Lifestyle

“โขนผู้หญิง”สืบสานมรดกไทยด้วยหัวใจคนรุ่นใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“โขนผู้หญิง”สืบสานมรดกไทยด้วยหัวใจคนรุ่นใหม่ 0กมลทิพย์ ใบเงิน0 เรียบเรียง

          กว่า 10 ปีกับความพยายามในการร่วมอนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงของไทย อย่างการแสดงโขนผู้หญิงของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่มีจุดเริ่มต้นของการแสดงโขนผู้หญิงจันทรเกษม เกิดขึ้นในปี 2548 เมื่อสาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปการแสดง เริ่มนำนักศึกษาหญิงในสาขามาฝึกหัดโขนและจัดการแสดงโขนครั้งแรก เพื่อแสดงในงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ต.คลองไผ่ อ.สี่คิ้ว จ.นครราชสีมา

“โขนผู้หญิง”สืบสานมรดกไทยด้วยหัวใจคนรุ่นใหม่

         ต่อมาในปี 2550 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ในขณะนั้น ได้ฝึกหัดการแสดงโขนใช้ผู้หญิงทั้งหมด และจัดการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ “ตอนนางลอย” ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม นับเป็นการเปิดม่านครั้งแรก ของโขนผู้หญิงจันทรเกษม

         ธรรมรัตน์ โถวสกุล ประธานสาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (มจษ.) ย้อนอดีตว่า โขนหญิงจัดแสดงครั้งแรกเมื่อปี 2550 ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาผู้หญิงชั้นปีที่3สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปการแสดง ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อประกอบรายวิชาการสร้างละครรำในขณะนั้น ด้วยความสนใจและต้องการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ไว้

“โขนผู้หญิง”สืบสานมรดกไทยด้วยหัวใจคนรุ่นใหม่

          จึงอยากจัดแสดงโขนผู้หญิงขึ้น เพราะการแสดงโขนในปัจจุบันนั้น เป็นศิลปะการแสดงที่หาชมได้ยากและมีประวัติมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะโขนผู้หญิงเป็นการแสดงที่มีเฉพาะราชสำนักฝ่ายใน

          “ในการแสดงโขนผู้หญิงแต่ละครั้ง จะมีการคัดเลือกนักแสดง ซึ่งได้ใช้วิธีการคัดเลือกนักแสดงตามแบบขนบการแสดงโขนแบบโบราณ โดยดูจากลักษณะทางกายภาพ ได้แก่รูปร่างของนักแสดง คนไหนมีรูปร่างสูงก็จะถูกฝึกเป็นตัวยักษ์ รูปร่างเล็กก็จะถูกฝึกเป็นตัวลิง เมื่อได้รับบทบาทตัวละครนั้นแล้ว ก็จะฝึกหัดตามบทบาทต่อไป"ธรรมรัตน์ กล่าวด้วยรอยยิ้ม

“โขนผู้หญิง”สืบสานมรดกไทยด้วยหัวใจคนรุ่นใหม่

         ดูเหมือนว่า การฝึกหัดร่ายรำโขนผู้หญิงนั้น “ธรรมรัตน์” เล่าว่า ใช้ลักษณะเดียวกันกับนักแสดงชาย แต่ลดท่าพื้นฐานบางท่าลงไป แต่ท่าพื้นฐานที่นักแสดงทุกคนจะต้องฝึกหัดนั้น มี 1.) การตบเข่า เพื่อฝึกหัดประสาทการฟังของนักแสดงให้เริ่มรู้จักจังหวะดนตรี 2.) ถองสะเอว เป็นการหัดให้ผู้แสดงเริ่มรู้จักวิธียักเยื้องลำตัว คอ ไหล่ และใบหน้าได้คล่องแคล้ว

     3.) เต้นเสา เป็นฝึกเท้าและขาให้รู้จักใช้อวัยวะท่อนล่างให้คงที่ และซ้อมกำลังขาให้อยู่ตัวเพื่อไม่ให้เหนื่อยในเวลาแสดงจริง 4) ถีบเหลี่ยม เป็นการหัดบังคับและควบคุมอวัยวะร่างกาย ช่วงขาช่วงแขนและอกให้มีระดับคงที่” นายธรรมรัตน์ กล่าว พร้อมพูดถึงความยากของการฝึกซ้อมโขนผู้หญิงให้ฟังต่อว่า

          ความยากของการฝึกหัดนักแสดงหญิง คือเรื่องของพละกำลังและสรีระที่แตกต่างจากนักแสดงชาย ทำให้ต้องฝึกเรื่องของกำลังขาและแขนให้มากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้นักแสดงเกิดความล้าหรือปวดเมื่อย นอกจากนี้นักแสดงหญิงต้องฝึกบทบาทตัวละครที่สำคัญ

      เช่น ทศกัณฐ์ พิเภก หนุมาน เสนาลิง ด้วยการตีบท ตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งต้องอาศัยทักษะการฝึกซ้อมอย่างหนัก เพื่อการแสดงออกมาสวยงาม และสมบทบาทที่ได้รับ เช่น ยักษ์ก็ต้องแข็งแรง ขึงขัง ตัวลิงก็จะมีความขี้เล่น ซุกซน เป็นต้น

“โขนผู้หญิง”สืบสานมรดกไทยด้วยหัวใจคนรุ่นใหม่

         “ในวาระครบรอบ 10 ปีนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ก็จะจัดการแสดงโขนผู้หญิงจันทรเกษม เรื่องรามเกียรติ์ โดยนำตอนที่เคยแสดงแล้วมาจัดแสดงอีกครั้ง คือ“ตอนนางลอย”ซึ่งจะแสดงในวันที่ 4 – 5 เมษายน 2560 เวลา 19.00 น. ณ สนามกีฬาในร่ม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมโดยการแสดงโขนปีนี้มีนักแสดงรับเชิญ เป็นศิษย์เก่าที่เคยร่วมแสดงโขนผู้หญิงมาแล้ว กลับมาร่วมแสดงอีกครั้ง เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปีของการแสดงโขนผู้หญิงจันทรเกษม นอกจากยังมีการนำหนังใหญ่ซึ่งเป็นมหรสพของไทย มาผสมผสานการแสดงในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการนำเอาศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยมาแสดงร่วมกัน โดยเหล่านักศึกษาที่จัดทำกันขึ้นมา เพื่อการแสดงครั้งนี้โดยเฉพาะ เป็นการสืบทอดและสืบสานมรดกของชาติด้วยความพยายามของเยาวชนไทยรุ่นใหม่ ที่รักในศิลปะประจำชาติให้คงอยู่ต่อไป”นายธรรมรัตน์ กล่าว

“โขนผู้หญิง”สืบสานมรดกไทยด้วยหัวใจคนรุ่นใหม่

“โขนผู้หญิง”สืบสานมรดกไทยด้วยหัวใจคนรุ่นใหม่

              ชไมพร จันทรวิบูลย์

          "ทศกัณฑ์" สวมบทบาทโดย "เยว" น.ส.ชไมพร จันทรวิบูลย์ บอกว่า ทศกัณฑ์เป็นตัวละครสำคัญที่ทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆขึ้น แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ ต้องผ่านการฝึกพื้นฐานของการแสดงโขน อย่างการเต้นเสาถีบเหลี่ยม กับเพื่อนๆ จนคล่องแล้ว เมื่อได้รับคัดเลือกเป็นตัวละครทศกัณฑ์แล้ว ก็ต้องและมาฝึกการตีบทและต้องท่องจำบทของตัวละครนี้ เพื่อให้เข้าถึงบทบาท สามารถสื่ออารมณ์ถึงผู้ชมได้ ถึงแม้เวลาแสดงจะต้องใส่หัวโขนและมีคนพากย์ก็ตาม โดยเป็นการฝึกกับครูโขนตัวต่อตัว ซึ่งมีความยากและความกดดันต่างๆ

          “การได้มาแสดงโขนผู้หญิง ทำให้ได้รับโอกาสต่างๆ และมีเวที่ได้แสดงความสามารถทำในสิ่งที่รัก ได้ประสบการณ์ต่างๆที่หาที่ไหนไม่ได้ ได้ออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ฝึกการใช้ประสานสัมผัสต่างๆ อีกด้วย อยากให้เพื่อนๆ มาช่วยชม ช่วยเชียร์ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมและรากเหง้าของเราค่ะ”นางสาวชไมพร กล่าว

“โขนผู้หญิง”สืบสานมรดกไทยด้วยหัวใจคนรุ่นใหม่ “โขนผู้หญิง”สืบสานมรดกไทยด้วยหัวใจคนรุ่นใหม่

     พิชชาภา ทองรักษา"

         อีกตัวละครสำคัญ"นางสีดาและนางเบญกาย"รับบทโดย "แพท"น.ส.พิชชาภา ทองรักษา"บอกว่า ภาคภูมิใจและดีใจอย่างมาก ที่ได้รับคัดเลือกแสดงโขน โดยเฉพาะบทตัวละครนางเบญจกายที่ต้องแปลงเป็นนางสีดา เหมือนได้แสดงเป็น2 ตัวละคร ต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก มีบทค่อนข้างเยอะ ต้องซ้อมทุกวันหลังเลิกเรียน

        “แม้ว่าจะรับบทเป็นตัวนาง แต่ก็ต้องฝึกท่าโขนพื้นฐานเหมือนกับเพื่อนๆ เพื่อให้เรารู้มุม รู้เหลี่ยม เวลาต้องแสดงร่วมกับตัวละครอื่นๆ ถามว่าเหนื่อยไหม ก็เหนื่อยค่ะ แต่เราก็รู้สึกสนุก มีความสุขที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงโขน เพราะสำหรับเราแล้วโขนถือเป็นศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูง เป็นมรดกที่ทรงคุณค่าของชาติไทย โดยเฉพาะโขนผู้หญิงที่ต้องใช้พละกำลัง และการฝึกฝนอย่างมาก เพื่อให้มีความสวยงามอ่อนช้อยแต่แข็งแรงไม่แพ้โขนผู้ชายค่ะ”น.ส.พิชชาภา กล่าวด้วยรอยยิ้ม

          เรื่องย่อรามเกียรติ์ ตอน นางลอย

           ครั้งเมื่อพิเภก ทำนายฝันว่า ทศกัณฐ์ จะแพ้สงครามและถูกฆ่าตายควรจะสะเดาะเคราะห์เสียโดยคืน นางสีดา ไปให้แก่พระราม แต่ทศกัณฐ์โกรธจึงขับ พิเภก ออกไปเสียจากกรุงลงกาเมื่อ พิเภก ออกจากกรุงลงกาแล้วก็สมัครเข้าไปเป็นพวกพระราม  ทศกัณฐ์ คิดหาทางยุติศึกชิงตัว นางสีดา กับพระราม โดยคิดว่าถ้า พระราม เห็นว่านางสีดา ตายไปแล้วก็คงจะยกทัพกลับไปเอง

      จึงวางแผนให้ นางเบญกาย ลูกสาวของพิเภก แปลงกายเป็นนางสีดา ทำตายลอยน้ำไปที่หน้ากองทัพพระราม เบญกายกลัวทศกัณฐ์ ก็จำใจยอม แต่ไม่รู้จะแปลงอย่างไรเพราะยังไม่เคยเห็นหน้าสีดา ทศกัณฐ์จึงให้ไปดูรูปโฉมนางสีดา ณ สวนขวัญ จนจำได้แล้วก็เหาะไปจนถึงเหมติรันบบรพตแล้วแปลงกายเป็นนางสีดาเสียชีวิตลอยน้ำไปวนอยู่ที่หน้ากองทัพพระราม

         รุ่งเช้า พระราม ตื่นบรรทมพร้อมพระลักษณ์ จึงตรัสชวนพระลักษณ์และเหล่าวานร ไปสรงน้ำริมฝั่งแม่น้ำครั้นเห็น นางเบญกาย แปลง ตายลอยน้ำมา พระรามเข้าใจว่าเป็นนางสีดา จึงวิ่งเข้าอุ้มนางมาบนฝั่ง และทรงพระกรรแสงรวมทั้งไพร่พลต่างก็ร้องไห้ ด้วยคิดว่าเป็นนางสีดาเสียชีวิตแล้ว พระรามโกรธโทษว่า หนุมาน เป็นต้นเหตุ ไปเผาเมืองลงกาทำให้ทศกัณฐ์แค้นเคืองจึงฆ่านางสีดาทิ้งน้ำ

         หนุมาน เกิด เฉลียวใจว่านางสีดานี้อาจเป็นยักษ์แปลงมา เพราะตามร่างกายของศพไม่มีร่องรอยของการถูกทำร้ายและลอยทวนน้ำมาจนถึงหน้าพลับพลาเหมือนจงใจ จึงขอพิสูจน์โดยการนำศพมาเผาไฟ ถ้าเป็นนางสีดาจริง หนุมานยอมถูกประหารชีวิต พระรามเห็นด้วยจึงสั่งให้ สุครีพ ทำเชิงตะกอนเพื่อเผาศพ เมื่อเชิงตะกอนเสร็จจึงให้นำศพนางสีดามาวางบนเชิงตะกอนแล้วจุดไปเผา โดยเหล่าทหารวานรล้อมไว้ เบญกายครั้นโดนไฟเผาทนร้อนไม่ไหวจึงเหาะขึ้นตามเปลวควันหนีไป หนุมานจึงเหาะขึ้นไปตามจับนางเบญกาย มาถวายพระราม

        ตัวละคร ตอนนางลอย

         พระราม :พระราม คือ พระนารายณ์อวตารลงมาถือกำเนิดเป็นพระราชโอรสของท้าวทศรถ กับ นางเกาสุริยา เพื่อปราบทศกัณฐ์ พระรามมีพระอนุชาต่างพระมารดา 3 พระองค์ คือ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตรุต ซึ่งต่างก็มีความรักใคร่กันอย่างมากเมื่อครั้งที่ท้าวทศรถจะยกราชสมบัติให้แก่พระราม นางไกยเกษีชายาอีกคนของท้าวทศรถก็ท้วงคำสัญญาที่จะให้พระพรตครองราชสมบัติก่อนพระราม และขอให้เนรเทศพระรามออกเดินป่าเป็นเวลา 14 ปี พระรามจึงต้องออก เดินป่า มีพระลักษมณ์และนางสีดาพระมเหสีติดตามไปด้วย ต่อมาถูกทศกัณฐ์ลักพาตัว พระรามจึงตามนางสีดาไปยังกรุงลงกา

         พระลักษมณ์ :พระลักษมณ์ คือ พญาอนันตนาคราช ที่ประทับของพระนารายณ์มาเกิด มีกายสีทอง เป็นพระอนุชาของพระราม มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง 14 ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา

         นางสีดา :นางสีดา คือ พระลักษมี พระมเหสีของพระนารายณ์ อวตารลงมาเกิดเพื่อเป็นคู่ครองของพระราม ตามบัญชาของพระอิศวร นางสีดาเป็นพระธิดาของทศกัณฐ์ กับนางมณโฑ แต่เมื่อประสูติแล้ว พิเภกได้ทำนายว่า นางเป็นกาลกิณีแก่พระบิดาและบ้านเมือง ทศกัณฐ์จึงสั่งให้นำนางใส่ผอบลอยน้ำไป พระฤาษีชนกพบเข้า จึงเก็บไปเลี้ยงเป็นลูก หลังติดตามพระรามต้องออกเดินป่าถูกทศกัณฐ์ลักพาตัวไปกรุงลงกา ด้วยหลงใหลในความงามของนางสีดา

         หนุมาน :ทหารเอกของพระราม มีความเก่งกล้ามาก สามารถแปลงกายหายตัวได้ ทั้งยังอยู่ยงคงกระพัน แม้ถูกอาวุธของศัตรูจนตาย เมื่อมีลมพัดมาก็จะฟื้นขึ้นได้อีก เนื่องจากหนุมานเป็นบุตรของพระพายกับนางสวาหะ มีความฉลาดรอบรู้ เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีกลอุบายมากมายซึ่งเอาไว้ใช้ในการศึก รักนาย สามารถพลีชีพเพื่อนายได้

          ทศกัณฐ์ : กษัตริย์แห่งกรุงลงกา มีกายสีเขียว มี 10 พักตร์ 20 กร ทศกัณฐ์มีนิสัยเจ้าชู้ มีชายาและนางสนมมากมาย แต่ถึงกระนั้นเมื่อรู้ว่านางสีดาเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก แม้นางจะมีพระสวามีอยู่แล้ว ก็ยังลักพาตัวไป จึงเป็นสาเหตุให้ต้องทำศึกกับพระราม

         พิเภก :น้องของทศกัณฐ์ มีความรู้ทางโหราศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ อย่างแม่นยำ เมื่อทศกัณฐ์ลักพานางสีดามาพิเภกได้ทูลตักเตือน และแนะนำให้ส่งนางสีดาคืน ทำให้ทศกัณฐ์โกรธมาก จนขับไล่พิเภกออกไปจากเมืองพิเภกจึงไปสวามิภักดิ์กับพระราม

          นางเบญจกาย :ธิดาของพิเภก และเป็นหลานของทศกัณฑ์ ในตอนนางลอยนั้น ทศกัณฐ์ผู้เป็นลุงได้สั่งให้แปลงกายเป็นนางสีดา

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ