Lifestyle

เกษียณแล้วไป (ไหน)เป็นกรรมการสภามหา'ลัย?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สภามหาวิทยาลัยที่เหมาะสมกับช่วงเวลายุคนี้ควรเป็นสภามหาวิทยาลัยผสมระหว่างคนวัยเกษียณอายุ ซึ่งมีความรู้ความสามารถประสบการณ์และคนรุ่นใหม่เข้าใจการเปลี่ยนไปของสังคม

      “สภามหาวิทยาลัย” อุดมศึกษาไทย ปัจจุบันกลายเป็น“โจทย์” ให้ได้ขบคิดถึงบทบาทหน้าที่ รวมถึงคุณวุฒิของผู้มานั่งดำรงตำแหน่งนายกสภาและกรรมการสภา เพราะทุกครั้งที่เกิดปัญหาในแวดวงอุดมศึกษา ไม่ว่าจะม.ของรัฐ หรือม.เอกชน ล้วนแต่ของเกี่ยวกับ “สภามหาวิทยาลัย” แทบทั้งสิ้น 

เกษียณแล้วไป (ไหน)เป็นกรรมการสภามหา'ลัย?

     ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช  กรรมการสถาบันคลังสมองของชาติ  บรรยายไว้ในหลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาสภามหาวิทยาลัย กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ 24 ม.ค.2556 ว่า ตามบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย เป็นเสมือนกลไกกำหนดนโยบายสูงสุดของมหาวิทยาลัย ตัวแทนเจ้าของมากำกับดูแลมหาวิทยาลัย ผู้รับผิดรับชอบในความสำเร็จ/ล้มเหลว ของมหาวิทยาลัย แต่ ไม่ใช่ผู้บริหาร ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของบุคลากร แต่ที่สำคัญที่สุดต้องยึดหลักธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลมหาวิทยาลัย  ซึ่งตามพ.ร.บ.มหาวิทยาลัย ..แต่ละแห่ง จะกำหนดอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย ไว้ ซึ่งอำนาจจะมากน้อย ไม่เหมือนกัน ..

      ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่าสภามหาวิทยาลัยเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ มีหน้าที่กำกับดูแล ประเมินการบริหารงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัย (อธิการบดี) ซึ่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยนั้น ประกอบด้วย นายกสภามหาวิทยาลัย ,กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง,กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตําแหน่ง ,กรรมการสภามหาวิทยาลัยตัวแทนจากคณบดี ผู้อำนวยการต่างๆ เป็นต้น ซึ่ง สภามหาวิทยาลัย 90 % เชื่อว่าเป็นสภามหาวิทยาลัยคุณภาพ และยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตนเองตามบทบาทสภามหาวิทยาลัย

    ทว่าเมื่อไล่เรียงดูหน้าตา นายสภามหาวิทยาลัย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ หาน้อยที่ยังไม่พ้นวัยเกษียณจากข้าราชการประจำ ปานประหนึ่งว่าสภามหาวิทยาลัย เป็นทำเลทองของคนวัยเกษียณเลยทีเดียว

เกษียณแล้วไป (ไหน)เป็นกรรมการสภามหา'ลัย?

        แต่ก็ยากจะปฎิเสธว่าคนวัยเกษียณ หลายคนล้วนแต่มากด้วยความสามารถ แต่ก็ใช่ว่า จะไม่มีคนที่มีปัญหาในการบริหาร หรือปัญหาธรรมาภิบาลในการบริหาร อย่างที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีตัวอย่างให้เห็น ล่าสุดหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีคำสั่ง ที่ 39/2559 เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

       จึงมีคําสั่ง ข้อ 3 เพื่อให้การดําเนินการของสถาบันอุดมศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด การแ ต่งตั้งบุคคล ให้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์

        ดังต่อไปนี้ หน้า 22 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 155 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 กรกฎาคม 2559 (1) ผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาจะดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา ในเวลาเดียวกันเกินสามแห่งไม่ได้ (2) ผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาจํานวนสองแห่งแล้ว อาจได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาอีกได้ไม่เกินหนึ่งแห่ง

       (3) ผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาจํานวนหนึ่งแห่งแล้ว อาจได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาอีกได้ไม่เกินสองแห่ง(4) ผู้ดํารงตําแหน่งกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาจํานวนสี่แห่งแล้ว ไม่อาจได้รับแต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาในเวลาเดียวกันนั้นได้อีก

      ผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ของรัฐตามวรรคหนึ่ง ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน เบี้ยประชุม หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากในฐานะนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้น เว้นแต่เป็นไปตามระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกําหนดหรือให้ความเห็นชอบ

      คำสั่งดังกล่าวเสมือนหนึ่งเปิดทางให้สัดส่วนสภามหาวิทยาลัยปรับเปลึี่ยนได้ไปตามกาลเวลาที่เหมาะสมนั่นเอง เพราะมหาวิทยาลัยยุคใหม่ ไม่ใช่เพียงทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต ทรัพยากรคุณภาพให้แก่ประเทศเท่านั้น แต่ต้องเป็นผลิตนวัตกรรม องค์ความรู้ เทคโนโลยีใหม่ งานวิจัย เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต และแข่งขันกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้    ส่วนตำแหน่งอธิการบดีนั้น ระเบียบปฏิบัติห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 2 สมัยและมีการเสนอว่าอายุไม่เกิน 60 ปี แต่ยังไม่มีข้อปฏิบัติที่ชัดเจน

เกษียณแล้วไป (ไหน)เป็นกรรมการสภามหา'ลัย?

       ศ.ดร.สุชัชวีร์ อธิการบดี สจล. ให้ความเห็นว่าสภามหาวิทยาลัยที่ดีเหมาะสมกับช่วงเวลายุคนี้ ควรเป็นสภามหาวิทยาลัยผสมผสานระหว่างคนวัยเกษียณอายุ ซึ่งมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และมีความคิดสมัยใหม่ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคม บริบทของมหาวิทยาลัยในขณะนี้ รวมถึงต้องมีคนรุ่นใหม่ ที่มีวิสัยทัศน์ ความคิด เพื่อนำพามหาวิทยาลัยให้ก้าวหน้า และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม เทคโนโลยี การใช้ชีวิตของผู้คน

     ทว่าในความเป็นจริงก็คือ  กรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่งต่างก็บอกว่าล้วนเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ ผ่านประสบการณ์การทำงาน การบริหารงานมาหลายสิบปี สภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ตอนนี้อาจจะมีแต่ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีวัยวุฒิค่อนข้างมากอยู่นั่นเอง จึงมีคำถากลายๆว่า แล้วมหาวิทยาลัยไทยจะก้าวเดิินไปอย่างไรในสภาวะการณ์ปัจจุบัน ..

        0 ทีมข่าวคุณภาพชีวิต [email protected] 0 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ