Lifestyle

ไม่ใช่แค่พยาบาล ครูอาชีวะก็ขาด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"วิกฤตครูอาชีวะ" ขาดแคลนสะสมกว่าหมื่นอัตรา เผยปี 2559 ขอกำลังคนเป็นพนักงานราชการ 15,000 แต่ได้แค่ 990

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหนังสือพิมพ์ "ลูกศิลป์" หนังสือพิมพ์ ฝึกปฏิบัติของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร  ได้เผยแพร่ข่าวเรื่อง วิกฤตครูอาชีวะขาดแคลนสะสมนับหมื่น
 
    โดยในเนื้อข่าวระบุว่า จากการตรวจสอบ สถานการณ์การขาดแคลนครูในระดับอาชีวศึกษา พบรายงานกลุ่มงานจัดการงานบุคคล สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) ระบุว่า วงการอาชีวศึกษากำลังประสบปัญหาขาดแคลนครูสะสมอย่างต่อเนื่อง จากที่ควรมี 33,243 คน แต่มีอยู่จริงเพียง 15,206 คน

    อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามผู้บริหารและอาจารย์ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาหลายแห่งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ต่างระบุตรงกันว่าการขาดแคลนครูช่าง ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนจริง 

    โดย นางภาวดี บัวศรี อาจารย์ประจำวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง กรุงเทพฯ เผยว่า ในระบบมีการบรรจุครูเป็นข้าราชการน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นครูอัตราจ้าง ทั้งที่มีการเปิดสอบทุกปี แต่กลับเรียกเข้าบรรจุเป็นจำนวนน้อยกว่าคนที่ไปสอบ หรือน้อยกว่าจำนวนครูที่ระบบต้องการ

    ขณะที่ นายดำรงเดช สุริยา ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างสกลนคร จังหวัดสกลนคร ยอมรับว่า จำเป็นต้องจ้างบุคลากรที่จบตามสาขานั้นๆ มาสอนวิชาพื้นฐาน แต่ครูอัตราจ้างไม่มั่นคงเหมือนข้าราชการ สอนเพียงไม่กี่ปีก็ลาออก ทำให้วิทยาลัยต้องหาคนมาทดแทน จึงเกิดปัญหาการสอนไม่ต่อเนื่อง
 
    ด้านนางสาวนงค์นุช สีสะใบ ครูอัตราจ้างวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ กล่าวว่า เป็นครูอัตราจ้างมา 14 ปี แต่ยังไม่ได้รับการบรรจุ รู้สึกว่าไม่มีความมั่นคงของอาชีพ เพราะไม่มีสวัสดิการและเงินเดือนที่เพียงพอ

    นางปัทมา วีระวานิช ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา สอศ. ชี้แจงว่าปี 2559 สอศ. ยื่นขอกำลังคนเป็นพนักงานราชการกว่า 15,000 คน แต่ได้รับจัดสรรกลับมาเพียง 990 คนเท่านั้น เนื่องจากปัญหาด้านการรับครูอัตราจ้างแทน ทั้งนี้ในปี 2560 สอศ.จะเสนอโครงการแก้ปัญหาขาดแคลนครู เพื่อเพิ่มและคืนครูเข้าสู่ระบบ คิดเป็นงบประมาณกว่า 170 ล้านบาท
 
    นางปัทมา กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาไม่ได้รับการบรรขุของครูอัตราจ้าง สอศ.มีการแก้ปัญหาโดยเปิดสอบบรรจุทั้งรอบเฉพาะของครูอัตราจ้าง และรอบบุคลากรภายนอก ซึ่งครูอัตราจ้างสามารถสอบได้ทั้ง 2 รอบ
 
    “สอศ.พยายามช่วยครูอัตราจ้างอย่างเต็มที่ เพราะบางคนอยู่เป็น 10-20 ปี รู้ระบบอาชีวะเป็นอย่างดี เมื่อมีอัตราจ้างบางคนอาจหลุดออกมาจากระบบ แต่เราก็พยายามรักษาพวกเขาไว้อย่างเต็มกำลัง” นางปัทมา กล่าว

     ติดตามอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ 
 -------

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ