Lifestyle

“เด็กเตรียมฯ” ห่วงใช้เกรดเฉลี่ยคัดคนเข้ามหาวิทยาลัย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“สุชัชวีร์” ย้ำTCAS ระบบมีข้อดี สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ ขณะที่ “เด็กเตรียมฯ” ห่วงใช้เกรดเฉลี่ยคัดคนเข้ามหาวิทยาลัย หวั่นไม่เท่าเทียม

           การพัฒนาระบบ " TCAS (ทีแคส)"เป็นความร่วมมือของทุกมหาวิทยาลัยที่ตกลงเข้าร่วมกระบวนการพร้อมกันตั้งแต่การปรับช่วงเวลารับสมัครแต่ละรอบให้ตรงกันและยอมเข้าระบบเคลียริงเฮาส์หรือการจัดการที่นั่งกลางทุกมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เนื่องจากทุกแห่งต้องการลดภาระของนักเรียนและผู้ปกครอง รวมทั้งต้องการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

          เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2560 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา "ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.)และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.)" ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปีการศึกษา 2561 หรือระบบ TCAS หรือทีแคส แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จำนวน1,000 กว่าคน

“เด็กเตรียมฯ” ห่วงใช้เกรดเฉลี่ยคัดคนเข้ามหาวิทยาลัย

      

       ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า วันนี้ที่มาพูดในโรงเรียนที่โยนเหรียญไปทางไหนก็เป็นเด็กประสบความสำเร็จ  แต่จะสำเร็จเพื่อตัวเองหรือสำเร็จเพื่อทำให้ประเทศของตนเองดีขึ้นนั้นต้องขึ้นอยู่กับทุกคน  ซึ่งเด็กโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สามารถมีรถสปอร์ต เครื่องแรง มีบ้านใหญ่สวยงาม มีอำนวยความสะดวกแต่นอกรั้วบ้านมีแต่โจร มีแต่ถนนขรุขระ หรือทุกคนอยากมีรถเล็ก มีบ้านหลังเล็ก แต่ถนนราบเรียบสะดวก ไม่ต้องมีรั้วใหญ่เพื่อป้องกันโจร

        "เชื่อว่าเด็กเตรียมอุดมฯ สามารถสอบเข้าแพทย์ได้ ซึ่งดีใจกับทุกคนที่จะเป็นแพทย์แต่ต้องซื้อเครื่องมือต่างชาติ อนาคตประเทศไทยต้องการเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ เริ่มคิดว่านอกจากพัฒนาเปลี่ยนแปลงตนเองแล้ว ต้องเปลี่ยนแปลงประเทศไทย จากถนนขรุขระ เป็นถนนที่เรียบสวย เป็นประเทศที่ไม่มีโจรได้อย่างไร ความสำเร็จที่จะเข้าไปในมหาวิทยาลัยไม่ใช่ที่สุด สมัยตนมีโรงเรียนแพทย์ 4-5 แห่ง แต่ตอนนี้มี 22 แห่ง ที่นั่งเรียนจะมีมากและความยากไม่เท่าสมัยก่อน ทุกคนมีสิทธิ์เข้าเรียนได้"ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าว

“เด็กเตรียมฯ” ห่วงใช้เกรดเฉลี่ยคัดคนเข้ามหาวิทยาลัย

        ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวต่อไปว่ามีนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ซักถาม ถึงการนำเกรดเฉลี่ยมาใช้ในระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เพราะแต่ละโรงเรียนไม่เหมือนกัน ทำไมต้องนำมาใช้คัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย และ รู้สึกว่าไม่เท่าเทียมกันนั้น ได้ชี้แจงว่าหากทุกโรงเรียน มีเพียงการสอบผ่านกับไม่ผ่าน ถ้าไม่มีเกรดเฉลี่ย ไม่มีการประเมิน นักเรียนอาจจะไม่ขยัน ไม่ตั้งใจเรียน เนื่องจาก เกรดเฉลี่ย คือส่วนหนึ่งของการประเมิน ดังนั้น ยังจำเป็นที่ทุกโรงเรียนต้องใช้เกรดเฉลี่ยแต่ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ดูเฉพาะเกรดเฉลี่ยเพียงอย่างเดียว ยังมีการนำแฟ้มสะสมงาน การสัมภาษณ์มาใช้ และทีแคสไม่ใช้ระบบที่จะดูเฉพาะเกรดเฉลี่ยอย่างแน่นอน  อย่างไรก็ตาม จะนำผลการเดินสายชี้แจงระบบทีแคส 2 ครั้งก่อนหน้านี้  รวมถึงข้อเสนอแนะของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในครั้งนี้ เสนอต่อคณะทำงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับระบบทีแคสต่อไป

“เด็กเตรียมฯ” ห่วงใช้เกรดเฉลี่ยคัดคนเข้ามหาวิทยาลัย

       นอกจากนั้น  ถ้าเด็กเตรียมอุดมศึกษาไม่คิดถึงอนาคตประเทศ อีก 20 ปี ประเทศไทยเหมือนเดิม ตอนนี้กำลังพูดกับคนที่เปลี่ยนแปลง  อยากให้กำลังใจทุกคน  ซึ่งระบบทีแคส เป็นระบบที่นำมาใช้เพื่อคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในปี 2561 มีข้อดี  คือเด็กทุกคนมี 1 สิทธิ์เท่าเทียมกัน แตกต่างจากอดีตที่คนเก่งได้ประโยชน์ กั๊กสิทธิ์ หรือคนรวยก็มีสิทธิ์สอบได้มากกว่า เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยสอบไม่ตรงกัน แต่ระบบทีแคส สอบตรงกันเวลาเดียวกัน สร้างความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ให้เด็กอยู่ในชั้นเรียนมากที่สุด 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ