Lifestyle

ห้าม!!!เปิดเผย“ข้อมูลสุขภาพของบุคคล”ผ่านสื่อโซเชียลฯ  

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ราชกิจจาฯเผยแพร่แนวปฏิบัติการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ เปิดเผยความลับสุขภาพคนไข้ มีโทษจำและปรับ

     เมื่อวันที่ 24 มี.ค. ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ประกาศคำสั่งจากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติให้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 25(10) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 23กันยายน 2559 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559 โดยพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัยรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามเมื่อวันที่30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ประกาศฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 

      สาระสำคัญของ ประกาศฉบับนี้ แนวทางปฏิบัตินี้เป็นแนวทางเบื้องต้น เพื่อประกอบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งรวมถึงการใช้งานในเรื่องวิชาชีพและส่วนตัวที่อาจเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย วิชาชีพ หรือระบบสุขภาพโดยรวมของสภาวิชาชีพ สถานพยาบาล องค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ โดยสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงกระดานข่าว เครือข่ายสังคมออนไลน์ บล็อก เว็บไซต์สำหรับสรา้งและแก้ไขเนื้อหาร่วมกัน เช่น วิกิพีเดีย เกมออนไลน์หรือโลกเสมือนที่มีผู้ใช้งานหลายคน สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อออนไลน์อื่นที่เป็นช่องทางสื่อสารระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสาธารณะ และสื่อสำหรับการเผยพร่และแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่เป็นภาพนิ่ง เสียง วีดิทัศน์ หรือแฟ้มข้อมูลหรือเนื้อที่เก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

        โดยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามหลักการที่มีการกำหนดไว้ในแนวทางฉบับนี้ อาทิ หลักการเคารพกฎหมาย หลักการเคารพในจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หลักการเคารพในกฎระเบียบและนโยบายขององค์กร หลักการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นเสียหาย หลักการรายงานพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และหลักเสรีภาพทางวิชาการ

     ทั้งนี้ ประกาศแนวทางปฏิบัตินี้ ออกมาตามมาตรา 7 พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งกำหนดให้ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรงหรือกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย แต่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเห็นว่าการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ มีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งในเรื่องการทำงานและการดำเนินชีวิต หากมีการใช้ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของผู้รับบริการสาธารณสุข จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัตินี้ขึ้น 

      ซึ่งในพรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 กำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 7 ไว้ว่าต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินจ 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยความผิดนี้เป็นความผิดฐานยอมความได้  

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/088/12.PDF

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ