Lifestyle

สสส. ดีเดย์ปฏิบัติการ “ลดเมา...เพิ่มสุข”9 เมษานี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สสส. ดีเดย์“ลดเมา...เพิ่มสุข” 9เมษานี้ ชวน 5 จังหวัดใหญ่“ขอนแก่น-สกลนคร-เชียงราย-เพชรบูรณ์-นครปฐม” เข้มกฎเหล็กชุมชม ตั้ง 3 ด.-ซนนิ่งเล่นน้ำปลอดเหล้าปลอดภัย

          เมื่อวันที่ 5 เมษายน  2560 ที่โรงแรมรามากาเด้นส์ เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบการรณรงค์และขับเคลื่อน “ลดเมา เพิ่มสุข : ปฏิบัติการ ชุมชนอาสา ลดเมา ลดเหตุ”

          ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล   รองผู้จัดการ และ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) สสส.กล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ปี 2557-2558 โดย ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ร่วมกับ มูลนิธิไทยโรดส์ พบว่า จำนวนและสัดส่วนของคดีอุบัติเหตุจราจรที่มีสาเหตุจากเมาแล้วขับ ปี 2542-2558 มีแนวโน้มลดลง และสอดคล้องกับสัดส่วนการดื่มแล้วขับในผู้บาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจร ปี 2548-2558 ก็มีแนวโน้มลดลง

          ดร.นพ.ยัณฑิต กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันพบว่าผลการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วง7 วันอันตรายในเทศกาลสงกรานต์ ในปี 2559 สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุอันดับ 1 ยังคงเป็นเรื่องการเมาสุรา ร้อยละ34.09ลดลงจากร้อยละ 39.31 ในปี 2558 ซึ่งบทบาทของชุมชนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาเป็นมาตรการที่มีความสำคัญ โดยใช้ 3 หลักการ คือ 1) หลักการทางนโยบาย 2) หลักการใช้ทุนทางสังคม และ 3)หลักการบริหารแผนและงบประมาณ เพื่อแก้/ลด ปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการเกิดอุบัติเหตุ ด้วยการประสานภาคีเครือข่าย การสร้างการมีส่วนร่วมและกำหนดกติกาเฉพาะพื้นที่ เพื่อบรรลุเป้าหมายลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และสร้างปัจจัยเสริมการป้องกันอุบัติเหตุทางท้องถนนในชุมชนท้องถิ่นโดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 9เมษายนเป็นต้นไป

           ด้านนางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์   ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก3) สสส. กล่าวว่า กิจกรรมรณรงค์ ลดเมา เพิ่มสุข คือ ปฏิบัติการที่ทางเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 โดยมีความมุ่งหวังว่าจะเป็นกลไกที่บรรเทาจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากการดื่มสุรา รวมถึงเป็นกระตุ้น และหนุนเสริมให้เป็นแนวทางการรณรงค์ขยายผลไปยัง อปท. เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นต่อไป โดยมีพื้นที่เป้าหมาย5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น, จังหวัดสกลนคร, จังหวัดเชียงราย, จังหวัดเพชรบูรณ์ และ จังหวัดนครปฐม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเครือข่ายสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ในพื้นที่ถนนสาธารณะในถนนสายหลักและสายรอง

         นางสาวดวงพร กล่าวอีกว่า เครือข่ายร่วมสร้างฯ ได้ร่วมกันกำหนดมาตรการของชุมชน 3 สร้างประกอบด้วย 1. สร้างจุดบริการ “ลดเมา เพิ่มสุข” โดยกำหนดจุดพักรถ ได้แก่ ด่านครอบครัว ด่านชุมชน ด่านตำรวจ 2.สร้างสรรค์พื้นที่ปลอดเหล้า โดยการกำหนดพื้นที่ในสงกรานต์ปลอดเหล้า งานศพงานบุญประเพณีปลอดเหล้า ร้านค้าและชุมชนปลอดเหล้า 3. เสริมสร้างถนนปลอดภัย โดยการแก้ ปรับปรุงจุดเสี่ยง เช่น การจัดกิจกรรมเคลื่อนย้ายวัตถุอันตรายออกจากทางโค้ง ตัดสางต้นไม้ ซ่อมแซมปรับปรุงสภาพแวดล้อมบนถนนบริเวณที่เป็นหลุมเป็นบ่อ และการติดตั้งหลักนำโค้ง ป้ายเตือนทาง

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ