Lifestyle

เสนอยุบกพอ. เหตุอนาคตมหาวิทยาลัยไม่มีขรก.พลเรือน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ก.อุดมศึกษา คาดเล็งยุบ กพอ.เหตุอนาคตมหาวิทยาลัย รวมกรรมการ กพอ.เข้าไว้กับ กกอ. จะได้ไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย ขณะที่ “หมอธี” ลั่นกพอ.ก็ยังเป็นหลักของชาติ จะยุบไม่ได้

เสนอยุบกพอ. เหตุอนาคตมหาวิทยาลัยไม่มีขรก.พลเรือน

โซเซียล: เล็งยุบกพอ. แจงอนาคตมหาวิทยาลัยไม่มีขรก.พลเรือน#ข่าวการศึกษา #คมชัดลึก

       หลังจากการดำเนินการประชาพิจารณ์การจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ศ.นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานคณะทำงานเตรียมการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา เปิดเผยความคืบหน้าในการดำเนินการว่า ขณะนี้การยกร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ.... มีความคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 80 แล้ว และเมื่อทำประชาพิจารณ์ครบทุกภูมิภาค ก็จะทำการยกร่าง พ.ร.บ.ให้เสร็จภายในเดือน พ.ค.นี้

       โดยส่วนเหลืออยู่อีกร้อยละ 20 ของ ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ...นั้น คือ คณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ กกอ. ซึ่งคณะทำงานฯยังไม่ตกผลึก ทั้งเรื่องหน้าที่ ที่มาของกรรมการ องค์ประกอบของกรรมการ ทั้งนี้ โครงสร้างปัจจุบันเรามีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือ กพอ. ซึ่งมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน และ กกอ. ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธาน

         สำหรับโครงสร้างใหม่ คณะทำงาน ฯเห็นว่า ควรนำคณะกรรมการทั้ง 2 คณะมารวมเข้าไว้ด้วยกันเหลือเพียงชุดเดียวคือ กกอ. และเห็นว่ายังควรให้ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธาน เช่นเดิม ส่วน กพอ.นั้น เนื่องจาก ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันเหลือจำนวน 3 หมื่นคนและภายใน 14 ปี ข้าราชการเหล่านี้ก็จะเกษียณอายุราชการ ทำให้มหาวิทยาลัยไม่มีข้าราชการพลเรือนอีกต่อไป

       ซึ่งกพอ.ก็หมดหน้าที่แล้วก็ต้องยุบไป จึงคิดว่าน่าจะรวม กพอ.เข้าไว้กับ กกอ. จะได้ไม่ต้องแก้ไขกฎหมายในอนาคต ส่วนพนักงานมหาวิทยาลัยซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 1.8 แสนคนดูแลโดยมหาวิทยาลัย

        อย่างไรก็ตาม หากพนักงานมหาวิทยาลัยมีปัญหากับมหาวิทยาลัย ในส่วนของกระทรวงการอุดมศึกษา ก็ยังเปิดช่องให้พนักงานมหาวิทยาลัยสามารถร้องเรียนต่อรมว.กระทรวงการอุดมศึกษาได้ โดยให้อำนาจรัฐมนตรีเข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาของมหาวิทยาลัยได้

       รวมทั้งแก้ปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลด้วย โดยกฎหมายต้องเขียนให้ชัดเจนและเป็นการเฉพาะว่าปัญหาระดับใดที่มหาวิทยาลัยแก้ไขด้วยตนเองไม่ได้แล้ว จึงให้รัฐมนตรียื่นมือเข้าไปแก้ไขได้ โดย พ.ร.บ.ใหม่จะเปิดช่องให้ รัฐมนตรีเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ โดยไม่ขัดกับ พ.ร.บ.ของแต่ละมหาวิทยาลัย

         อย่างไรก็ตาม หลังจากจัดประชาพิจารณ์ครั้งใหญ่เพื่อรับฟังความเห็นทุกภาคส่วนต่อร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ทั้งฉบับที่ยกร่างเสร็จ ในวันที่ 30 พ.ค.นี้ และวันที่ 31 พ.ค.ทำการแก้ไข และนำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งก็จะเป็นตามเวลาที่กำหนดคือ ยกร่างเสร็จในเดือน พ.ค.60

         “สำหรับ การรับฟังความคิดเห็น 3 ครั้งที่ผ่านมา ทุกคนเห็นด้วยกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา แต่ก็มีข้อกังวลเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างกระทรวงใหม่กับกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งการเชื่อมโยงกับภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมเพื่อจะนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งจะมีอาจารย์มหาวิทยาลัยบางส่วนที่ไปทำงานร่วมกับภาคเอกชน หรือ บุคลากรจากกระทรวงการอุดมศึกษาไปทำงานในมหาวิทยาลัย ดังนั้นการบริหารงานบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการเคลื่อนย้ายบุคลากรจะต้องมีความคล่องตัว ซึ่งขณะนี้ยังติดขัด ” ศ.นพ.อุดม กล่าว

        ด้าน นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการประชุม กพอ.ว่า ที่ประชุม กพอ.ได้รับทราบความคืบหน้าของการร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ.... แล้ว และทราบว่ามีข้อเสนอให้ยุบรวม กพอ.กับ กกอ. ดังนั้นในการประชุมกพอ.ครั้งหน้า วันที่ 31 พ.ค.

     ซึ่งที่ประชุม จะเชิญกรรมการร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา มานำเสนอร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา เพื่อให้ กพอ.ร่วมเสนอความคิดเห็น ในเบื้องต้นกรรมการ กพอ.ได้เสนอความเห็นว่า ภาระงานของ กพอ.ยังมีเท่าเดิม เพราะทุกมหาวิทยาลัยก็จะใช้เกณฑ์ที่ออกโดย กพอ. รวมไปถึงการเสนอโปรดเกล้าฯตำแหน่งทางวิชาการ ระดับ ศ.

         อย่างไรก็ตามแม้ว่าจำนวนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจะน้อยลงเรื่อยๆ แต่ กพอ.ก็ยังเป็นหลักของชาติ จะยุบไม่ได้ ซึ่งส่วนตัวก็คิดว่า ขอฟังกรรมการร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา ก่อน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ