Lifestyle

ใครว่าแนะแนว"เรียนต่อ"ไม่สำคัญ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มีเด็กจำนวนไม่น้อยคนที่เลือกเรียน แต่ไม่ตรงกับความชอบ หรือ ไม่รู้แม้กระทั่งว่า เรียนสาขาวิชานี้แล้วไม่ตรงกับอาชีพที่ต้องการ

 

          ผู้ปกครองควรได้รับคำแนะนำการศึกษาตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 3 และก้าวสำคัญของการเข้าสู่ในระดับอุดมศึกษา รวมถึงตัวเด็กนักเรียนต้อง เตรียมตัวเพื่อให้ได้เข้าเรียนสถานศึกษาที่ดี เพราะการตัดสินใจสามารถส่งผลอย่างใหญ่หลวงให้กับชีวิตของพวกเขาในเวลาต่อมา เช่นถ้านักเรียนได้เจอกับครูสอนวิชาภาษาอังกฤษที่น่าเบื่อ

     สิ่งนี้อาจจะทำให้เขาไม่สนใจอาชีพด้านมนุษย์ศาสตร์ แต่อาจไปเลือกเรียนด้านวิทยาศาตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์แทนได้

ใครว่าแนะแนว"เรียนต่อ"ไม่สำคัญ

        ระบบการศึกษาไทยมุ่งเน้นเรื่องเนื้อหา มากกว่ากระบวนการคิด ไม่ได้สนับสนุนให้มีการคิดเชิงวิพากษ์หรือการเรียนรู้แบบสืบหาข้อเท็จจริง จึงทำให้นักเรียนไม่เกิดความเข้าใจที่แท้จริง เกิดปัญหาในการประยุกต์ใช้ความรู้แม้แต่ในระดับพื้นฐาน 

       โดยบ่อยครั้งที่นักเรียนไทยไม่พร้อมเมื่อต้องเข้าร่วมการอภิปราย หรือขาดคิดอย่างเป็นระบบเมื่อต้องแข่งขันในเวทีระดับโลก ดังนั้น นักเรียนไทยจึงต้องเข้าใจว่า การเรียนรู้เป็นการรับทักษะ หรือรับความสามารถในการเรียนรู้ วิเคราะห์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไม่ใช่มองว่าเป็นเพียงการรับเพียงตัวข้อมูลหรือเนื้อหาเท่านั้น

       ดังนั้นการให้คำแนะนำสำหรับนักเรียนตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเป็นโอกาสในการสอบหรือสอบทุนเพื่อเข้าศึกษาต่อ ช่วยวางแผน ช่วยคิด ช่วยแนะนำ ว่าเด็กควรเลือกเรียนวิชาและการสอบยังไง จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ปัญหาของไทยตอนปัจจุบัน คือ เด็กไทยคิดไม่เป็น เพราะท่องจำอย่างเดียว ภาษาไม่ดี ไม่มีความเป็นผู้นำ ทำอย่างไรให้เด็กเหล่านี้มีความเด่น และช่วยเหลือในสิ่งที่เขาขาดได้ 

ใครว่าแนะแนว"เรียนต่อ"ไม่สำคัญ

        ดร.สุธีรา รัตนศิรินทรวุธ อาจารย์ฝ่ายวิจัย คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ที่ปรึกษาสถาบันคริมสันได้ให้ข้อคิดว่าปัญหาการศึกษาไทยอย่างแรกเลย การเรียนท่องจำ เรียนยาก การศึกษาไทยที่หลักสูตรโครงสร้างค่อนข้างเฉพาะเจาะจง บังคับให้เด็กม.ต้นเลือกเรียนสายอะไรในม.ปลาย ปัญหาเดียวกันลามไปจนถึงมหาวิทยาลัย บังคับให้เลือกคณะตั้งแต่ก่อนเข้าไปเรียน

      บางครั้งเลือกตามพ่อแม่ เลือกตามเพื่อน ยังไม่รู้เลยว่าคณะที่เลือกเข้าไปเรียน เรียนอะไรบ้าง จบไปทำอะไร เด็กถูกจำกัดความคิด ทำให้โอกาสทางอาชีพหลังจากนี้ไม่ได้เปิดกว้างเท่าที่ศักยภาพของเด็กมี

       ขณะเดียวกันการเตรียมความพร้อมให้เด็กไปเผชิญโลกกว้าง ต้องมีทักษะพื้นฐานคือ ทักษะด้านการสื่อสาร มีความเป็นผู้นำ มีความคิดริเริ่ม แต่บรรยากาศในห้องเรียนของไทยไม่ค่อยเปิดโอกาสให้เด็กช่างซักช่างถาม คิดสงสัย มีกระบวนการคิด ถึงเวลาสอนก็จด พอถามโดนดุ การปลูกฝังสำคัญมากกับการคิดของเด็ก อเมริกาห้องเรียนเล็กๆคุยกันตลอดเวลาการอภิปราย เด็กก็จะได้มีความกล้าซักถาม ตั้งคำถาม

ใครว่าแนะแนว"เรียนต่อ"ไม่สำคัญ

       อย่างไรก็ตามการแนะแนวสำคัญมาก ชี้ให้เด็กที่อยู่หัวเลี้ยวหัวต่อ เด็กจะเดินไปทางไหน เลือกทางไหนต้องให้ความเข้าใจกับเด็ก จุดประกายเด็กว่าหาตัวเองเจอได้ยังไง มีทางเลือกอะไรให้เด็กบ้าง เรื่องหนึ่งที่สำคัญคือการเน้นทักษะไม่ได้เน้นแต่เนื้อหา เด็กไทยคิดไม่ค่อยเป็น เด็กไทยถามอะไรแล้วงง ไม่สามรถคิดเป็นขั้นเป็นตอนได้ ทำยังไงให้การศึกษาให้ทักษะตรงนี้กับเด็กได้ การที่ให้งานเด็กไปเป็นชิ้นๆ เด็กไปจับกลุ่มทำโครงงาน เรียนรู้การเป็นผู้นำ อยากให้เด็กเก่งด้านสื่อสารพาเด็กไปโต้วาที ไปแข่งขัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กได้ทักษะ และทักษะเหล่านี้จำเป็นต่อสมัยนี้จริงๆ

     หากจะปรับระบบการศึกษา ให้เป็นแบบสากล ไม่เพียงรัฐบาลเท่านั้นที่มีส่วนสำคัญในการแก้ไข หากจับจุดให้ตรงที่สุดคงต้องอยู่ที่ผู้ปกครอง ลดมายาคติเด็กเก่งต้องเป็นเรียนเป็นหมอ เด็กเก่งต้องเป็นครู เพราะในท้ายที่สุดเด็กก็เป็นคนเลือกทางเดินเพื่ออนาคตของตัวเอง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ