Lifestyle

ป้องกัน"คอร์รัปชั่น-รั่วไหล"วงการศึกษา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศธ.ต้องจัดทำฐานข้อมูลผู้เรียนรายบุคคลที่สามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน ใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่าง ศธ.หน่วยงานอื่นป้องกันงบประมาณรั่วไหล

     “การพัฒนาเด็ก สร้างคน ต้องรองรับความต้องการของประเทศในอนาคตไม่ว่าจะเป็นในสาขาวิชาชีพ วิชาการ ต้องมาช่วยกันวางแผน แผนการศึกษาแห่งชาติจะเป็นเหมือนไบเบิ้ล เป็นกรอบในการขับเคลื่อน พัฒนาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ยุทธศาสตร์ชาติ ต้องครอบคลุมทั้งเรื่องความมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน ทำให้เกิดความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความสมดุลเรื่องสิ่งแวดล้อม การที่ประเทศไทยจะเดินหน้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 รองรับกระแสเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าได้นั้น ตัวเด็กต้องเป็นศูนย์กลาง ส่วนครู ผู้บริหาร หลักสูตร การจัดการศึกษา ทรัพยากรต่างๆ จะเป็นปัจจัยเสริมให้เด็กเกิดการพัฒนาตั้งแต่เกิดไปจนถึงตลอดชีวิต” ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจด้านจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ กล่าว

ป้องกัน"คอร์รัปชั่น-รั่วไหล"วงการศึกษา

      สภาการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.)เปิดตัวแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560 - 2579 นัดแรกภาคใต้อย่างเป็นทางการ ว่าเป็นแผนของประชาชนทุกคน และทยอยชี้ให้เห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพราะการศึกษาเป็นเรื่องของทุกคน โดยจัดการประชุมแถลงแผนให้กับทุกองค์กรหลักของศธ.รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในฐานะผู้รับผิดชอบต้องมีวิจารณญาณ เข้าใจ พัฒนาเด็กไปสู่ศตวรรษที่ 21 ให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พัฒนางานวิจัยที่สามารถต่อยอดมาใช้ประโยชน์ได้ ผลิตกลุ่มคนที่จะทำให้ประเทศไทยพ้นกับดักความไม่เท่าเทียมไปทั่่วประเทศแล้วในขณะนี้

ป้องกัน"คอร์รัปชั่น-รั่วไหล"วงการศึกษา

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ 

     ดร.อนุสรณ์ อธิบายว่า แผนการศึกษาแห่งชาติระยะเร่งด่วนช่วงปี 2560-2561 กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)จัดทำฐานข้อมูลผู้เรียนรายบุคคลที่สามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่าง ศธ.และหน่วยงานอื่น รวมทั้งการขยายการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และการใช้ประโยชน์จากDLIT, DLTVการจัดอัตรากำลังครูให้ครบตามเกณฑ์ การพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา การปรับระบบการสอบO-Net ให้เป็นที่ยอมรับ ระบบการศึกษาที่เปลี่ยนไป สถานภาพของครูก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นการชี้แนะแนวทางชีวิตไม่ใช่แค่สอนความรู้แก่ผู้เรียนเท่านั้น

ป้องกัน"คอร์รัปชั่น-รั่วไหล"วงการศึกษา

     รวมถึงการปฏิวัติดิจิทัลที่เน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูงสามารถยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน เปิดโอกาส สร้างความเท่าเทียม ไม่มีสิ่งใดปิดกั้นการเรียนรู้ของทุกคนได้อีกต่อไป รวมถึงการขับเคลื่อนแผนสร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและพร้อมเข้าร่วมในการผลักดันแผนการศึกษาชาติ 20 ปี สอดรับกับความเชื่อมโยงระหว่างแผนการศึกษาชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายรัฐบาล 4.0 สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

ป้องกัน"คอร์รัปชั่น-รั่วไหล"วงการศึกษา

     "ทุกหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง จะต้องปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกฎหมายต่างๆ ให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาในระดับต่างๆ และสร้างช่องทางให้ประชาสังคมมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั้งระดับนโยบายและพื้นที่ ให้พร้อมเคลื่อนตัวเข้ากรอบดำเนินงานที่วางไว้ เมื่อเราได้ข้อมูลผู้เรียนรายบุคคลที่สามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่าง ศธ.และหน่วยงานอื่น ที่ถูกต้องชัดเจนจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดสรรงบประมาณต่างๆลงไปได้อย่างชัดเจนตรงประเด็นตามความต้องการและไม่ซ้ำซ้อนรั่วไหล"  ดร.อนุสรณ์ กล่าว

     ประเด็นการจัดทำข้อมูลทั้งระบบให้สามารถตรวจสอบได้อย่างถูกต้องชัดเจน ว่ากันว่ามีการหารือกันในที่ประชุมคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา ที่มี ศ.เกียรติคุณนพ.จรัส สุวรรณเวลา เป็นประธานด้วยว่าหากสามารถทำได้ จะลดการซ้ำซ้อนและมีงบประมาณมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาได้มากขึ้นอีกด้วย แต่แผนดังกล่าวไม่ได้มีแต่ศธ.ดำเนินการเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันหลายหน่วยงาน เพื่อสร้างจุดเน้นสำคัญของการผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ

ป้องกัน"คอร์รัปชั่น-รั่วไหล"วงการศึกษา

    “ดร.กมล รอดคล้าย”  เลขาธิการ สกศ. อธิบายว่าจากนี้ไปทุกหน่วยงานจัดการศึกษาต้องขับเคลื่อนตาม 6 ยุทธศาสตร์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ประกอบด้วย 1.ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ผ่านการสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มประเทศอาเซียนและประชาคมโลก 2.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนของชาติ 4.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันทางสังคม 5.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ6.ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและการบริหาร

ป้องกัน"คอร์รัปชั่น-รั่วไหล"วงการศึกษา

      "แผนการศึกษาแห่งชาติดังกล่าว จะช่วยพลิกประวัติศาสตร์ การศึกษาไทยได้ ถ้าสามารถบริหารงบประมาณ พัฒนาการศึกษา และเชื่อมโยงกับภาคเอกชน และทุกภาคส่วนทำให้เกิดความเข้มแข็งมากขึ้น และนำเรื่องประชารัฐเข้ามามีส่วนในการพัฒนาแผนดังกล่าว โดยจากนี้ไป สกศ.จะตั้งคณะอนุกรรมการติดตามการทำงานในพื้นที่ว่าหน่วยงานทำตามแผนหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคอะไรจะได้นำมาหารือต้นสังกัด เพื่อดำเนินการแก้ไขให้บรรลุตามแผนต่อไป โดยเฉพาะการจัดทำข้อมูลผู้เรียนรายบุคคลที่สามารถเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่าง ศธ.และหน่วยงานอื่น ที่ถูกต้องชัดเจนจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดสรรงบประมาณต่างๆลงไปได้อย่างชัดเจนตรงประเด็นตามความต้องการและไม่ซ้ำซ้อนรั่วไหล ที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน" เลขาธิการ สกศ. กล่าว

     การที่แผนการศึกษาชาติ เขียนวิธีการ เป้าหมายและตัวชี้วัดไว้อย่างชัดเจน พร้อมประเมินสภาวการณ์ของประเทศและของโลก เพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ตลาดงาน และการพัฒนาประเทศ คงทำให้เชื่อได้ว่าจะทำให้เป้าหมายที่เขียนไว้เป็นจริงได้

      0 หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ 0 [email protected]

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ