Lifestyle

ฟันธงแยกกระทรวงเกิดยาก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"สุรพล" คิดต่างแยกกระทรวงการอุดมศึกษา กลับสู่ระบบราชการเต็มรูปแบบ ลั่นมหาวิทยาลัยต้องอิสระ คาดทำงานมากขึ้นเหตุติดอาวุธให้สกอ.

      ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า  วันนี้มีม.ของรัฐ ที่เป็นมหาวิทยาลัยหรือจะเรียกว่าสถาบัน 73 แห่ง (ไม่ได้รวมมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ ถ้านับรวมสังกัดอื่นๆ จะเป็น 79 แห่ง) ซึ่งมีบุคลากร 185,000 คน  ในจำนวนนี้ 53,000 คน เป็นอาจารย์ เป็นผู้สอน มีศาสตราจารย์ 200 คน มหาวิทยาลัยมีความเติบโตพอสมควร สิ่งที่ผู้คนในแวดวงอุดมศึกษาหรือคนข้างนอกไม่ตระหนัก คือการที่มหาวิทยาลัยไทยมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนหน่วยงานราชการ ไม่เหมือนกรม กระทรวง ทั้งคนและนอกอุดมศึกษา ทุกคนมีมายาคติว่ามหาวิทยาลัยต้องทำตามคณะรัฐมนตรีกำหนด ในความเป็นจริงไม่ใช่ เพราะขณะที่รัฐมนตรีบอกให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบราชการทุกวันจันทร์ ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนทำ ไม่ทำตามมติครม.หรือข้าราชการมหาวิทยาลัย  จบป.ตรี ปรากฎการเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการในกระทรวง

      "ไม่มีใครตั้งคำถาม ว่ามหาวิทยาลัยเป็นส่วนราชการของรัฐ ทำไมถึงแตกต่างจากราชการรัฐในส่วนกระทรวง หรือทบวงกรมอื่น ซึ่งเหตุที่มหาวิทยาลัยไม่เหมือนราชการอื่นๆ นั้น มี 3 ประการ คือ 1.มหาวิทยาลัยทุกแห่งในไทยมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดตั้ง และกำหนดวิธีการบริหารงานมหาวิทยาลัยไว้เป็นเอกเทศของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ ไม่มีส่วนราชการไหนของไทยที่มีพ.ร.บ.ของตัวเอง และพ.ร.บ.แต่ละมหาวิทยาลัยก็ไม่มีความเหมือนกัน กำหนดวิธีการจัดการ  การบริหารและให้อำนาจในการบริหารงานให้เป็นไปตามพ.ร.บ.

       2. มหาวิทยาลัยไทยบริหารเบ็ดเสร็จโดยสภามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นองค์คณะบุคคล ไม่ได้บริหารโดยคนๆเดียว เหมือนกรม สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจมากสุด ไม่ใช่อธิการบดี เพราะสภามหาวิทยาลัย เป็นคนตั้งอธิการบดี อนุมัติหลักสูตร หรือถอดถอนปริญญาใครก็ได้ สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรกลุ่ม มีจำนวนคนหลากหลาย จะเป็นใครก็ได้ ไม่มีสายบังคับบัญชา และรมว.ศึกษาธิการ ไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาสภามหาวิทยาลัย  โดยอธิการบดีทำงานแทนสภามหาวิทยาลัย  และไม่มีใครสั่งสภามหาวิทยาลัยได้

       และ 3.โดยผลการกำหนดกฎหมาย และการบริหารโดยคณะบุคคล ทำให้มหาวิทยาลัยมีอิสระอย่างมาก มหาวิทยาลัยทำสัญญาตกลงอะไรกับใครก็ได้ มหาวิทยาลัยเป็นนิติบุคคล   เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยไม่จำเป็นต้องส่งคลังเหมือนกรมกระทรวงอื่น แต่เอาไปใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยได้" ศ.ดร.สุรพล กล่าว 

      ทั้งนี้ สำหรับ แนวคิดเรื่องการตั้งกระทรวงอุดมศึกษา อยู่ในกรอบมายาคติ ตั้งไปเพื่ออะไร ต้องการอะไร เพราะมหาวิทยาลัยเป็นอิสระ เป็นนิติบุคคล  หากเป็นกระทรวง ต่อไปอาจต้องแต่งชุดสีกากีทุกวันจันทร์ ต้องให้ปลัดกระทรวงอุดมศึกษาสั่งงานเหมือนกรมการปกครอง อยู่ในสายบังคังบัญชา มหาวิทยาลัยจะมีฐานะเป็นกรม ทำให้อำนาจของรมว., ปลัดกระทรวงในระบบราชการกลับมา เหมือนคนรุ่นเก่าๆ เข้าใจว่ามหาวิทยาลัยเป็นราชการ ทั้งที่เราแยกออกมา แต่ความเข้าใจผิดพลาด

      นอกจากนั้นมายาคติในส่วนของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)มีความเข้าใจผิดว่าควบคุมมหาวิทยาลัย กำกับมหาวิทยาลัยไม่ได้ จนต้องแก้กฎหมาย ทั้งที่จริงๆ ทำได้ เช่น ถ้าพบว่ามหาวิทยาลัยไหนไม่ได้มาตรฐาน  ถ้ากกอ.ไม่จำเป็นต้องสั่ง แต่เตือน และถ้ายังไม่สามารถแก้ไขได้ กกอ.ประกาศได้ทันทีว่าคณะ มหาวิทยาลัยนั้นไม่ได้มาตรฐาน แล้วมาดูว่าจะมีใครสมัครเรียนมหาวิทยาลัยนี้หรือไม่ ซึ่งมีวิธีมากมายที่กกอ.สามารถใช้อำนาจได้ 

     "ถ้าเปลี่ยนเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา เราจะเปลี่ยนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ทำหน้าที่เลขานุการตอนนี้ จะเป็นเสมือนสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา ที่มีอำนาจในการสั่งการ และเมื่อเป็นกระทรวงต้องมีงานเพิ่ม เพราะเป็นธรรมขาติของกระทรวง ตอนนี้สกอ.เล็ก แต่เมื่อแยกเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา สกอ.จะติดอาวุธ และจะบอกให้มหาวิทยาลัยทำ มหาวิทยาลัยจะทำงานหนักมากขึ้น" ศ.ดร.สุรพล กล่าว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ