Lifestyle

แยกก.อุดมฯอย่าหมกมุ่นอำนาจให้คิดถึงประเทศชาติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดเวทีประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษาครั้งแรก ชี้แยกก.อุดมฯต้องทำในรัฐบาลชุดนี้ กำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่ให้ชัดไม่ให้การเมืองแทรกแซง

  

    นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีหลายคนเตือนว่า หากแยกอุดมศึกษา ออกมาเป็นกระทรวงอุดมศึกษา จะทำให้การบริหารงานจะถูกนักการเมืองแทรกแซง แต่เหตุผลที่อยากให้แยก เพราะที่ผ่านมาเห็นชัดเจนแล้วว่า ศธ. มีโครงสร้างที่ใหญ่เทอะทะ ทำให้การบริหารจัดการไม่มีความคล่องตัว

      จึงเห็นว่าถ้าศธ.เล็กลง เป็นเรื่องที่ดี ซึ่งหากจำเป็นต้องลดไซต์ศธ.ลง ก็ควรจะแยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ออกมา เพราะมหาวิทยาลัยมีความเป็นอิสระ สามารถบริหารจัดการตัวเองได้อยู่แล้ว

     ที่สำคัญถ้าไม่เปลี่ยนแปลงในรัฐบาลนี้ แล้วไปรอรัฐบาลหน้าก็ไม่แน่ใจว่าเขาจะเอาด้วยหรือไม่ โดยคาดว่าจะสามารถจัดทำร่างพ.ร.บ.อุดมศึกษาแล้วเสร็จได้ภายใน 6 เดือน

      ทั้งนี้ การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเน้นปฏิรูปโครงสร้าง ซึ่งแทบจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้มากนัก ดังนั้น ครั้งนี้ขอให้อย่าหมกมุ่น คิดในเชิงอำนาจว่าใครจะคุมใคร ขอให้ดูเรื่องอำนาจหน้าที่ และประโยชน์ที่จะเกิดกับประชาชน เป็นสำคัญ

       “ข้อสังเกตหนึ่งของผมคือ ทำไมมหาวิทยาลัยที่ดีๆ มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน แต่ทำไมมหาวิทยาลัยเอกชนของไทยถึงไม่ได้อยู่ในระดับท็อปๆ ทั้งที่มีอิสระในการบริหารงาน และเด็กก็ยังคงเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยรัฐ ระบบที่ผ่านมาสร้างความอยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมหรือไม่ ทั้งที่มหาวิทยาลัยทุกแห่ง ได้รับงบฯจากรัฐเช่นเดียวกัน ดังนั้น โครงสร้างกระทรวงอุดมศึกษา จะต้องเอื้อให้เกิดความยุติธรรม รวมถึงต้องวางแนวทางแก้ปัญหาธรรมาภิบาลเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย จะทำอย่างไร จุดสำคัญคือ ความพอดี อย่าให้เกิดปรากฏการณ์ ว่าใช้ม.44 เพราะในอนาคตก็ไม่มีม.44 แล้ว ”นพ.ธีระเกียรติ กล่าว

 

แยกก.อุดมฯอย่าหมกมุ่นอำนาจให้คิดถึงประเทศชาติ

       ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ในฐานะประธานคณะทำงานเตรียมการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษากล่าวว่า การแยกกระทรวงอุดมฯ เพื่อต้องการให้การบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษามีความคล่องตัว โดยเฉพาะช่วงที่ประเทศไทย กำลังจะเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 อุดมศึกษาจะเป็นหัวใจสำคัญ ในการยกระดับประเทศ พัฒนาคน และสร้างนวัตกรรมเป็นของตนเอง ลดการนำเข้า

         เนื่องจากที่ผ่านมา การบริหารงานในศธ.กับอุดมศึกษา มีความแตกต่างกันสิ้นเชิง แต่แม้จะแยกกระทรวงอุดมฯออกมา ความสัมพันธ์ของหน่วยงานในศธ.กับสถาบันอุดมศึกษา ก็ยังต้องมีความเชื่อมโยงกันอยู่ เพราะมหาวิทยาลัย ยังต้องการเมล็ดพันธุ์ที่ดีในการส่งต่อเข้ามหาวิทยาลัย

        อย่างไรก็ตาม ต้องมีการทำประชาพิจารณ์รับความคิดเห็นอีก 3 ครั้ง คือ25 มีนาคมที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) วันที่22 เมษายนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) และ วันที่29 เมษายนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เพื่อนำความคิดเห็นต่างๆ มาสรุป และบรรจุไว้ในร่างพ.ร.บ.กระทรวงอุดมศึกษา

       ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวว่า การจัดตั้งกระทรวงการอุดมฯ ต้องมีการร่างกฎหมายเพื่อประกอบการจัดตั้ง 3 ฉบับ คือ ร่างพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับ พ.ศ.) ร่างพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงอุดมศึกษา พ.ศ...และร่างพ.ร.บ.อุดมศึกษา พ.ศ... เนื้อหาในพ.ร.บ.อุดมฯ จะกำหนดความสัมพันธ์ ในการบริหารงานในฐานะที่เป็นส่วนราชการ ระหว่างรัฐมนตรี

       ซึ่งจะกำหนดบทบาทหน้าที่ก่อน อำนาจ เพื่อให้มีความชัดเจนว่า แต่ละคนมีหน้าที่อะไร ดังนั้นการเมืองจะไม่สามารถมาแทรกแซงได้ ทั้งนี้แบ่งความสัมพันธ์ เป็น 3 ส่วนคือ รัฐมนตรี คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และสถาบันอุดมศึกษา กกอ.จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานรัฐมนตรี ซึ่งมาจากฝ่ายการเมือง และมหาวิทยาลัยให้มีความสมดุล

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวเนื่อง 

CHESฝากคำถามตั้งกระทรวงอุดมศึกษ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ