Lifestyle

ทำไม "เอ็นจีโอ" ค้านแก้กฎหมายบัตรทอง !!??

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำไม "เอ็นจีโอ" ต้องค้านแก้กฎหมายบัตรทอง แจงผลเสีย ยันไม่มีผลประโยชน์ และไม่มีสีเสื้อทางการเมืองเกี่ยวข้อง

 

             นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และอดีตกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ดสปสช.) ให้สัมภาษณ์รายการกรองข่าวเช้านี้ทางสถานีวิทยุ FM 102 ถึงการคัดค้านร่างแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ว่า เราพบว่าสิ่งที่ควรแก้แล้วไม่แก้คือมาตรา 5 ววรรคสอง  ที่ให้ประชาชนร่วมจ่าย ณ จุดบริการ และประชาชนผู้ยากไร้มีสิทธิรับบริการฟรี เรามองว่านี่เป็นปัญหาสำคัญ และถูกหยิบยกมาทวงบุณคุณกับประชาชนว่า คุณเข้ามาใช้บริการอย่างฟุ่มเฟือย ดังนั้นถ้าจะกันไม่ให้มาใช้อย่างฟุ่มเฟือย ต้องสร้างกำแพงทางการเงินคือให้ร่วมจ่าย ณ จุดบริการ  หากจะแก้ต้องเอาถ้อยคำนี้ออกไป   แต่กรรมการไม่ตัดเพราะเขาเชื่อว่าอนาคตระบบจะไม่มีสตางค์และเรียกร้องให้ประชาชนร่วมจ่าย ซึ่งหากมาเขียนกฎหมายให้ร่วมจ่ายจะไม่ทันการณ์ เราคิดว่าเป็นภาระ แต่การจะตัดไม่มีเงานเอสารวิจัยใดๆมายืนยัน  ขณะที่มีงานหลายชิ้่นทั้งของกระทรวงสาธารณสุขเองก็ยืนยันว่างบประมาณที่ใช้อยู่มันเพียงพอ  หากเราคงสัดส่วนได้ที่ 17     และไม่ต้องมาเป็นดาบอาญาสิทธิ์ว่าเมื่อไหร่ฉันอยากเก็บก็เก็บได้

             นายนิมิตร์กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่าสนใจคือจะเพิ่มสัดส่วนกรรมการฟากผู้ให้บริการ    เพราะกฎหมายเขียนให้อะไรกก็ตามที่กรรมการกำหนดให้เป็นไปตามทีกำหนด   ฝั่งผู้ให้บริการ หรือผู้บริหารกระทรวงมีความเชื่อว่าอนาคตต้องให้ประชาชนร่วมจ่าย  กรรมการที่เพิ่มเข้าไปมากแบบนี้จะทำให้ทำอะไรก็ได้ในอนาคต  เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เรามโน  มีปรากฏการณ์ว่า รมต. อยากได้อะไรบอร์ดฝั่งราชการก็ถวายให้หมด  โดยตัวอย่างรูปธรรม เช่นตอนที่มีการเลิก 30 บาท พอการเมืองบอกจะให้เก็บ 30บาทใหม่  ก็ไม่มีใครรค้านมีแต่ภาคประชาชนที่ค้านแต่ก็ไม่สำเร็จ สุดท้ายก็ต้องกลับมาร่วมจ่าย 30 บาท ทั้งๆที่มีการศึกษาว่า 30 บาทไม่ช่วยเข้าไปเติมเงินในระบบหลักประกันเลย ซ้ำยังทำให้โรงพยาบาลเป็นภาระมีการทำบัญชีตรวจสอบ แต่ได้เงินน้อยมาก แต่ว่าฉันจะเอานี่คือรูปธรรมที่ชัดที่สุด  เราเลยมองว่าทุกมาตราที่แก้หรือไม่ มีความสัมพันธ์เชิงผประโยชน์อยู่ตลอดเวลา  

ทำไม "เอ็นจีโอ" ค้านแก้กฎหมายบัตรทอง !!??


             นายนิมิตร์กล่าวต่อว่าการไปตัดแขนตัดขาตัดกระบวนการที่สำคัญโดยคิดว่าจะไปสร้างกลไกใหม่ เช่นกลไกร่วมเพื่อต่อรอราคายาตรงกลาง และซื้อในราคาที่กระทรวงสาธารณสุขต่อรองได้ ตรงนี้มีงานที่ยืนยันชัดเจนว่า ทีผ่านมาไม่มีพาวเวอร์พอจะไปต่อรองเพราะไม่รู้ว่าจะใช้ยาอะไรเท่ไหร่หรือโรคอะไร เราเรียกต่อรองลม   โดยให้บริษัทเสนอราคามา  พอต่อรองได้ ก็กระจายว่าได้ราคานี้ และให้แต่ละเขตไปทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้นจึงไม่ใช่ราคาเดียว  กลไกตรงนี้ที่ทำมากว่า 10 ปี เรารู้ว่ายาที่สำคัญในโรคร้ายแรงมีผู้ป่วยที่ไหน มียาอะไรใช้ ทุกโรคเป็นอย่างนี้ โดย สปสช. เรียกบริษัทยามา  มีทุกภาคสส่วนอยู่ใวง และเคาะเป็นตัวเงินเช่นเส้นเลือดหัวใจ ที่ 8 หมื่น เหลือหมื่นกว่าบาท  พอซื้อตรงกลาง  เราก็รู้เลยว่าที่ไหนใช้เท่าไหร่ มีกระบวนการจัดส่งที่เป็นระบบ  นั่นเป็นประโยชน์ แต่ถูกชี้ว่า สปสช. ไม่มีอำนาจำโดย คตร.  ดังนั้นถ้าอยากแก้ก็ต้องให้อำนาจ  เพื่อให้อำนาจครอบคลุม แต่กรรมการแก้กลับไม่เอา เราก็เลยมองว่าเป็นจุดวิกฤต

             "ตอนนี้สัดส่วนในบอร์ดจะเพิ่มให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขขึ้นเป็นรองประธาน เพิ่มตัวแทนจากฝั่งผู้ให้บริการ จากทุกระดับ และเพิ่มฝั่งหน่วยบริการนอกระบบเข้าไปอีก 4 คน  ตัด อปท. และไปเพิ่มฝั่งวิชาชีพ เช่นแพทยสภา เภสัช ทันตแพทย์ กายภาพ สภาการพยาบาล  เราจึงบอกว่า เดิมมีภาคประชาชนเก้าด้าน  แต่ต้องไปขึ้นทะเบียนและเลือกตั้งหาตัวแทน ให้มาด้านละหนึ่งคนและเลือกเหลือ 5 คน   ดังนั้นต้องเพิ่มสัดส่วยประชาชนเข้าไป  แต่เขาก็ไม่ได้รับฟัง  ทั้งนี้จากเดิมกรรมการบอร์ด สปสช. มี 30 คน จะมี ข้าราชการประจำ 7 คน สภาวิชาชีพ 5 คน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  4 คน  ภาคประชาชน 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน  แต่ฉบับแก้ใหม่จะเพิ่มเป็น 37 คน   ข้าราชการจะเพิ่มมากขึ้น  จะทำให้บอร์ดกำหนดอะไรก็ได้  เมื่อฝั่งผู้ให้บริการจัดบริการโรคนั้นโรคนี้ เขาจะบอกว่ารักษาได้ แต่ขอราคาเท่านั้นเท่านี้ หรือขอไม่รักษาหากเกิดแบบนี้คุณไม่มีกลไกอะไรไปค้านในบอร์ดเลยนะ"นายนิมิตร์กล่าว 

             นายนิมิตร์กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการแยกเงินเดือน ของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเดิมถูกคิดรวมไปต่อหัวที่ลงไปแต่ละโรงพยาบาล    ในพื้นที่หนึ่งๆที่มีประชาชนอยู่ต้องมีหลักประกันว่าหน่วยบริการต้องมีเงินพอจะรักษาคนในพื้นที่จึงใส่ค่าแรงเข้าไป และเป็นมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขต้องคำนึงถึงประชากร  แต่เรื่องนี้เป็นปัญหาเรื้อรังของกระทรวงฯที่ไม่มีแผปนกระจายกำลังคนไปในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลได้เพียงพอ  พอเป็นอย่างนี้ไปแยกเงินเดือน ก็จะยิ่งเป็นปัญหา หากโรงพยาบาลจัดการกำลังคนไม่ได้ แทนที่จะมีแพทย์ห้าคน กลับมีแค่สองเมื่อ เงินที่เป็นค่าแรงไม่ไปแล้ว จะเอาเงินที่ไหนไปจ้างหมอที่ขาด หรือจ้างลูกจ้างที่จะมาช่วยงาน  เพราะเอาค่าแรงไปแขวนที่ สธ. ไปอยู่ในมือของปลัด

ทำไม "เอ็นจีโอ" ค้านแก้กฎหมายบัตรทอง !!??

             เมื่อถามถึงข้อกล่าวหาที่ว่าเอ็นจีโอออกมาคัดค้านเพราะเสียลผประโยชน์ และมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง นายมานะกล่าวว่า เอ็นจีโอไม่เคยได้ประโยชน์โดยจรงจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพระงบประมาณของหลักประกัน มันมีแถวชัดเจนว่า นี่เป็นงบรายหัวที่จ่ายไปที่โรงพยาบาล   มันไม่มีทางที่เอ็นจีโอจะไปได้ประโยชน์ งบประมาณมันกำหนดชัดเจนว่าจะใช้อะไรๆ และที่สนับสนุนภาคประชาชน เป็นภาคประชาชนระดับรากหญ้า เอ็นจีโอส่วนกลางอย่างพวกตมไม่เคยได้รับงบประงานใดๆจาก สปสช. ถ้าได้ก็จะได้เบี้ยประชุม  นอกจากนี้กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาคแห่งชาติ เป็นคนที่จับเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่สวนร่วม เราไม่ได้เกี่ยวข้องกับสีเสื้อทางการเมืองใดๆทั้งสิ้น ที่เป็นไปเพื่ออยากเห็นระบบดีขึ้นไม่อยากเห็นถอยหลังเข้าคลอง

             คลิกฟังรายการย้อนหลังที่นี่ 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ