Lifestyle

"ความเชื่อ...ที่ไร้ความหวัง" อุดมศึกษาไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มายาคติ เป็นการพูดถึงความเชื่อผิด ๆ ความเข้าใจของมหาวิทยาลัยที่ไม่ตรงกับประเทศ ซึ่งมายาคติในอุดมศึกษาไทย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม..

     เดินก้าวสู่ปี 83 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของประเทศไทยที่ได้ก่อตั้งขึ้น ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2477 โดยมีชื่อเมื่อเริ่มก่อตั้งว่า "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง" (มธก.) มหาวิทยาลัยนี้ถือกำเนิดมาจากความคิดริเริ่มของ ศ. ดร.ปรีดี พนมยงค์

      ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ กีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ ประจำปี 2559  กล่าวปาฐกถา หัวข้อ  มายาคติในอุดมศึกษาไทย  ตอนหนึ่งว่า มายาคติ เป็นการพูดถึงความเชื่อผิด ๆ ความเข้าใจของมหาวิทยาลัยที่ไม่ตรงกับประเทศ ซึ่งมายาคติในอุดมศึกษาไทย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก  มายาคติผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ ศธ.มีการบริหารเป็นองค์กร กรรมการดูแลแต่ละองค์กร  ซึ่งโครงสร้างแบบแท่ง ไม่จำเป็นต้องมีสายบังคับเดียวกัน ไม่ได้มีใครคนเดียวดูแลทั้งองค์กร  เพราะการศึกษาคาดหวังให้คนๆ เดียวทำคงไม่ได้ จึงต้องมีคณะบุคคล ยิ่งอุดมศึกษา ไม่ใช่เรื่องการบริการประชาชน และธรรมาติของอุดมศึกษาต้องการความอิสระ ไม่ต้องการให้ใครสั่ง เพราะคงไม่มีใครรู้จักมหาวิทยาลัยดีเท่ากับมหาวิทยาลัยนั้นๆ เอง ระดับนโยบาย และองค์กรกลางภาครัฐ เข้าใจมหาวิทยาลัยผิดพลาด บอกให้มหาวิทยาลัยทำเหมือนกรม ในเรื่องงบประมาณ อัตรากำลัง ทุกแห่งล้วนคิดว่ามหาวิทยาลัยเหมือนราชการอื่น ซึ่งไม่ค่อยมีคนเข้าใจ และมหาวิทยาลัยต้องพยายามอธิบายเรื่องนี้ 

       กลุ่มที่ 2  มายาคติของผู้กำหนดนโยบายหรือผู้บริหารการศึกษา หลายครั้งที่มีการตั้งคำถามว่า ทำไมสั่งมหาวิทยาลัยไม่ได้ไม่ควรให้มหาวิทยาลัยคิดเอง หรือต้องให้รมว.ศึกษาธิการเป็นคนสั่ง  กลุ่มที่  3 มายาคติอุดมศึกษาระดับการบริหารงานในมหาวิทยาลัย ตามความจริง การบริหารสูงสุดในหมาวิทยาลัย คือสภามหาวิทยาลัย ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน แต่ด้วยความคุ้นเคยระบบราชการ และสภามหาวิทยาลัยมองว่าตัวเองเป็น กลุ่มคน กรรมการที่ปรึกษา ทั้งที่ สภามหาวิทยาลัย ไม่ได้มีหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษา ให้ความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำ มองว่าอธิการบดีเป็นผู้รับผิดชอบบริหารมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่สภามหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบมาตรฐานที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ รับผิดชอบงบประมาณ  การบรรจุอัตรากำลังอาจารย์ เจ้าหน้าที่ประจำของมหาวิทยาลัย ต้องมองว่าเป็นผู้รับผิดชอบ  

       "สภามหาวิทยาลัยไม่ได้นำพากับการบริหารมหาวิทยาลัย ปล่อยให้อธิการบดีรับผิดชอบ เพราะทุก 3-4 ปี เปลี่ยนอธิการบดี เปลี่ยนตามวาระ จะเอาเณรมาเป็นเจ้าอาวาสยังได้   แต่สภามหาวิทยาลัยยังอยู่  ซึ่งเป็นมายาคติของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย อาจารย์ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ไม่เข้าใจว่ามหาวิทยาลัยมีความพิเศษ อิสระไม่เหมือนที่อื่น  เช่น การที่ประชุมสภาคณาจารย์ หรือสภาบุคลากร พนักงานของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เรียกร้อง ต่อต้าน การที่เอาคนอายุเกิน 60 ปี มาแต่งตั้งเป็นอธิการบดี เห็นด้วยกับความเคลื่อนไหวแบบนี้ แต่ไม่เห็นด้วยที่ยกประเด็นขึ้นมาว่าทำไม่ เกิน 60 ปี  เป็นอธิการบดีไม่ได้ เพราะเป็นการอธิบายเชิงราชการ เกษียณอายุราชการ 60 ปี และที่ร้องว่าผิดกฎหมาย แต่ไม่มีข้อห้ามใดๆ ไม่ผิดกฎหมาย  เป็นดุลยพินิจของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง หรือการขอเงินเดือนแก่พนักงานมหาวิทยาลัย 1.4-1.5 เท่าแก่รัฐ แต่มหาวิทยาลัยจะนำมาจัดสรรอย่างไรก็ได้  เพราะอัตราที่ตั้งไว้เฉพาะเสนอสำนักงบประมาณเท่านั้น ถ้ามหาวิทยาลัยจะตัดสินใจว่าใช้  1.3 เท่า แล้วหักไว้เป็นเงินสวัสดิการ  เงินสมทบ หรือตำแหน่งวิชาการ ก็เป็นดุลยพินิจด้วยชอบ    

      ตามพ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัย และไม่ใช่สิทธิ์ของพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะมาร้องเรื่องนี้ ดังนั้น ด้วยความเคารพ คำวินิจฉัยของศาลปกครอง ว่าเข้าใจเรื่องนี้ใหม่ นี้คือ มายาคติ เราคิดตามระบบราชการ และไม่เข้าใจความอิสระของมหาวิทยาลัย ถ้าเป็นข้าราชการตั้งเท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น แต่พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งออกข้อบังคับเอง เป็นดุลยพินิจมหาวิทยาลัยทำได้ และไม่ใช่สิทธิพนักงานมหาวิทยาลัย 

      "เรื่องเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่า แม้กระทั้งผู้คนในอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งไม่เข้าใจเรื่องเฉพาะของตนเอง ผมก็ไม่คิดว่าเราจะเปลี่ยนแปลงอุดมศึกษาได้มาก  ไม่ว่าจะเป็นบริบทโลกที่เปลี่ยนไป เราจะตระหนัก  4.0 ถ้าไม่เข้าใจพื้นฐานระบบบริหาร การออกแบบมหาวิทยาลัย ความสัมพันธ์ระหว่างอุดมศึกษากับหน่วยงานของรัฐ ชัดเจนตามพ.ร.บ.ของมหาวิทยาลัย  ผมไม่ค่อยมีความหวัง ปรับรื้อระบบอุดมศึกษาของประเทศ ทั้งหมดนี่คือสิ่งที่เรียกว่ามายาคติในอุดมศึกษาไทย" ศ.ดร.สุรพล กล่าว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ