้รับผลการทดสอบ้เป็นที่น่าพอใจและได้ผลดีมาก

ดูทีวีชัดแจ๋วทุกที่ ถ้ามีสายอากาศอัจฉริยะ (มีคลิป)

       ผ่านการทดสอบ 4 ถึงขั้นตอน ได้แก่ 1) การทดสอบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (lab test) ผ่านห้องปฏิบัติการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 2) การทดสอบภาคสนาม (field test) ณ ชั้นที่ 20 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 3) การทดสอบติดตั้งในรถยนต์ (drive test) ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และ 4) การทดสอบวัดในสภาพแวดล้อมใช้งานจริง (indoor reception test) จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และปัจจุบันได้มีการจดสิทธิบัตรจากกระทรวงพาณิชย์ และอนุสิทธิบัตรสำหรับการต่อยอดเป็นใบที่ 3 ในนามของจุฬาฯ กับสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ โดยได้มีการพัฒนาจากเดิมซึ่งเป็น Micro-strip antenna ที่ผู้ใช้สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง มีอัตราการขยายสัญญาณสูง รับสัญญาณได้รอบตัว เหมาะสำหรับการติดตั้งในอาคาร มีความหนา 1.6 มล. มาเป็นแบบ Antenna Flexible ซึ่งเป็นฟิล์มขนาดบาง 0.3 มล. โดยผลิตจากโพลีไอไมน์ (Polyimide) สามารถทนความร้อนได้ถึง 400 องศาเซลเซียส เหมาะกับการติดตั้งในสภาพทุกพื้นผิว ไม่ว่าจะเป็นผิวโค้ง อาคารสำนักงาน ที่พักอาศัย กระจกรถยนต์

        จากนั้นได้นำสิ่งที่ได้ไปถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นิสิตนักศึกษาเมื่อผลการทดสอบได้ผลดี จึงนำไปสู่การผลิตชิ้นงานสายอากาศอัจฉริยะแบบติดตั้งไว้ในโทรทัศน์ดิจิทัล แบบ Micro Stip และโดยยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร ปัจจุบันได้รับการจดอนุสิทธิบัตรใบที่ 3 จากกระทรวงพาณิชย์ และถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยจริงสู่นำไปสอนนิสิตในรายวิชาที่สอน ซึ่งปัจจุบันสอนรายวิชาให้กับนิสิตคณะวิศวกรรม จำนวน 2 วิชา คือ วิชาวิศวกรรม และวิชาวิศกรรมสายอากาศ

ดูทีวีชัดแจ๋วทุกที่ ถ้ามีสายอากาศอัจฉริยะ (มีคลิป)

       พี่โต บอกว่า จากข้อมูลการแจกคูปองเพื่อนำไปแลกซื้อ Set top box พบว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากรถึง 65 ล้านคน 22 ครัวเรือน และมีทีวีถึง 40 ล้านเครื่อง ซึ่งนับว่าเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มหาศาล จึงนำเสนอผลงาน “สายอากาศอัจฉริยะแบบติดตั้งไว้ในโทรทัศน์ดิจิทัล”สู่ภาคอุตสาหกรรม ได้ทำการเสนอขายให้กับบริษัท ATP จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการรถรับ-ส่งพนักงานบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ปัจจุบันได้ติดตั้งสายอากาศอัจฉริยะที่กระจกรถบัส จำนวน 200 คัน ซึ่งผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจอย่างมากไม่พบปัญหาในการรับสัญญาณแต่งอย่างใด

      นี่คือสัญญาณว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้รับชมภาพและเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์ทั้งในระบบ Analog และระบบ Digital ที่ใช้สายอากาศอัจฉริยะซึ่งคิดค้นโดยคนไทย ตรงตามรูปแบบการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล นำไปติดตั้งได้ทุกที่ เช่น บนผนัง บนทีวี บนกระจกสำนักงาน หรือแม้แต่บนกระจกรถยนต์เหมาะกับประเทศไทยยุค 4.0 นี้จริงๆ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ