Lifestyle

"แพทย์รัฐ"ทำงาน 35-40วันต่อเดือน กระทบรักษาคนไข้!!!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แพทย์รัฐทำงาน 35-40 วันต่อเดือน  คนไข้เสี่ยงต่อการเข้ารับรักษาจากร่างกายแพทย์ไม่พร้อม นำสู่การฟ้องร้อง จี้ออกกฎหมายคุมชั่วโมงการทำงานบุคลากรสาธารณสุข

         เมื่อวันที่ 23 พ.ค. พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา กรรมการแพทยสภา กล่าวในการประชุมหารือเรื่อง “หมอบอล ตายขณะรักษาผู้ป่วย...คนสธ.ต้องตาย-ต้องเจ็บ-ถูกทอดทิ้งในหน้าที่อีกกี่คน : ร่วมกันหาความจริง แก้ไข ว่า ปัจจุบันไม่ใช่แค่แพทย์ที่ทำงานหนัก แต่พยาบาลก็ทำงานหนัก ข้าราชการปกติทำงานวันละ 8 ชั่วโมง หยุดเสาร์-อาทิตย์ ใน 1 เดือนทำงาน 20-22 วัน ส่วนบุคคลกรทางการแพทย์ทำงานเกิน 24 ชั่วโมง หลายคนควงเวร ใน 1 เดือนต้องทำงานมากกว่า 35-40 วัน แต่สธ.ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

       เพราะติดกับดักที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)ไม่เพิ่มจำนวนข้าราชการ และติดกับดักไม่เพิ่มงบประมาณ เพราะงบฯ ถูกส่งไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ทำหน้าที่บริหารระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค โดยออกกฎเกณฑ์และแนวทางค่ารักษาต่างๆ ทำให้โรงพยาบาลได้รับเงินคืนเพียงร้อยละ 50-70 ของค่าใช้จ่ายจริง ทำให้โรงพยาบาลขาดทุน

"แพทย์รัฐ"ทำงาน 35-40วันต่อเดือน กระทบรักษาคนไข้!!!

       “ยังติดกับดักมาตรฐานทางการแพทย์ แพทย์ไม่มีทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสมกับคน ไข้แต่ละราย  ทำให้ไม่ได้รับการรักษาตามความเหมาะสมของตัวเอง ถือเป็นการรักษาแบบเหมาโหล นอกจากนี้ ยังติดกับดักคนไข้ไปใช้สิทธิเมื่อไหร่ก็ได้ สมัยหนึ่งมีการเอายามาแลกไข่สะท้อนการที่ประชาชนไปเรียกร้องสิทธิรับยาโดยไม่จำเป็น เสียเงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นนายกรัฐมนตรีต้องให้ความสนใจและปฏิรูประบบสาธารณสุข ไม่เช่นนั้นปัญหาแพทย์ทำงานหนัก และเสียชีวิตออกมาอีก และแก้ปัญหาระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคให้ได้ เพราะตั้งแต่มีขึ้นมาโรงพยาบาลเอกชนเจริญขึ้นมาก เพราะประชาชนที่มีเงินยอมใช้เงินเพื่อรักษาสุขภาพ แต่ประชาชนที่ไม่มีเงินต้องยอมรับสภาพนั้น ที่พูดไม่ได้ต้องการล้มระบบ 30 บาท แต่ต้องการให้ปฏิรูปให้ดีขึ้น ยั่งยืน ประชาชนเข้าถึงสิทธิอย่างทั่วถึง เท่าเทียม”พญ.เชิดชูกล่าว  

          ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ภาระงานในโรงพยาบาลวันนี้มีอัตราผู้ป่วยครองเตียงมากว่าที่กำหนด แพทย์ต้องทำงานหนัก รับคนไข้หนักจำนวนมาก ไม่ได้นอน จึงต้องสะสมการนอนจากเวลาว่าง ครั้งละ 5-10 นาที ทำให้มีปัญหาสมองเสื่อมมากที่สุด  ความเสี่ยงในการดูแลคนไข้ก็จะแปรผันไปตามความพร้อมของกำลังกาย ใจ และสมอง ซึ่งความไม่พร้อมจะส่งผลต่อการดูแลรักษาคนไข้โดยตรง รวมถึง สุขภาพร่างกายของแพทย์จะอ่อนแอเสี่ยงติดเชื้อในโรงพยาบาลที่มีมากด้วย

"แพทย์รัฐ"ทำงาน 35-40วันต่อเดือน กระทบรักษาคนไข้!!!

        จากภาระงานแพทย์ที่หนักยังมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องตามมา มีการย้อนหลังว่าไม่ทำอย่างนั้น ไม่ทำอย่างนี้ แต่ไม่ดูว่าแพทย์คนนี้ดูคนไข้หนัก 10 คน ไม่ได้นอนมา 48 ชั่วโมง ซึ่งปัญหาที่ผ่านมาส่วนหนึ่งผู้บริหารส่วนกลางไม่เคยทราบเรื่อง เพราะเมื่อลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรฐานก็ทำแบบรู้ล่วงหน้า มีการรายงานตัวเลขผ่านสไลด์กรณีภาระงานแพทย์ อัตราการครองเตียงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงผู้บริหารจึงต้องทราบเรื่องจริงและแก้ปัญหาให้ตรงจุด นอกจากนี้

       “สธ.ไม่มีความสามารถในการทำอะไรได้ เพราะถูกครอบโดยสปสช. และองค์กรส.ทั้งหลาย พอมีการชี้แจงข้อเท็จจริงก็มีเครือข่ายออกมาปกป้องหาว่าจ้องจะล้มบัตรทอง ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ ถึงเวลาต้องปฏิรูป หากระบบสาธารณสุขยังเป็นแบบนี้อยู่ ต่อให้ผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อแก้ปัญหาระยะสั้น เมื่อแพทย์จบใหม่มาเจอสถานการณ์อย่างนี้เมื่อใช้ทุนจบก็ลาออก ปัญหาวนเวียนที่เดิม เป็นการกรองคนดีออกจากระบบ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

"แพทย์รัฐ"ทำงาน 35-40วันต่อเดือน กระทบรักษาคนไข้!!!

          พญ.อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล นายกสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในปีนี้มีแพทย์อายุไม่เกิน 30 ปี เสียชีวิตแล้ว 3 คน จากโรคเดียวกันคือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน  ซึ่งการทำงานในสถานที่ที่มีความเสี่ยงมีเชื้อโรคจำนวนมาก อย่างเช่นในรพ.ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับ หรือต่อสู้กับเชื้อโรคได้จึงทำให้ติดเชื้อง่าย

       ขอเสนอให้มีกฎหมายกำหนดชั่วโมงการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขอย่างชัดเจน ดูแลมาตรฐานอาชีวะอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เป็นระบบ และตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการกำลังคนแยกออกจาก ก.พ. ทำการกระจายผู้บริหารและใช้เทคโนโลยีสมกับไทยแลนด์ 4.0  และมีการชดเชย เชิดชูเกียรติ และที่กระทรวงกำลังยกร่างเกณฑ์การชดเชยเยียวยานั้นขอให้มีการคิดคำนวณ อย่างมีหลักการ เพราะวันนี้คนทำงานขาดขวัญกำลังใจ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ