Lifestyle

หลังสอบครูผู้ช่วยคนตกงาน1.3แสน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตัวเลขของบัณฑิตสายครูที่ค้างอยู่ในตลาดมีอยู่ 120,000คนถ้ารวมกับคนที่จบใหม่ปีนี้ก็ 20,000 คนรวมเป็น 140,000คน ขณะที่อัตราครูผู้ช่วยที่ว่างบรรจุได้แค่ 6,381 อัตรา

 

      คำถามคือทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เรื่องนี้  รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) และคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) มีคำตอบ

หลังสอบครูผู้ช่วยคนตกงาน1.3แสน

รศ.ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ

        โดยเฉพาะประเด็นที่สาขาขาดแคลน 5 สาขาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) บอกว่า 8 สาขา ที่ขาดแคลนเรื้อรังซึ่งเปิดสมัครแล้วไม่มีผู้สมัคร หรือ สอบผ่านขึ้นบัญชีได้น้อยมาก ทำให้โรงเรียนขาดครูอย่างต่อเนื่อง

      ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์,วิทยาศาสตร์ทั่วไป,ฟิสิกส์,เคมี,ชีววิทยา,คณิตศาสตร์,ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน ว่าในความเป็นจริงแล้วมีคนสอบขึ้นบัญชีไว้ในระบบ 300-400 อัตรา อยากจะถามเช่นกันทำไม สพฐ.ไม่เรียกคนเหล่านี้มาบรรจุก่อนค่อยเปิดสอบใหม่ เพราะพวกเขาก็รอคอยเพื่อให้ได้รับการบรรจุอย่างจดจ่อ

หลังสอบครูผู้ช่วยคนตกงาน1.3แสน

       “ในความเป็นจริงแล้ว อยากจะบอกว่าสาขาเหล่านี้ไม่ได้ขาดแคลน แต่มีปัญหาว่าสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตสายครูเปิดสอนคณะที่แตกต่างกัน เรียกชื่่อต่างกัน แต่จริงๆแล้วเรียนเรื่องเดียวกันจบครูเหมือนกัน แต่พอสพฐ.กำหนดชื่อที่เปิดรับไม่ตรงกับที่จบออกมาทำให้ไม่สามารถสสมัครสอบได้ จึงเกิดภาพการขาดแคลนเรื้อรังอย่างที่เห็น ยกตัวอย่างเช่น วิชาคณิตศาตร์ บางสถาบันเปิดสอนคณิตศาสตร์ศึกษา บางสถาบันเปิดสอนคณิตศาสตร์ที่ผ่านมาพอชื่อที่ไม่ตรงกันแบบนี้ก็ทำให้ไม่สามารถสอบได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกแล้วนั่นเอง” คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าว

หลังสอบครูผู้ช่วยคนตกงาน1.3แสน

      แต่ว่ารอบนี้ปัญหาการเรียกชื่อที่ไม่ตรงกับที่สพฐ.เปิดสอบจะหมดไป เพราะว่าคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้ให้นโยบายในการรับสมัครว่าให้เทียบโอนหน่วยกิตที่เรียนมาถ้าครบ 30 หน่วยก็สามารถสมัครในสาขานั้นๆได้แม้ว่าชื่อจะไม่ตรงกับสาขาที่เปิดรับก็ตาม

      “จริงๆแล้วชื่อสาขาบางสาขาก็เก่าโบราณมาก ซึ่งสถาบันการศึกษาได้เปลี่ยนชื่อไปนานแล้ว เช่น โสตทัศนศึกษา ที่ใช้เรียกกันเมื่อ 30ปีที่แล้วปัจจุบันเรียกได้ว่าแทบจะไม่มีสาขานี้แล้วเพราะเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยีทางการศึกษา หรืออะไรทำนองแบบนี้ ตรงนี้หน่วยงานที่กำหนดคุณลักษณะในการรับสมัครครูผู้ช่วยก็ต้องมาดูด้วยว่าโลกเขาไปถึงไหนมันเปลี่ยนไปมากแล้ว ”ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) ระบุ

หลังสอบครูผู้ช่วยคนตกงาน1.3แสน

      รวมทั้งสาขาที่ว่างจนถึงตอนนี้ที่ไม่มีคนมาสมัครเช่น ภาษาเขมร ว่าง1 อัตรา สมัคร 0 คน  ภูมิศาสตร์ ว่าง 1 อัตรา สมัคร 0 อัตรา พยาบาลศาสตร์ ว่าง 1 อัตรา สมัคร 0 คน  จิตรกรรม ว่าง 1 อัตรา สมัคร 0 คน  นาฏศิลป์(โขน) ว่าง 1 อัตรา สมัคร 0 คน อย่างนี้เป็นต้นบางอย่างมันเป็นสาขาที่เปิดเฉพาะด้านมากๆ คำถามคือว่าสถาบันการศึกษาไหนที่จะเปิดสอนแบบนี้

        ตรงนี้ต้องการมีหารือร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ใช้ ผู้ผลิต ผู้อนุมัติ ผู้ควบคุม  เอาตัวเลขมาดูกันว่า ความพอดีเหมาะสมอยู่ตรงไหน ไม่ใช่เปิดสอบมากี่ครั้งก็ยังขาดแคลนเรื้อรัง ยกตัวอย่างเช่น สาขาภาษาพม่า ดนตรีพื้นเมือง ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน อย่างนี้ อยากรู้ว่า สถานศึกษาไหนที่ต้องการ สถานศึกษาไหนที่ขอให้สพฐ.เปิดสอบให้ ต้องอธิบายเหตุผลและความจำเป็น

      "เป็นไปได้หรือไม่ว่า สพฐ.จะอธิบายให้สถานศึกษาเข้าใจว่า สาขาไหนที่ควรจะเปิดสอนในโรงเรียนนอกเหนือจาก 8 กลุ่มสาระ เพราะบางสาขาวิชา่ไม่ได้นำไปใช้ในการเรียนต่อ หรือสพฐ.ต้องคุยกับสกอ.มั้ยว่าสาขาอะไรที่เปิดสอนในสถาบันการศึกษาพื้นฐานแล้ว จะสามารถนำไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา และมีงานทำได้ในอนาคตอย่างนี้เป็นต้น คงถึงเวลาที่ต้องหารือร่วมกันแล้วเพราะในอนาคตครูจะเกษียณ 270,000 คน ต้องวางแผนแล้วว่า จะผลิตสาขาไหนที่่จำเป็น ขาด  แคลน และประเทศต้องการ" 

      เพราะโดยหลักการปัจจุบันสถาบันที่ผลิตบัณฑิตสายครูทำหน้าที่ผลิตครูโดยยึดตาม8สาระการเรียนรู้ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)กำหนด ซึ่งก่อนจะผลิตหลักสูตรใดๆจะต้องทำงานวิจัยศึกษาความต้องการให้รอบด้านให้สอดคล้องกับตลาดโดยใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3-5 ปี

หลังสอบครูผู้ช่วยคนตกงาน1.3แสน

     จากนั้นมาทำหลักสูตรภายในสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นขั้นตอนปกติ อย่างเช่นที่มศว จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจากนั้นเสนอไปที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)และคุรุสภา เพื่อรับรองหลักสูตร รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 14 เดือน 

    “กว่าจะได้หลักสูตรหนึ่งใช้เวลานาน และกว่าจะผลิตบัณฑิตสายครูได้ 1 คนต้องใช้เวลานานเรียน 4 ปี และฝึกประสบการณ์อีก 1 ปี ทุกอย่างมีมาตรฐานการควบคุมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน สาขาวิชาหนึ่งรับแค่ 30 คนมีอาจารย์นิเทศ 1 คนต่อนักศึกษา 10 คนการฝึกสอนก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้บัณฑิตมีใจรักเด็กรักความเป็นครูให้มากที่สุดเพื่อที่จะจบออกไปเป็นครูที่มีคุณภาพให้มากที่สุดนั่นเอง” คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)กล่าวทิ้งท้าย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ