Lifestyle

ยกระดับนักเขียนสื่อออนไลน์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

Blogger’s Bootcamp  By CP ALL นักเขียนยุคดิจิทัล ที่เรียกว่า “บล็อกเกอร์”ผลักดันงานเขียนคุณภาพที่สามารถสร้างอาชีพและมองหาเอกลักษณ์ สร้างสรรค์บล็อกที่ดีมีคุณภาพ

        พฤติกรรมการเสพข่าวสารข้อมูลยุคดิจิทัลเปลี่ยนจาก สื่อสิ่งพิมพ์ มาสู่ยุคที่ผู้บริโภคอัพเดตข่าวสารผ่าน สื่อออนไลน์มากขึ้น ปัจจุบันมีบล็อกเกิดขึ้นมากมาย ทั้งบล็อกที่มีคุณภาพ และบล็อกหน้าใหม่ที่ยังค้นหาตนเองไม่แจอ จนทำให้งานเขียนสูญเสียตัวตน

    โครงการนี้ Blogger’s Bootcamp  By CP ALL จึงตอบโจทย์นักเขียนไทยให้มาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ในมุมมองแต่ละสาขาความสนใจ เพื่อนำไปปรับใช้และพัฒนาคุณภาพของบล็อกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

         นายบัญญัติ  คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากที่บริษัทประสบความสำเร็จในการจัดทำ “โครงการเซเว่น บุ๊ค อวอร์ด” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่เชิดชู เป็นขวัญกำลังใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักเขียนไทยมากว่า 14ปี เพื่อส่งเสริมการศึกษา การอ่านการเรียนรู้ให้กับคนไทย  และเยาวชนไทย

      สำหรับในปีนี้ซีพี ออลล์ได้พัฒนาต่อยอดแนวคิดจากนักเขียนปลายปากกา สู่นักเขียนยุคดิจิทัล หรือที่เรียกว่า “บล็อกเกอร์” โดยจัดทำโครงการ Blogger’s Bootcamp By CP ALL เพื่อสนับสนุน และผลักดันงานเขียนคุณภาพที่สามารถสร้างอาชีพและมองหาเอกลักษณ์ สร้างสรรค์บล็อกที่ดีมีคุณภาพ พร้อมแลกเปลี่ยนแนวคิดจากบล็อกเกอร์รุ่นพี่ตลอดจนพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีในการผลิตเนื้อหาให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

ยกระดับนักเขียนสื่อออนไลน์

 นายบัญญัติ  คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

         สำหรับโครงการBlogger’s Bootcamp By CP ALLแบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1: Blogger’s Bootcamp ทางคณะกรรมการจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 60 คน เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากแขกรับเชิญพิเศษจากวงการต่างทั้งนักเขียน และบล็อกเกอร์มืออาชีพ พร้อมเวิร์คช็อปฝึกฝีมือพัฒนางานเขียน

         ช่วงที่ 2: BLOG-GER-DAY (บล็อก-เจอ-เดย์)ครั้งแรกของการรวมเหล่าบล็อกเกอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเพื่อพบปะสังสรรค์ และอัพเดทข่าวสารเกี่ยวกับวงการบล็อก พร้อมพบกับวิทยากรกิตติมศักดิ์จาก Web developerแนะเทคนิคการใช้เทคโนโลยี และบล็อกเกอร์ชื่อดังช่วงที่ 3: CP All Blogger Awardsมอบรางวัลให้กับเหล่าบล็อกเกอร์ที่มีผลงานสร้างสรรค์ อีกทั้งเพื่อยกย่องบล็อกเกอร์ไทยผู้ดำรงด้วยจรรยาบรรณในการนำเสนอและสร้างสรรค์งานเขียนคุณภาพ

ยกระดับนักเขียนสื่อออนไลน์

         การเวิร์คช็อปฝึกฝีมือพัฒนางานเขียน แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ เพื่อนำเสนอความคิดของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบโจทย์งานไปโดยกลุ่ม  Make up the journey  ตัวแทนกลุ่มเล่าถึงโจทย์งานเขียนที่ทางกลุ่มได้คิดกันขึ้นคือ “ ปัญหาฉุกคิดก่อนทริปไม่ให้ความสวยโดนแหกเพราะสภาพอากาศ” ปกติแล้วคนเราจะมองต่างเรื่องก็คือเรื่องการท่องเที่ยว เรื่องของความสวยความงามและยังมีในเรื่องของไอที ปกติแล้วเวลาเราไปงานสนใจอะไรก็จะไปงานนั้นๆ เช่น ชอบไอทีก็ไปงานไอที ท่องเที่ยวก็ไปงานท่องเที่ยว ซึ่งไม่เคยได้เจอเพื่อนกลุ่มอื่นเลย

ยกระดับนักเขียนสื่อออนไลน์

กลุ่ม  Make up the journey

         ทุกวันนี้เรามี 3 สิ่งนี้อยู่รอบตัวเรา เพราะเวลาเราไปเที่ยวเราก็จะต้องเช็คสภาพอากาศ เราเอาไอทีมาช่วยยังไงบ้าง ก็เปิดแอพในสมาร์ทโฟนเพื่อเช็คสภาพอากาศ เมื่อเรารู้สภาพอากาศล่วงหน้า เราก็จะได้รู้ว่าเราต้องแต่งหน้าอย่างไรดี มีการใช้กูเกิ้ลแมพในการเตรียมแผนการเดินทาง ว่าเราจะเอารถแบบไหนไป ฝนตกไหม บางครั้งเราไปทริปเจอแดดร้อนแล้วทากันแดดไม่โอเค

        รวมถึงมีเรื่องของการใช้การสำรวจกิจกรรมว่าเป็นยังไง ควรจะเตรียมตัวแค่ไหน และการแต่งกายต่างๆที่เราต้องเผื่อไป ถ้าเกิดเราไปที่ไหนก็ตาม แต่เอาขนมิงค์ไปเต็มเลย ปรากฏว่าอากาศเป็นอีกแบบหนึ่ง เราก็ควรเตรียมตัวการเดินทางหลากหลายวิธีคิด และยังมีในเรื่องของเมคอัพด้วยเป็นวิธีการฉุกคิดก่อนจะไปออกทริปสวยให้เกิดว่าทำยังไง

         และอีกกลุ่มที่น่าสนใจ คือ กลุ่ม What If ถ้าสตีป จ้อบยังมีชีวิตอยู่ทิศทางของแอปเปิ้ลจะเป็นอย่างไร ? ตัวแทนกลุ่มเล่าว่า ความคิดนี้เกิดจากสื่อในโลกออนไลน์ ในเฟชบุ๊ก หลายๆคนเสพแล้วก็เชื่อ เชื่อเลยกดแชร์ ไม่ได้คิดไม่ได้กลั่นกรอง

     โดยมีทั้งสื่อที่เป็นความจริงและสื่อที่ทำมาหลอก มันจะดีกว่าไม่ถ้าเราได้ลองมาคิดตาม จึงตั้งขึ้นมาว่าสื่อออนไลน์ไม่ได้ตั้งใจนำเสนอสิ่งที่ไม่เป็นความจริง ก็คือเป็นเรื่องที่สมมุติว่า มันเกิดจากคำว่า ถ้า เช่น ถ้าประเทศไทยไม่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติจะเป็นอย่างไร เป็นต้น 

ยกระดับนักเขียนสื่อออนไลน์

         ถ้าเรามีสื่อที่อยากจะชวนคนในโลกออนไลน์คิดตามว่า ถ้าเกิดมันไม่ได้เป็นตามที่คิดละ ถ้าเกิดว่า สตีฟ จ้อบส์ ยังมีชีวิตอยู่บนโลกใบหนึ่งที่เป็นโลกคู่ขนานกับความจริงจะเป็นอย่างไร ตั้งใจทำขึ้นมาไม่ใช่ความจริงแต่เป็นการแสดงความคิดเห็น พยายามให้คนในสังคมคิดตาม แสดงความคิดเห็นตามไปด้วย

ยกระดับนักเขียนสื่อออนไลน์

         เนื้อหาแรกที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆของแอปเปิ้ล คิดกันว่าเอาหุ้นของแอปเปิ้ลมั้ย มันยากเกินไปคิดว่าเอาในสิ่งที่คนสามารถจับต้องได้ คือ ถ้าเกิดสตีฟ จ้อบส์ ยังมีชีวิตอยู่ ผลิตภัณฑ์แอปเปิ้ลจะมีหน้าตาแบบไหน โดยในกลุ่มเราไม่มีคนเก่งเรื่องเทคโนโลยี จึงหาข้อมูลและมาเขียนโดยการวาดภาพเอง และตั้งคำถาม

         จากข้อมูลว่าความจริง สตีฟ จ้อบส์ไม่ชอบสมาร์ทโฟนที่หน้าจอเกิน 3.5 นิ้ว พวก ไอโฟน 6 ไอโฟน 6 พลัส ที่หน้าจอกว้างขึ้นไม่ใช่ไอเดียของสตีฟ จอบส์ มือถือที่ดีควรจะเล่นได้มือเดียว สะดวก ถ้าเป็นอย่างนั้นพวกมือถือที่หน้าจอเกิน 3.5 นิ้ว ก็ไม่ได้เกิดมาในบริษัทของแอปเปิ้ล

ยกระดับนักเขียนสื่อออนไลน์

         เรื่องผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ออกมา มีหลายคนบ่นอย่าง ไอแพดโปร หนักเกินไป ตัวหูฟัง สตีฟ จ้อบส์ คิดว่าถ้าเกิดตอนที่เขามีชีวิตอยู่ เขาคิดว่าผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลควรจะพัฒนาขึ้นมาเอง หรือไม่ก็ไปซื้อไอเดียของบริษัทอื่นๆ

         “อยากให้ทุกคนเสพสื่อและลองคิดตาม แสดงไอเดีย ออกมา สามารถสมมุติได้ทุกเรื่อง ในรอบตัวทั้งในสื่อออนไลน์และ ชีวิตจริงว่ามันเป็นอย่างไร”

        โครงการนี้ Blogger’s Bootcamp  By CP ALL จึงตอบโจทย์นักเขียนไทยให้มาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ในมุมมองแต่ละสาขาความสนใจ เพื่อนำไปปรับใช้และพัฒนาคุณภาพของบล็อกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ